SHARE

คัดลอกแล้ว

นับตั้งแต่ประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยก็เติบโตขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถครองตำแหน่งท็อป 5 ของประเทศที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดของโลกหลายปีซ้อนและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็แข็งแกร่งจนสามารถค้ำจุนเศรษฐกิจไทยได้ดีรองจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ

ปัจจุบันรายได้จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 20% ของ GDP โดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติกินสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวไทยเพียง 1 ใน 3 อันเป็นจุดอ่อนที่ตลอดมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พยายามจะถมทับด้วยการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ หวังจะปรับสมดุลตัวเลข กระจายความเสี่ยง แต่ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จ

แต่การเข้ามาของวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นไม่ได้เขย่าแค่โลก แต่ยังส่งผลระดับแผ่นดินไหว แพนเจียแยกสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลกและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ทุกประเทศปิดด่านพรมแดน การเดินทางหยุดชะงัก ผู้คนหวาดกลัวการออกจากบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ที่ยาวนานกินเวลาราว 3-4 เดือน ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการท่องเที่ยว และไม่มีรายได้

แม้ในเดือนกรกฏาคม ไทยจะสามารถปลดล็อกตัวเองออกจากสภาวะแช่แข็งที่ทำให้ประเทศซึมเซาและขมุกขมัวด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับแรงกดทับอย่างหนัก แต่ดูเหมือนการกอบกู้สิ่งที่เสียไปแล้วจะยากกว่าที่คิด..

หลังการคลายล็อกดาวน์ ททท.เริ่มประกาศปรับลดเป้าหมายทางด้านการท่องเที่ยวลงอย่างต่อเนื่อง โดยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยอมรับแล้วว่าในปีนี้ประเทศไทยคงจะสามารถเก็บรายได้จากการท่องเที่ยวราว 750,000 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 7 ล้านคน และชาวไทยไม่เกิน 80-100 ล้านคน-ครั้งเท่านั้น

ตัวเลขนี้ไม่เพียงห่างจากเป้าเดิมที่คาดหวังการเติบโต 3-4% แต่ยังลดลงอย่างฮวบฮาบเมื่อเทียบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ไทยเก็บได้ในปี 2562 รวมรายได้ 3.01 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 39.7 ล้านคน สร้างรายได้ 1.93 ล้านบาท และนักท่องเที่ยวชาวไทย 166 คน-ครั้ง สร้างรายได้ราว 1.08 ล้านบาท ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่กำลังซื้อในประเทศลดต่ำลงทุกขณะ

โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่รัฐมอบส่วนลด 40% ใน 5 ล้านสิทธิคืนพักให้กับประชาชน หวังกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศเป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนของกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง เพราะแม้ผ่านระยะเวลาเริ่มต้นโครงการมาราว 3 เดือน ปลดล็อกเงื่อนไขการใช้งานไปหลายข้อ และขยายระยะเวลาโครงการออกไปเรียบร้อยแล้ว ในช่วงสิ้นสุดเดือนตุลาคมก็ยังคงมีผู้ใช้งานสิทธิไม่ถึงครึ่งของเป้าหมายที่ตั้งไว้

และด้วยจุดบอดที่มีมายาวนานของการท่องเที่ยวในกลุ่มไทยเที่ยวไทย คือนักท่องเที่ยวไทยสะดวกเดินทางเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดยาวตามเทศกาลเท่านั้น ทำให้ภาคท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการเราเที่ยวด้วยกันมีเพียงพื้นที่ท่องเที่ยวหลักในรัศมี 200-300 กิโลเมตรรอบกรุงเทพฯ อย่างหัวหิน พัทยา ระยอง หรือกาญจนบุรี ส่วนพื้นที่ระยะไกลที่เคยพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงซึมเซา เพราะกระบวนการเปิดประเทศเคลื่อนไปอย่างช้าๆ พร้อมข้อกำหนดกักตัว 14 วัน

ระหว่างนี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังคงปิดตัวชั่วคราว เพื่อลดผลกระทบจากการแบกรับต้นทุน แต่เวลาเดียวกันก็มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่จำต้องถอนตัวออกจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างถาวร ซึ่งกลุ่มนี้กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยวออกปากยืนยันว่าหากยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเดินทางเชื่อมต่อได้เกินว่า 50% ของผู้ประกอบการทัวร์อาจต้องปิดตัวลงอย่างถาวร เพราะกำแพงหนี้เสียทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็น SME ทุนน้อย ไร้หลักทรัพย์ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ แม้รัฐพยายามเปิดช่อง

ภาพจาก: ข่าวสารท่องเที่ยว ททท.

อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยจะยังไม่สามารถฟื้นคืนได้ทันกับความคาดหวัง แต่ผู้เชี่ยวชาญและคว่ำหวอดในวงการท่องเที่ยวมายาวนานล้วนยืนยันตรงกันว่าไทยจะยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยจะสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ดังเดิม หรือเติบโตยิ่งกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังแหล่งท่องเที่ยวไทยได้รับโอกาสในการฟื้นตัวและเมื่อไทยสามารถยกระดับความเชื่อมั่นด้านสาธารณสุขผ่านการควบคุมโรคได้อย่างโดดเด่น

ภาพจาก: ข่าวสารท่องเที่ยว ททท.

ประกอบกับแสงสว่างเล็กน้อยที่ปลายอุโมงค์จากการเดินหน้าเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน อันเป็นช่วงเวลาเดินทางท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมที่สุดของคนไทย ทำให้ผลประกอบการของหลายๆ โรงแรมเริ่มขยับดีขึ้นตามลำดับ แม้จะยังติดลบ รวมถึงทำให้อัตราเร่งในการใช้สิทธิในโครงการเราเที่ยวด้วยกันเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด และคงเหลือสิทธิการใช้งานราว 1 ล้านสิทธิเท่านั้น

เพียงแต่คำถามก็คือ ณ เวลาที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว รูปแบบการท่องเที่ยวไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหน เมื่อการท่องเที่ยวถูกดิสรัปชันโดยตรงจาก New Normal ระหว่างนี้ผู้ประกอบการไทยจะเอาตัวรอดจากสภาวะซัพพลายล้นเกินอย่างไร และ ณ เวลาที่ไทยได้เปิดน่านฟ้าเสรีต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง จะหลงเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยอยู่มากน้อยแค่ไหน และใครจะต้อนรับนักท่องเที่ยวแทน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า