SHARE

คัดลอกแล้ว
ถ้าจะพูดถึงมหาเศรษฐีใจบุญ ที่บริจาคเงินมหาศาลเข้าการกุศล หลายคนอาจนึกถึงวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ หรือบิล เกตต์
แต่วันนี้ workpointTODAY จะพาไปทำความรู้จักกับ ชัค ฟีนีย์ มหาเศรษฐีที่เป็นแบบอย่างให้ทั้งวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ และบิล เกตต์ทุ่มเงินบริจาคเพื่อเปลี่ยนโลก ด้วยความหวังที่จะเห็นโลกใบนี้ดีขึ้นด้วยตาตัวเอง
1. ชัค ฟีนีย์ เป็นมหาเศรษฐีเชื้อสายไอร์แลนด์-อเมริกัน ปัจจุบันมีอายุ 89 ปี เขาเกิดในรัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐฯ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
2. ในวัยหนุ่ม ฟีนีย์ไปรับใช้ชาติเป็นทหารอากาศสหรัฐฯ เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี รับหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่วิทยุสื่อสาร ซึ่งนี่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้เขาเห็นช่องทางธุรกิจ โดยในเวลาต่อมา เขาส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากสหรัฐฯ ไปขายแบบปลอดภาษีให้กับทหารเรืออเมริกันที่ประจำการอยู่ในยุโโรป
3. จากการขายให้ทหารเรือ ฟีนีย์ขยายธุรกิจเป็นร้านค้าปลอดภาษี Duty Free Shoppers (DFS) เครือข่ายร้านค้าปลอดภาษีขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่ในสนามบินหลายแห่งทั่วโลก และประสบความสำเร็จ ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
รายงานระบุว่า ธุรกิจร้านค้าปลอดภาษี DFS ทำให้นายโรเบิร์ต มิลเลอร์ หุ้นส่วนร่วมกับนายฟีนีย์เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 293 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 186,000 ล้านบาท มีบ้านพักหรูทั้งในฮ่องกง นิวยอร์ก ปารีสและสวิตเซอร์แลนด์
4. แต่ไม่ใช่กับฟีนีย์ เขาเริ่มนำเงินจากธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีมาตั้งมูลนิธิ The Atlantic Philanthropies อย่างลับๆ เมื่อปี 2525 ซึ่งในตอนนั้นเขามีอายุ 51 ปี โดยที่ในตอนแรกไม่มีใครทราบว่า ฟีนีย์อยู่เบื้องหลังมูลนิธินี้
แม้ในเวลาต่อมาจะมีคนทราบว่า นายฟีนีย์เป็นผู้บริจาคหลักให้กับมูลนิธิ The Atlantic Philanthropies แต่นายฟีนีย์ก็ยังยืนยันว่า เขาไม่ต้องการให้คนจดจำเขาว่าเป็นผู้บริจาครายใหญ่ จนนิตยสารฟอร์บส์ ตั้งฉายาให้นายฟีนีย์ว่า เป็นนักบุญเจมส์ บอนด์ (James Bond of Philanthropy)
5. ตลอดเวลาเกือบ 40 ปี นายฟีนีย์ลงเงินให้กับมูลนิธิของเขาเกือบ 2 แสนล้านบาท โดยเกือบครึ่งหนึ่งคือประมาณ 114,000 ล้านบาทไปช่วยเหลือด้านการศึกษา โดยเฉพาะการบริจาคให้มหาวิทยาลัยคอร์แนล ซึ่งเขาเป็นศิษย์เก่าถึงกว่า 30,000 ล้านบาท เพราะต้องการชดใช้คืนที่เขาเคยเรียนด้านการโรงแรมที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลฟรี จากการได้รับทุนหลังไปรับใช้ชาติในสงครามเกาหลี
นอกจากการบริจาคเพื่อการศึกษา นายฟีนีย์ยังลงเงินเกือบ 27,000 ล้านบาทไปกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเคลื่อนไหวทางสังคม รวมทั้งการบริจาคเงินเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขในประเทศเวียดนามด้วย
เช่นเดียวกับมูลนิธิ The Atlantic Philanthropies  ที่เติบโตจนต้องขยายสำนักงานให้ครอบคลุมทั่วโลก โดยมีสำนักงานกระจายอยู่ 10 สาขาทั่วโลก มีพนักงานกว่า 300 คนทำงานด้านการกุศลโดยเฉพาะ
6. คนใกล้ชิดนายฟีนีย์ต่างยืนยันว่า นายฟีนีย์เป็นคนสมถะ ไม่มีรถส่วนตัว ไม่มีบ้านหรู ทั้งชีวิตของนายฟีนีย์มีรองเท้าอยู่ไม่กี่คู่ แถมหากต้องเดินทางด้วยเครื่องบินก็จะนั่งแต่ชั้นประหยัด ทั้งๆ ที่คนที่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกครอบครัวจะไปนั่งชั้นธุรกิจก็ตาม
คนใกล้ชิดนายฟีนีย์เปิดเผยอีกว่า นายฟีนีย์เคยลองใช้ชีวิตหรูหราแบบเศรษฐีคนอื่นมาแล้ว แต่ก็รู้สึกว่าไม่เหมาะกับตัวเขา จึงหันกลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบเดิม ซึ่งลูกน้องจะเห็นอยู่เสมอว่านายฟีนีย์ใส่นาฬิกาคาสิโอราคาไม่กี่ร้อยบาท เวลาไปไหนก็จะไม่ถือกระเป๋าหรู หลายครั้งเขามาพร้อมกับถุงพลาสติกใส่เอกสารมาทำงาน
ส่วนแนวคิดการบริจาค นายฟีนีย์มองว่า การเป็นมหาเศรษฐีต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ เพราะทุกวันนี้มีผู้คนมากมายบนโลกที่ไม่มีอาหารกินให้อิ่มท้อง ขณะที่มหาเศรษฐีจำนวนมากกลับมีเงินจนไม่รู้จะใช้อย่างไรให้หมด
8. จนกระทั่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา นายฟีนีย์ซึ่งมีอายุ 89 ปีและมีร่างกายไม่แข็งแรง ตัดสินใจลงนามในเอกสารปิดมูลนิธิ หลังจากที่เขาไม่เหลือเงินที่จะบริจาคให้มูลนิธิอีกต่อไป ซึ่งนั่นก็เป็นไปตามเจตจำนงที่เขาเคยเปิดเผยว่า ต้องการเห็นผลงานที่ได้จากการทุ่มบริจาคด้วยตาของตัวเอง และไม่อยากบริจาคในวันที่เขาตายไปแล้ว
นายฟีนีย์ได้เขียนจดหมายไปยังมหาเศรษฐีทั่วโลก โดยเขียนจากอพาร์ทเมนท์ห้องเล็กๆ ในนครซานฟรานซิสโก ซึ่งเขาเช่าอยู่กับภรรยา แนะนำให้บรรดาเศรษฐีบริจาคเงินในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ พร้อมโน้มน้าวว่า ถ้าใครได้ลองทำแล้วจะชอบเหมือนเขา
9. ชีวิตของนายฟีนีย์ที่สุดท้ายแทบไม่เหลืออะไรเลย จากการทุ่มบริจาคจนหมดตัว สร้างแรงบันดาลใจให้กับมหาเศรษฐีหลายคน รวมทั้งนายบิล เกตต์ และนายวอร์เรนต์ บัฟเฟต์ จนทำให้ทั้งคู่ก่อตั้ง The Giving Pledge ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาว่า มหาเศรษฐีที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องบริจาคทรัพย์สินอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเพื่อการกุศล
นายวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ระบุว่า นายฟีนีย์คือฮีโร่ของเขาและเป็นฮีโร่ของนายบิล เกตต์ด้วย ก่อนจะบอกว่า การใช้ชีวิตแบบนายฟีนีย์ ทำให้เขาควรได้รับการยกย่องว่าเป็นฮีโร่ของทุกคน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า