SHARE

คัดลอกแล้ว

ธุรกิจอาหาร เป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็วกว่าหลาย ๆ ธุรกิจ ทำให้วันนี้กระแสเงินสดของเซ็นกรุ๊ป ได้พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว”

นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN  ผู้ประกอบธุรกิจบริการอาหาร (Food Services) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 ปรับตัวดีขึ้น โดยมีกำไรสุทธิ 45.5 ล้านบาท จึงมั่นใจว่าผลการดำเนินงานของเซ็นกรุ๊ปได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ คล่องตัว และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการเพิ่มขีดความสามารถการทำกำไรที่ดีขึ้น ซึ่งยอมรับว่ามาตรการล็อกดาวน์ในช่วงโควิด ทำให้เซ็นกรุ๊ปได้ปรับโมเดลธุรกิจใหม่ทั้งหมด จนมีผลกำไรที่มากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา โดยมี 5 กลยุทธ์ด้วยกันดังนี้

1.มาตรการควบคุมดูแลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

กำไรที่เห็นชัดสะท้อนจากการควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายที่ดี โดยเฉพาะเรื่องค่าเช่า บุญยง บอกว่า ค่าเช่าเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะร้านอาหารของเซ็นกรุ๊ปอยู่ในศูนย์การค้า เกือบ 80% บริษัทฯ ต้องตั้งทีมขึ้นมาเพื่อเจรจาเรื่องค่าเช่าโดยเฉพาะ ซึ่งหลังจากควบคุมค่าใช้จ่ายได้แล้ว ทำให้มีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น

นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN

2.รักษากระแสเงินสดในระบบ

บุญยง เล่าว่า ในธุรกิจอาหารปกติจะมีกระแสเงินสดในระบบ เดือนละ 200 – 300 ล้านบาท ถ้าไม่มีมาตรการล็อกดาวน์เกิดขึ้น ธุรกิจก็มีความแข็งแรงมาก พร้อมมองว่า ธุรกิจอาหาร เป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็วกว่าหลาย ๆ ธุรกิจ ทำให้วันนี้กระแสเงินสดของเซ็นกรุ๊ป ได้พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และได้มีการประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม ให้ผู้ถือหุ้น 25 สตางค์ไปแล้วด้วย

3.ปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยง ขายแฟรนไชส์-เดลิเวอรี- e-Marketplace

จากเดิมร้านอาหารในเครือเซ็น จะกระจุกตัวอยู่ในศูนย์การค้าเป็นหลัก ไม่ได้ทำเดลิเวอรี หรือแพลตฟอร์มอะไรใหม่ ๆ บุญยง ยอมรับว่า ได้ไอเดียและเรียนรู้เรื่องการขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ หลังจากไปซื้อธุรกิจแบรนด์ ‘ตำมั่ว’ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของบริษัทฯ ได้มาก

ส่งผลให้ปัจจุบัน ร้านอาหารในเครือเซ็น มีทั้งหมด 345 สาขา (นับจนถึงสิ้นปีนี้) ทั้งแบบที่ลงทุนเอง และรูปแบบแฟรนไชส์ ส่วนในปี 2564 คาดการณ์ว่าจะมีร้านอาหารในเครือเพิ่มขึ้นเป็น 400 สาขา โดยจะเน้นไปที่การขยายสาขาร้านอาหารที่มีศักยภาพ และขยายสาขาร้านอาหารสู่ภายนอกศูนย์การค้ามากขึ้น

ขณะที่ร้าน ‘เขียง’ ที่เปิดตัวมาได้ไม่ถึง 2 ปี ถือว่าเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่เติบโตทำรายได้กว่า 300 ล้านบาทแซงทุกแบรนด์ในช่วงโควิด เพราะสามารถค้าขายได้หลายแพลตฟอร์ม โดย ‘เขียง’ นอกจากขยายสาขาด้วยกลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ขยายสาขาในต่างจังหวัดแล้ว

“ผมคิดว่า ‘เขียง’ ปีนี้ ไม่น่าเชื่อว่าเราเปิดมากว่า 80 สาขา น่าจะเป็นอาหารตามสั่งที่มียอดขายสูงที่สุด ปิดตัวเลขเกือบ ๆ 300 ล้านบาท เฉพาะแบรนด์ “เขียง” แบรนด์เดียว และก็ 70% มาจากการขายผ่านช่องทางเดลิเวอรี ทำให้ลูกค้ามีความสนใจติดต่อซื้อ ‘เขียง’ เยอะ เรามีพันธมิตร 2 รายทำ MOU จะเปิด ‘เขียง’ ในปีหน้าทั้งหมด รายละ 30 สาขา ต่อไปเราจะมี ‘เขียงเหนือ’ ‘เขียงใต้’ ‘เขียงตะวันออก’ และ ‘เขียงภาคกลาง’ ก็จะใช้วิธีการป่าล้อมเมือง เปิดในแต่ละภูมิภาคด้วย เราอยากเห็นหนึ่งจังหวัด อย่างน้อยก็มี ‘เขียง’ หลาย ๆ แห่ง เราคิดว่า ‘เขียง’ วางเป้าหมายไว้ 60-100 สาขา”  บุญยง กล่าว

นอกจากนี้ เครือเซ็นกรุ๊ปมีอาหารหลากหลายสไตล์ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาหารญี่ปุ่น, ไทย – อีสาน, ปิ้งย่างสไตล์ยากินิกุ, นีโอไต้หวัน, เวียดนาม, โตเกียวคาเฟ่และสตรีทฟู้ด รวมถึงยังขับเคลื่อนด้วย “ดิจิทัล แพลตฟอร์ม” ผ่านกลยุทธ์ “Omni Channel Customer Centric” ผสมผสานจุดเด่นออฟไลน์และออน์ไลน์แบบไร้รอยต่อ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างครอบคลุม ด้วยการพัฒนาเมนูต่างๆ และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคทั้งออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมเชื่อมโยงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยช่วงหลังโควิด เซ็นกรุ๊ปได้ปรับโมเดลธุรกิจมุ่งสู่น่านน้ำออนไลน์ ด้วยการเพิ่มแพลตฟอร์มเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ทุกช่องทาง นอกจากแอปพลิเคชันที่ร่วมกับ 4 พันธมิตร มา 2-3 ปี อย่าง Grab, Foodpanda, LINE MAN และGojek จากช่วงเริ่มต้นมีสัดส่วนเดลิเวอรีเพียง 1%  ปีที่ผ่านมา (2562) ค่อยๆ โตขึ้นจาก 1% เป็น 3% และปีนี้คาดการณ์ว่าจะสูงถึงเกือบ 10% จากอานิสงค์ของการล็อกดาวน์

นอกจากนี้ ได้เพิ่มช่องทางใหม่ในการสั่งอาหารผ่าน Call Center 1347 และล่าสุดร่วมมือกับแพลตฟอร์ม e-Marketplace ชั้นนำอย่าง Shopee และ Lazada เพื่อจัดจำหน่าย e-Voucher และ e-Coupon ร้านอาหารในเครือฯ โดยเซ็นกรุ๊ปจะได้ประโยชน์จากการนำข้อมูลที่ได้จาก e-Marketplace มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงใจมากขึ้น

4.ปรับโครงสร้างกระชับองค์กร ควบรวมฝ่ายการทำงาน

บุญยง เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิดทำให้เขาต้องตัดสินใจปรับผังองค์กรครั้งแรก จากนโยบายเดิมแยกการบริหารงาน ช่วงล็อกดาวน์ทำให้ต้องทบทวนเรื่องของค่าใช้จ่าย เรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) และการเพิ่มผลผลิต (Productivity) จึงมีการควบรวมหลาย ๆ หน่วยงานที่เป็นฝ่าย Back Office เข้าด้วยกันโดยเฉพาะฝ่ายการตลาดที่เป็นเหมือนกองกลาง ใช้ outsource เข้ามาช่วยบริหาร ให้โครงสร้างของแบรนด์มีความแข็งแรงขึ้น ใช้งบประมาณได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.จัดตั้งทีมเจรจาซื้อกิจการ (M&A) หาช่องทางพัฒนารายได้มากขึ้นในปีหน้า

จากวิกฤตที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์ว่าการเลือกพื้นที่ทำเลดีๆ ทำร้านอาหารทำได้ง่ายขึ้น จากจุดที่ไม่ดี สู่จุดที่ดีกว่า และขนาดเล็กลง ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ตั้งทีมขึ้นมาดูส่วนนี้โดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็หาช่องทางพัฒนารายได้ ทั้งพอร์ตร้านอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในมือ และพอร์ตด้านรีเทล โดยจะจัดตั้งทีม M&A (Mergers and Acquisitions) ขึ้น เพื่อหาช่องทางพัฒนารายได้มากขึ้นในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการ (M&A) หลายดีล ที่เกี่ยวกับผลิตวัตถุดิบอาหาร ที่นำมาใช้กับแบรนด์ไทย เพราะมองว่าธุรกิจค้าปลีกน่าสนใจ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป คาดว่าช่วงไตรมาสแรก 2564 จะมีความชัดเจน

อากะ (AKA) ร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น แบรนด์โดดเด่นที่สุดใน ZEN

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นกรุ๊ป กล่าวอีกว่า ณ วันนี้ AKA ถือเป็นแบรนด์ร้านอาหารที่โดดเด่นที่สุด จากจำนวนลูกค้าในช่วงวันหยุด และวันธรรมดา AKA จะมีลูกค้าที่กลับมาเกือบ 90-95%  ขณะที่ ZEN มีประมาณ 80-85% ซึ่งวางแผนจะขยาย AKA ขยายต่อเนื่อง อย่างน้อย 4 สาขา

มั่นใจปี 2564 ทำรายได้แตะ 3,000 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 40% หรืออยู่ที่ 3,000 ล้านบาท จากการขยายสาขาแบรนด์ที่มีศักยภาพเป็นหลักและสาขาแฟรนไชส์ ทำให้ยอดสาขารวมมากกว่า 400 สาขา จากปีนี้ที่คาดมีสาขารวม 345 สาขา หลังจากตัวเลขของ 9 เดือนแรกในปี 2563 รายได้อยู่ที่ 1,600 กว่าล้านบาท กำไรสุทธิ 45.5 ล้านบาท เนื่องจากหยุดขายไป 2 เดือน เพราะศูนย์การค้าต้องปิดให้บริการจากผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด ส่วนรายได้ตลอดปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 2,300-2,500 ล้านบาท โดยคาดว่าไตรมาส 4 จะกลับมาเติบโตได้ดี

ขณะที่แผนงบประมาณในปีหน้า เตรียมทุ่มงบด้านการตลาดเกือบ 3% หรือประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อที่จะรีแบรนดิ้งเซ็นกรุ๊ปใหม่ ทั้งการขยายในรูปแบบของแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เปิดร้านประมาณ 60-100 สาขา และคาดการณ์ว่าอัตราการเข้าร้านอาหารเพิ่มเป็น 90-100% ในช่วงเทศกาลช่วงปลายปี และแคมเปญกระตุ้นของร้านอาหารที่มากขึ้น จนนำไปเซ็นกรุ๊ปไปสู่จุดคุ้มทุน หลังในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 อยู่ในภาวะขาดทุนถึง 79.6 ล้านบาท จากการเสียรายได้เพราะผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า