SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ตรวจสอบ 31 พรรคการเมืองที่ในเอกสารงบการเงินของพรรคประจำปี 2561 มีรายการกู้เงิน โดยระบุทั้ง “เงินกู้” “เงินยืม” “เงินทดรองจ่าย” ว่าเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 62 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 หรือไม่ โดยเทียบเคียงกับที่ กกต.เคยวินิจฉัยกรณีพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งนำไปสู่การส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค

ต่อมามีรายงานว่า สำนักงาน กกต. ได้ตรวจสอบคำร้องของนายศรีสุวรรณแล้ว และเสนอเรื่องให้ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นชอบยุติเรื่อง เพราะพรรคการเมืองกลุ่มนี้มีการกู้ยืมเงิน ยืมเงินทดรองจ่ายจากหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจริง แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ต่อคน ต่อพรรค ต่อปี ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้ในคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จึงถือว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวของทั้ง 31 พรรค ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย

จรัญ ภักดีธนากุล


วันที่ 23 ก.ย. 2563 นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ว่า ปัญหาเรื่องนี้มาจากกฎหมายไม่ชัด ทำให้เข้าใจกันคนละทางและขัดแย้งกัน แต่เรื่องที่บอกว่า “ถ้าให้กู้ยืม ต่อคน ต่อปี ไม่เกินสิบล้านต่อปี ไม่ผิด” ตนมั่นใจว่าถูกต้องเพราะกฎหมายพูดชัดว่า ให้พรรคการเมืองรับบริจาคได้ต่อคน ต่อปี ไม่เกินสิบล้านบาท เพราะฉะนั้นการให้กู้ยืมซึ่งน้อยกว่าการให้โดยเสน่หาหรือการบริจาค ดังนั้น ถ้ากฎหมายให้ทำอะไรได้ สิ่งใดที่น้อยกว่าที่กฎหมายอนุญาตยิ่งต้องทำได้ เป็นการเทียบเคียงเพราะกฎหมายไม่ได้พูดถึงการกู้ยืมเงินโดยตรง

ส่วนกรณีบุคคลบริจาคไปแล้ว 10 ล้านบาท ให้พรรคกู้เงินอีกจะผิดหรือไม่ เรื่องนี้ต้องดูว่าในส่วนการกู้ยืมเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นการบริจาคโดยเลี่ยงกฎหมาย เป็นการอำพรางการให้หรือไม่ ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ใช่การกู้เงินจริง เป็นการเลี่ยงจากการบริจาคที่เต็มวงเงินแล้ว ถือว่าผิดซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

สำหรับกรณีพรรคอนาคตใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการให้กู้ยืมเงินไม่น่าเชื่อว่าเป็นการกู้ยืมเงินจริง และถึงแม้ให้กู้ยืมเงินจริง แต่เป็นการคิดดอกเบี้ยต่ำมีผลประโยชน์ในส่วนดอกเบี้ยคำนวณได้ปีหนึ่ง 10-20 ล้าน ซึ่งเมื่อไปรวมกับเงิน (ที่นายธนาธร) บริจาค 8 ล้าน จึงเกินกว่า 10 ล้านบาท ถึงได้ผิดเพราะเหตุนี้

อย่างไรก็ตาม นายจรัญ กล่าวว่า ส่วนที่ไม่ชัดเจนคือ การกู้ยืมเงินและเป็นเงินสะอาด กฎหมายยังเป็นปัญหาเพราะไม่ได้เขียนว่าให้กู้ยืมเงินได้หรือไม่ได้ ทำให้มีการตีความไป 2 ด้าน ต่อไปต้องมีการทำให้ชัดเจน เช่น ถ้าจะให้กู้ได้ต้องกู้จากใคร ในวงเงินเท่าไร เพื่อไม่ให้เกิดการครอบงำพรรคการเมือง

อีกด้านหนึ่งนายศรีสุวรรณ จรรยา เดินทางไปที่สำนักงาน กกต. เพื่อยื่นคำร้องต่อเลขาธิการ กกต. โดนเห็นว่า การอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ 5/2563 ลงวันที่ 21 ก.พ.2563 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยชัดแจ้งว่า “การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ต้องอาศัยรายได้ของพรรคการเมืองซึ่งกฎหมายกำหนดแหล่งที่มาไว้ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 62 ดังนั้น เงินส่วนใดที่พรรคการเมืองนำมาใช้จ่าย ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองซึ่งมิได้มีแหล่งที่มาและวิธีการได้มาตามที่กฎหมายระบุไว้ ย่อมถือว่า เป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 62
ถึงแม้ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มิได้บัญญัติห้ามการกู้ยืมสำหรับพรรคการเมืองไว้โดยชัดเจน แต่ก็ไม่ได้ รับรองว่าให้กระทำได้ ประกอบกับพรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน และเงินกู้ยืมแม้มิได้เป็นรายได้แต่ก็เป็นรายรับและเป็นเงินทางการเมือง การดำเนินการเกี่ยวกับการได้มาและการใช้จ่ายเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง จึงกระทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น
คำวินิจฉัยดังกล่าวชี้ชัดว่า การกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการของพรรคการเมือง เป็นการกระทำหรือนิติกรรมที่ไม่ปรากฎใน มาตรา 62 ประกอบมาตรา 72 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ชี้ชัดถึงขนาดนี้แล้ว แต่เหตุใดนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงรีบตัดตอน ไม่นำความดังกล่าวรายงานให้ กกต.เพื่อมีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นกระบวนความตามครรลองของกฎหมาย เหตุใดจึงกล้าที่จะวินิจฉัยเอาเสียเอง เช่นนี้จะถือว่าชอบด้วยกฎหมายได้อย่างไร
ที่สำคัญตามข้อมูลการรายงานค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองที่ กกต.รายงานพบว่ามี 3 พรรคการเมืองที่มีการยืมเงินทดรองจ่ายจากกรรมการ คือ พรรคภูมิใจไทยกว่า 30 ล้าน พรรคเพื่อไทยกว่า 13 ล้าน และพรรคประชากรไทยกว่า 12 ล้าน เหตุใดจึงไม่เข้าข่ายตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงนำเหตุผลดังกล่าวมายื่นให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทบทวนความเห็นและให้ 7 กกต.มีมติส่งกรณีเงินกู้ของ 31 พรรคการเมืองให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติได้

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า