SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ก่อเหตุอุกอาจด้วยการบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาของสหรัฐ (The United States Capitol Building) เพื่อขัดขวางการประกาศรับรองชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 ตามเวลาในสหรัฐฯ ที่เลวร้ายกว่านั้นคือมีผู้เสียชีวิตหากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 4 คน workpointTODAY ชวนศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง มาพูดคุยและวิเคราะห์ประเด็นการเมืองสหรัฐฯ และบทบาทการเป็นผู้นำโลกที่ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่หลังจากนี้

ความขัดแย้งและการแยกขั้วเชิงโครงสร้างการเมืองสหรัฐฯ รอยร้าวที่ยากจะประสาน

ศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อ ประเด็นแรกคือรูปแบบการประท้วง การที่ผู้ประท้วงเข้าไปบุกในรัฐสภาและก่อการจลาจลที่วุ่นวายลักษณะนี้เป็นเหตุการณ์ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของการเมืองสหรัฐฯ ประเด็นที่สองคือเนื้อหาหรือเป้าประสงค์ของการเรียกร้อง ครั้งนี้คือความต้องการล้มกระบวนการของรัฐธรรมนูญที่จะมีการยืนยันคะแนนเสียงการเลือกตั้งโดยคะแนนเสียงที่มาจากประชาชน หลายฝ่ายมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการก่อรัฐประหารต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดจะส่งผลในระยะยาวต่อการเมืองสหรัฐฯ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ. ขณะนี้ จริงๆ แล้วไม่ได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นแต่ที่อเมริกาเกิดความรุนแรงสูงสุด สาเหตุมาจากการขยายตัวของพวกขวาจัด (Political Disruption) กลุ่มนี้มีลักษณะอย่างหนึ่งคือพยายามอ้างการเลือกตั้งเพื่อสร้างความชอบธรรมด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร เอาเรื่องการเลือกตั้งมาอ้างและไปแก้รัฐธรรมนูญ ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบเผด็จการหรือเป็นการทำลายล้างระเบียบของเสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberal democracy) ให้กลายเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรีนิยม (Illiberal democracy) บางคนอาจจะเข้าใจในชื่อของ “เผด็จการเสียงข้างมาก” ที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกานั้น มีความแตกแยกมานานแล้วแต่ยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อมีปัจจัยด้านโลกาภิวัฒน์และโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่ทรัมป์ต้องการคือการสร้างแรงกดดันในรัฐสภา เพราะขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าพรรคคู่แข่งอย่างเดโมแครตได้ครองเสียงทั้งในสภาสูงและสภาล่าง อย่างไรก็ตามในเวลานี้ยังมีกลุ่มคนที่สนับสนุนทรัมป์อยู่และเป็นยังฐานเสียงของทรัมป์ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ขณะเดียวกันทรัมป์ยังเล็งเห็นความสำคัญของการเล่นการเมืองนอกสภา ดังนั้นสิ่งที่โจไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะเจอหลังจากนี้คือปัญหาในการบริหารประเทศที่ยากลำบากมากขึ้น แม้เขากล่าวว่าจะพยายามประสานรอยร้าวหรือรอยแยกในสหรัฐฯ ให้ได้ก็ตาม แต่โอกาสในการประสานนั้นก็เป็นไปได้ยากมากเพราะมันเป็นเรื่องของความขัดแย้งและการแยกขั้วในเชิงโครงสร้างนี่คือปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

ต้นแบบประชาธิปไตยและความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ อเมริกาที่กำลังสั่นคลอน

ในหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาของความน่าเชื่อถือในระบอบประชาธิปไตยและกลุ่มขวาจัดเหมือนๆ กันเช่นในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศเยอรมัน แต่ในกรณีของสหรัฐอเมริกานั้นค่อนข้างรุนแรง เพราะปรากฏการณ์นี้จะไปส่งผลต่อหลายประเด็นของประเทศ เช่น ความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในบริบทสังคมโลก ทั้งในเชิงอำนาจและการเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการสร้างค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะจีนคู่แข่งที่อาจจะกำลังหัวเราะให้กับสหรัฐฯ ประเทศที่บอกว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความพยายามฉีกรัฐธรรมนูญด้วยการไม่ยอมเคารพกติกาการเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีคนจำนวนมากที่พร้อมจะสนับสนุนทรัมป์มากทีเดียว ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือประชาชนที่มีแนวคิดขวาจัดที่พร้อมจะสนับสนุนทรัมป์เสมอ เนื่องจากบุคลิกความเป็นซุปเปอร์สตาร์ของทรัมป์ที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดเก่งและจูงใจคนได้ดี รวมถึงการใช้โซเชียลมีเดียของเขาที่มีผลเปลี่ยนแปลงคำโกหกเป็นข้อเท็จจริง (Alternative facts) ซึ่งทรัมป์ทำได้ดี สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทรัมป์เชื่อและสามารถทำให้คนจำนวนมากคล้อยตามได้ ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่รู้ว่าสิ่งที่ทรัมป์พูดไม่ใช่ความจริง แต่พวกเขาได้ประโยชน์จากนโยบายของทรัมป์หรือต้องการได้ฐานเสียงของทรัมป์ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป สิ่งนี้พิสูจน์จากการที่ทรัมป์เป็นผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เพราะฉะนั้นอิทธิพลของทรัมป์หลังจากนี้ยังมีอยู่แน่นอนทั้งการเมืองในสภาและการเมืองนอกสภา ซึ่งนั่นอาจจะเป็นความตั้งใจของเขาเองเพราะทรัมป์เป็นคนที่ไม่ยอมตกกระแสความนิยม จึงต้องเล่นบทนี้ต่อไป ขณะเดียวกันทรัมป์ต้องการรักษาคะแนนเสียงทั้งส.ส. และส.ว. ของรีพลับบลิกันในสภา โดยเขาอาจจะกลับมาสมัครประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2024 ก็ได้

แต่ไม่ว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้นอย่างไร สภาคองเกรสก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยการรับรอง ‘โจ ไบเดน’ ชนะเลือกตั้งสหรัฐฯ นายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นคนอ่านประกาศยืนยันว่า นายโจ ไบเดน ได้รับคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง 306 คะแนน มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งทั้งสิ้น 232 คะแนน นอกจากนี้ นายไมค์ เพนซ์ ยังรับรองผลการเลือกตั้งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้นางกมลา แฮร์ริส เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป การรับรองผลการเลือกตั้งของสภาคองเกรส เท่ากับว่า นายโจ ไบเดน และนางกมลา แฮร์ริส ชนะเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้ว โดยกระบวนการต่อไปคือนายโจ ไบเดนจะเข้าพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคมนี้ หลังจากนี้คงต้องจับตาดูกันต่อว่าผู้ชายที่ชื่อโดนัลด์ ทรัมป์ จะสามารถสร้างความปั่นปวนกับการเมืองสหรัฐฯ ได้อย่างไรอีก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า