SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งคืนอุรังอุตัง 2 ตัวกลับถิ่นกำเนิดประเทศอินโดนีเซีย เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ ทางการทูต ครบรอบ 70 ปี ไทย – อินโดนีเซีย หลังด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ตรวจยึดได้เมื่อปี 60 และคดีสิ้นสุดแล้วจึงส่งคืนถิ่นกำเนิด

วันที่ 17 ธันวาคม 2563 นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมด้วย Mr. Dicky Komar รักษาราชการอุปทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ร่วมส่งมอบ-รับมอบลิงอุรังอุตัง สายพันธุ์สุมาตรา เพศเมีย จำนวน 2 ตัว คือ อุ๋งอิ๋ง และ นาตาลี อายุ 4 ปี ซึ่งเป็นลิงอุรังอุตังของกลางที่สิ้นสุดคดีแล้ว กลับประเทศถิ่นกำเนิดเพื่อการนำกลับสู่สภาพธรรมชาติ และเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตในโอกาสครบรอบ 70 ปี ราชอาณาจักรไทย – สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ณ หน้าอาคารคลังสินค้าการบินไทย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า การส่งมอบ-รับมอบ ลิงอุรังอุตังกลับถิ่นกำเนิดครั้งนี้ เป็นการส่งลิงอุรังอุตังกลับถิ่นกำเนิด ครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ซึ่งทางรัฐบาลไทยมีความยินดีที่จะส่งมอบลิงอุรังอุตังดังกล่าว ให้แก่รัฐบาลอินโดนีเซีย เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธะกรณีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรืออนุสัญญา CITES และเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าและการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก

อุ๋งอิ๋ง และ นาตาลี เป็นลูกลิงที่ถูกขบวนการค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ ลักลอบขนมาจากเมืองกะงะ รัฐเปอร์ลิส มาเลเซีย ถูกยึดได้ที่ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์จ.สงขลา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560 และขณะนี้คดีดังกล่าวสิ้นสุดแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเห็นชอบให้ส่งคืนลิงอุรังอุตังของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน จำนวน 2 ตัว กลับถิ่นกำเนิด ประเทศอินโดนีเซีย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 และระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ (รัฐบาลต่อรัฐบาล) และเพื่อภาพลักษณ์ในการร่วมมือกันต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ อันจะเป็นแรงผลักดันให้การเกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติขึ้นในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศไทยมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าของโลก เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาลไทยในการต่อต้านการลักลอบการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และยังเป็นการส่งมอบมิตรไมตรีความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนชาวไทยและประชาชนชาวอินโดนีเซียอีกด้วย

Mr. Dicky Komar อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า อินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทั้งพืชและสัตว์รวมถึงเป็นถิ่นที่อยู่ของชนิดเฉพาะถิ่น (Endemic Species)มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกด้วย ปัญหาการลักลอบค้าลิงอุรังอุตังเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญสำหรับอินโดนีเซีย การทำงานร่วมกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของเรา การส่งเองและนาตาลีกลับคืนถิ่นกำเนิดในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และความต่อเนื่องระหว่างประเทศอินโดนีเซียและไทยในการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ตามแนวที่ CITES กำหนด

ลิงอุรังอุตังทั้งสองอยู่ในความดูแลของศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (เขาประทับช้าง) จังหวัดราชบุรี เดินมาถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เมื่อช่วงเช้า เพื่อเตรียมขึ้นเครื่องบินไปยังสนามบิน Soekarno – Hatta (จาการ์ตา) โดยสายการบิน Garuda Indonesia เที่ยวบิน GA867 เดินทางเวลา 14.10 น. โดยลิงอุรังอุตังทั้งสองได้ผ่านการกำจัดพยาธิ การกักกันเฝ้าระวังโรค ทำประวัติทางการแพทย์ ตรวจเลือดรายตัวเพื่อกำจัดโรค และถูกทดสอบความคุ้นเคยกับกรงย้ายที่มีมาตรฐาน ผ่านการฆ่าเชื้อจากเจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของลิงระหว่างการขนย้ายให้น้อยที่สุด จากนั้น ลิงอุรังอุตังทั้งสองจะเข้าสู่โครงการฟื้นฟูที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดกระบี่ทางตอนกลางของเกาะสุมาตราเพื่อปรับสภาพก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

สำหรับลิงอุรังอุตังสุมาตรา หรือ Sumatran Orang-utan (Pongo abelii) เป็นสัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อนุสัญญาฯ CITES) ในบัญชี 1 ลำดับที่ 332 โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้อย่างถูกต้องต่อไป

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า