SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาสถานการณ์แพร่ระเบิดเชื้อโควิด-19 ในไทย วันนี้ยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 12 คน ในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 1 ราย ส่วนอีก 11 รายเดินทางมาจากต่างประเทศ ส่งผลยอดสะสม 3,830 ราย รักษาหายแล้ว 3,644 ราย

วันที่ 7 พ.ย.2563 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 12 คน ยอดสะสม 3,830 คน (เป็นผู้ติดเชื้อที่ จ.กระบี่ 1 คน), หายป่วยแล้วเพิ่มขึ้น 5 คน ยอดสะสม 3,644 คน, ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.เพิ่ม 7 คน ยอดสะสมอยู่ที่ 126 คน ส่วยผู้เสียชีวิตคงที่ยอดสะสม 60 คน

รายละเอียดผู้ติดเชื้อใหม่เดินทางมาจากต่างประเทศ 9 รายเข้ากักตัว และ 2 รายเป็นชาวเมียนมา ไม่ได้เข้าสถานกักกันและไม่ได้รักษาในประเทศไทย 2 ราย อาชีพพนักงานขับรถ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ตรวจคัดกรองที่ด่านชายแดนไทย-เมียนมา ผลตรวจพบเชื้อ โดยไม่มีอาการ ส่งกลับไปรักษาที่เมียนมา

สำหรับผู้ติดเชื้อในประเทศไทย 1 ราย เป็นชาย สัญชาติอินเดีย อายุ 37 ปี อาชีพพนักงานร้านอาหาร อาศัยอยู่ในประเทศไทย จ.กระบี่ เ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.63 ไปตรวจเพื่อขอ Work permit ผลพบเชื้อ อยู่ระหว่างสอบสวนโรคเพิ่มเติม ขณะนี้เข้ารักษาที่ รพ.กระบี่

ลดการกักตัวจาก 14 วัน เหลือ 10 วัน นำร่องประเทศเสี่ยงต่ำ

ขณะที่วานนี้ (6 พ.ย.2563) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป เปิดเผยว่า การลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน จะเริ่มจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยประเมินความเสี่ยงของประเทศต้นทางเปรียบเทียบกับประเทศไทย (Relative Risk Country) ซึ่งประเทศที่ความเสี่ยงใกล้เคียงกับไทย เช่น จีน มาเก๊า อัตราการติดเชื้อ 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศที่ความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศไทย เช่น ไต้หวัน เวียดนาม มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ถ้ามีต่างชาติจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำเข้ามาในไทย 1 ล้านคน การตรวจ RT-PCR ก่อนการเดินทางจะช่วยลดความเสี่ยงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกักตัว 14 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 0.3 คน

ขณะที่การกักตัว 10 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 1.5 คน และจากการเก็บข้อมูลผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกลุ่มผู้เดินทางจากประเทศซูดานใต้ จำนวน 77 คน พบผู้ติดเชื้อ 17 คน โดยทั้งหมดตรวจพบในช่วงวันที่ 0-9 ของการกักตัว และพบการติดเชื้อภายใน 7 วันแรกของการกักตัวถึง 15 ราย ดังนั้น การกักกันโรค 10 วัน จึงมีความเพียงพอ

ผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยงต่ำจะต้องยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทพิเศษและการพำนักในประเทศไทย (Special Tourist Visa : STV2) โดยต้องยื่นเอกสารขอรับวีซ่าที่สถานทูตไทยในประเทศต้นทาง ยื่นเอกสารยืนยันก่อนการเดินทาง ได้แก่ ใบรับรองตรวจไม่พบเชื้อโควิดก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง ใบ Fit to Fly ใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทย ประกันวงเงิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ และการจองที่พักโรงแรมที่เป็นสถานกักกันที่รัฐกำหนด (Alternative Stare Quarantine : ASQ)

เมื่อถึงประเทศไทยจะเข้าด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หากพบว่ามีไข้หรืออาการตามนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จะแยกกักเพื่อสอบสวนโรค นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อ หากไม่มีไข้หลังผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง จะส่งเข้ารับการกักกันใน ASQ ทำการตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง และตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง คือ วันแรกที่เข้าโรงแรม วันที่ 5 และ 9 ของการกักตัว หากผลเป็นบวกจะนำส่งรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา หากผลเป็นลบในวันที่ 10 จะประเมินและตรวจเอกสารก่อนอนุญาตให้ออกจากสถานที่กักกันในวันที่ 11

หลังออกจากสถานกักกันโรคจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน ใช้ติดตามตัว และชี้แจงให้นักเดินทางทราบถึงการติดตามอาการต่ออีก 4 วัน โดยจัดทีมสนับสนุนติดตามผู้เดินทางอย่างใกล้ชิด เน้นการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง โดยผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการกักตัวและรักษาพยาบาล คาดว่าจะเริ่มนำร่องใน 1 เดือนข้างหน้า ภายหลังจากที่ ศบค.ให้ความเห็นชอบ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า