SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากที่กรุงเทพมหานคร สั่งปิดรับนักท่องเที่ยว ในช่วงที่พบการแพร่ระบาดโควิด-19 มานานกว่า 9 เดือน ทำให้บรรยากาศบนถนนข้าวสารทุกวันนี้เงียบเหงาไร้ผู้คน หลายชีวิตไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ในวิกฤติที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อใด แต่ในวิกฤติย่อมทำให้เราปรับตัวและเห็นมุมมองใหม่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร (Arch SU) จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจากชมรมเกสรลำพู  ประชาคมบางลำพู  ไกด์เด็กบางลำพู สมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร x L&E ร่วมจัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า  “Khao San Hide and seek | เข้าซอย ข้าวสาร” สนับสนุนโดยน้ำแร่ช้าง

งานนี้ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ (อาจารย์หน่อง) อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์ NEW เวิลด์ โอล TOWN #NewWorldOldTown งานนิทรรศการที่รวบรวมความทรงจำของผู้คนที่มีต่อห้างร้างนิวเวิร์ล ณ ย่านบางลำพูซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลามในครั้งที่แล้ว เช่นเคยครั้งนี้อาจารย์หน่องให้สัมภาษณ์ด้วยท่าทางสบายๆ พร้อมรอยยิ้มเล่าถึงโปรเจกต์ใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้ง

ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ (อาจารย์หน่อง) อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“แนวคิดหลักของกิจกรรมครั้งนี้คือ เราจะเล่าสิ่งที่มีอยู่แต่มองไม่เห็นหรือมันอาจจะไม่มีอยู่แล้วแต่มันเคยมีอยู่ เช่นใครจะรู้ว่าในถนนข้าวสารที่เราเข้าใจกันว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวกลางคืน จริงๆ มีโรงเรียนพิมานวิทย์ ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 ปัจจุบันตอนนี้ก็อายุ 102 ปีแล้ว หรือสมาคมสหายสงครามสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ตั้งอยู่บนถนนข้าวสาร เรื่องราวเหล่านี้สะท้อนว่าจริงๆ แล้วถนนข้าวสารไม่ได้มีแต่สถานบันเทิงอย่างที่เราเข้าใจแต่ถนนข้าวสารมีมากกว่านั้น ถนนข้าวสารถูกตัดในปีพ.ศ. 2435 ซึ่งบางคนอาจจะไม่ทราบว่าถนนข้าวสารมีมาร้อยกว่าปีแล้ว สมัยก่อนถนนเส้นนี้ไม่ได้เป็นถนนสายบันเทิงแต่ขายข้าวสารมาก่อน แนวคิดของงานก็คือเราอยากจะให้ความว่างที่มันเกิดขึ้นขณะนี้พาเราไปสู่สิ่งที่เราไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้ว่ามันมีมาก่อน”

“Khao San Hide and seek | เข้าซอย ข้าวสาร” อยากเชิญชวนทุกคนกลับมาเยี่ยมถิ่นเก่าที่คุ้นเคย กลับมาทำความรู้จักถนนข้าวสารในมิติใหม่ๆ แน่นอนว่าความรื่นเริงและความสนุกสนานต่างๆ ยังคงอัดแน่นเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ “เรื่องราวของถนนข้าวสารที่เคยถูกปิดไว้ ซ่อนไว้ ถูกลืม หรือถูกมองข้ามไป” และชวนให้ทุกคนมาออกเดินตามหาผ่านกิจกรรมมากมายทีทีมงานจัดเตรียมไว้

ผลงาน “อ่าน เขียน เรียน แสง” โดย InFO

AFTER PARTY โดย A MILLIMETRE

ตามหา Lighting installation ทั้ง 8 จุดจาก 7 ทีมดีไซน์เนอร์

‘Hide and Seek Night Walk with Lighting Installation’ คือกิจกรรมที่ชวนคุณมาเดินดู Lighting installation ทั้ง 8 จุดจาก 7 ทีมดีไซน์เนอร์ โดยคุณโจ ดลพร ชนะชัย จาก Cloud-floor เล่าให้ฟังถึงแนวคิดและที่มาของการคิดงานครั้งนี้ว่า “เราทำงานร่วมกันกับทีมทั้งหมด พอได้คอนเซปต์โดยรวมแล้วจึงลงมาดูในพื้นที่จริงที่ถนนข้าวสาร เราตั้งใจให้งานจุดต่างๆ อยู่ในพื้นที่ซึ่งลึกหน่อยเพื่อให้คนใช้ความพยายามตามหา จากนั้นพอได้พื้นที่มา 8 จุด ก็เริ่มแจกโจทย์ไปให้ดีไซน์เนอร์ว่าเขามีไอเดียอะไรเกี่ยวกับข้าวสารบ้าง ปรากฎว่าแต่ละทีมคิดไม่เหมือนกันเลย โดยภาพรวมจะมี 3 เรื่องคือ ‘อดีต’ ของถนนข้าวสารที่คนไม่รู้หรืออดีตที่เราคิดว่ามันหายไปแล้ว ‘ปัจจุบัน’ ที่เรารับรู้ว่าหลังจากมีโควิด-19 สิ่งที่เกิดขึ้นคือพื้นที่ทางเศรษฐกิจหายไป ผู้คนหายไป กับอีกเรื่องคือ ‘อนาคต’ ดีไซน์เนอร์บางคนก็จินตนาการไปถึงอนาคตไกลๆ เลยว่าหลังจากนี้อนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อโลกเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเปลี่ยนไป คุณภาพชีวิตของคนในถนนข้าวสารจะเป็นอย่างไร ซึ่งไอเดียทั้งหมดจะถูกผูกโยงกันด้วยไทม์ไลน์”

คุณโจ ดลพร ชนะชัย จาก Cloud-floor

Empty Party: A Twilight Paradox โดย Cloud-floor

‘เมื่อตรอกที่เคยเรียงรายไปด้วยร้านค้าที่ดูแปลกตากลับกลายเป็นความว่างเปล่า เราถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับความกลวงของห้องว่าง พร้อมด้วยความสับสนกับผลลัพธ์เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาอย่างควบคุมไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้านี้กลับเผยให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของพื้นที่ๆ หนึ่งออกมาอย่างคาดไม่ถึง จังหวะของความว่างนี้เอง สร้างความรู้สึกแปลกและยังเจือไปด้วยความประหลาด ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกหม่นหมองกลับก่อตัวขึ้นท่ามกลางความย้อนแย้งของความเงียบที่เข้ามาแทนที่ ในเมืองที่ในอดีตไม่เคยหลับไหล’

“การสาดแสงเข้าไปในห้องที่ไร้ชีวิต ก็เหมือนกับการพูดคนเดียวในห้องที่เงียบสงัด แม้ตะโกนดังแค่ไหนก็ไม่มีเสียงใดตอบกลับมา” คือคำอธิบายผลงาน Empty Party: A Twilight Paradox โดย Cloud-floor

AFTER PARTY โดย A MILLIMETRE

หากพูดถึงข้าวสารซึ่งเป็นสถานที่ ที่รวมความหลากหลายของความเป็นอยู่มากมาย ทำให้เห็นถึงความเจริญเติบโต ของคุณภาพชีวิตที่ไม่เท่ากัน

“ในโลกที่กำลังขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ที่ก้าวล้ำคุณภาพชีวิต” จึงเป็นที่มาของแนวความคิด “Cyberpunk” ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ยังมีความขัดแย้ง โลกอันดำมืด และความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่งนั้นล้วนสวนทางกับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

ทางทีม VAWA Studio จึงได้เลือกสถานที่ในการแสดงงาน ซึ่งเป็นซอยทางเดินแคบๆ ที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ ของคุณภาพชีวิตของคนในเมืองที่ต้องใช้เป็นทางสัญจรไปมาได้อย่างชัดเจน สิ่งที่ทีมงานเลือกมาบอกเล่าเรื่องราวคือจอภาพและแสงไฟที่เป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยี กับสายไฟที่ระโยงรยางค์และควันที่รั่วออกมาจากท่อเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการขาดการดูแลและพัฒนา

ผลงาน Khaosan Road Cyberpunk โดย VAWA Studio

นอกจากการชมไฟยามค่ำคืนแล้วยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายกิจกรรมเช่น ‘Hide and Seek 14 Stories of Khaosarn’ เรื่องราวที่คุณอาจจะยังไม่เคยได้รู้ของถนนข้าวสาร เล่าผ่านผู้คนและสิ่งของต่าง ๆ ในถนนข้าวสาร แน่นอนว่าจะทำให้คุณรู้จักข้าวสารมากขึ้นกว่าเดิมในรูปแบบ Online contents ทาง Facebook Page: บางลำพู everyday เช่น ‘เข้าซอยข้าวสาร2435’ ประวัติศาสตร์ถนนข้าวสารในช่วงเวลาต่างๆ เล่าผ่านการเปลี่ยนแปลงในมุมต่างๆ  ‘Khaosan Lookbook’ แฟชั่นของคนที่มาถนนข้าวสาร ประมวลผ่านการสัมภาษณ์คนในข้าวสาร ‘ศิลปะบนร่างกาย’ งานศิลปะยอดนิยมบนถนนข้าวสารอย่าง ถักเปีย / เฮนน่า / สัก หรือ ‘สาร(ะ)บาน’ ร้านหนังสือยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่ซ่อนอยู่บนถนนข้าวสาร ‘คนบันเทิง’ เรื่องราวคนทำงานในสถานบันเทิงที่ข้าวสาร เป็นต้น

ส่วนใครอยากเดินสำรวจถนนข้าวสารแบบได้สาระและความรู้แต่ปราศจากแอลกอฮอล์ ก็มีกิจกรรม ‘Hide and Seek Day and Night Walk’ โดยไกด์เด็กบางลำพูจะพาคุณเดินทัวร์ถนนข้าวสารในตอนกลางวันและกลางคืนเพื่อพบกับมุมที่คุณอาจไม่เคยเห็น ลงทะเบียนฟรีที่ FB Page: เสน่ห์บางลำพู โดยจะแบ่งเป็นรอบวันที่ 7 – 8 พฤศจิกายน 2563 (เสาร์ – อาทิตย์) และวันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2563 (เสาร์ – อาทิตย์)

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ‘Hide and Seek Talk’ เสวนากับคนรุ่นเก๋า-คนรุ่นใหม่ในย่านถนนข้าวสารเรื่อง “ถนนข้าวสาร” ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 – 16.00 น. และ ‘Hide and Seek Play’ พบกับการแสดงดนตรีสุดพิเศษในถนนข้าวสาร กิจกรรมการแสดงดนตรีจากคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร และการแสดงจากชาวบางลำพู รวมทั้ง ‘Hide and Seek Workshop’ ชวนทำเวิร์คชอป กิจกรรมสนุกๆ ของดีชุมชนย่านบางลำพู และเขตพระนครเช่น การประดิษฐ์หัวสิงโต โปสการ์ดปั๊มตราบอกรักข้าวสาร การปักชุดโขน ชุดละคร การแทงหยวก การห่อข้าวต้มน้ำวุ้น เป็นต้น

ผู้สนใจสามารถติดตามเรื่องราวของถนนข้าวสารและรายละเอียดกิจกรรมนี้ เพิ่มเติมทาง Facebook Page: บางลำพู everyday ได้ตลอดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2563 นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า