SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาคการท่องเที่ยวอาจสูญเดือนละ 4.6 หมื่นล้าน สะสม 3 เดือนเสียหายสูงสุด 1.38 แสนล้านจากโควิดระลอกใหม่ ซ้ำเติมสถานการณ์ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและเศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวที่ฝากความหวังไว้กับปี 2564 ผู้ว่า ททท. ยืนยันผู้ประกอบการยังต้องการมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม หลังบอบช้ำอย่างหนักต่อเนื่อง จนกว่าท่องเที่ยวไทยจะฟื้นในครึ่งหลังของปี 2564 นี้  

‘ยุทธศักดิ์ สุภสร’ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยภาพรวมการท่องเที่ยวไทยในไตรมาส 1 ของปี 2564 ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่อาจจะสร้างความเสียหายในกรณีร้ายแรงที่สุดต่อการท่องเที่ยวไทยให้สูญเสียรายได้กว่า 1.38 แสนล้านบาท จากการสูญเสียรายได้ราว 46,000 ล้านบาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนในช่วง ม.ค. – มี.ค. 2564 ที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับโควิด-19 ระลอกใหม่

โดยเชื่อว่าผลกระทบระลอกนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและแรงงานภาคท่องเที่ยวซ้ำอีก ต่อเนื่องจากผลกระทบระลอกแรกเมื่อปี 2563 เนื่องจากในปีก่อนภาคการท่องเที่ยวไทยดิ่งสู่จุดต่ำสุดในช่วงเดือนเม.ย. ที่มีอัตราการเข้าพักโรงแรมทั่วประเทศเหลืออยู่เพียง 2.23% หรือต่ำที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถก้าวพ้นเหวได้หลังจากนั้นอีกหลายเดือน คือในช่วงเดือน ก.ย. 2563 ที่อัตราการเข้าพักโรงแรมทั่วประเทศขยับกลับขึ้นมาในระดับ 27.89% อันเป็นระดับพ้น ‘ภาวะวิกฤติ’ หรือภาวะต่ำที่สุดที่โรงแรมทั่วไปจะสามารถประกอบกิจการได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์ดูให้ดีตัวเลข 27.89% เป็นเพียงตัวเลขเฉลี่ยทั่วประเทศและเป็นตัวเลขเดือนเดียว หากพิจารณาสถิติตลอดทั้งปีจะพบว่าเฉลี่ยอัตราการเข้าพักโรงแรมในไทยปี 2563 อยู่ ณ ระดับ 29.62% พ้นจากระดับภาวะวิกฤติ ณ 27.87% มาเพียงเล็กน้อย

และหากแยกรายภาคจะพบว่าแต่ละภูมิภาคมีสถานการณ์แตกต่างกัน โดยมีหลายภูมิภาคที่อัตราเข้าพักเฉลี่ยจริงต่ำกว่าภาวะวิกฤต อาทิ กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในขณะที่ภาคอื่นๆ ก็ขยับพ้นขอบเหวภาวะวิกฤติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ตัวเลข ณ ภาวะวิกฤติหมายความว่าโรงแรม ‘ไม่มีกำไร’ และได้รับรายได้เท่ากับต้นทุนประกอบกิจการเท่านั้น และไม่ใช่ทุกโรงแรมจะพ้นจากภาวะดังกล่าว สถิติจึงสะท้อนภาพความบอบช้ำอย่างหนักของภาคการท่องเที่ยวไทยในปี 2563 ได้ดียิ่ง ผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ

เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยตอนนี้เหมือนกับกราฟตัว K ขาบนคือการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรค ส่วนขาล่างคือการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ถ้าหากขาบนเริ่มดิ่งลง ขาล่างที่ดิ่งอยู่แล้วก็จะยิ่งดิ่งลงไปอีก

“จากสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคการท่องเที่ยวน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปี 2564 และหากสถานการณ์ยืดเยื้อจะกระทบกับการจ้างงานของภาคท่องเที่ยว โดยอาจมีแรงงานตกงานเพิ่มอีกราว 1 แสนคน” ผู้ว่า ททท. กล่าว

โดยจาก ‘ผลสำรวจแนวทางการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต้องการจากภาครัฐ’ ที่จัดทำโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีผู้ประกอบการเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม 1,884 ราย

ระบุว่า ณ เวลานี้แนวทางความช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐสูงสุดคือ ‘มาตรการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย’ รองลงมาด้วย ‘มาตรการขอพักชำระหนี้’ ก่อน ‘มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ’ และ ‘มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยและพักเงินต้น’

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยากให้รัฐช่วยสนับสนุนเงินเดือนค่าจ้างพนักงาน เพื่อรักษาการจ้างงาน ลดค่าน้ำและค่าไฟเป็นหลัก รวมถึงต้องการขอพักชำระหนี้สูงสุด 19-24 เดือน ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือประมาณร้อยละ 1-1.99 ต่อปี พร้อมระบุวงเงินที่ต้องการขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยไม่เกิน 5 ล้านบาท และขอให้ไม่ต้องใช้สินทรัพย์ในการค้ำประกัน

ททท. ประเมินว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้แตกต่างจากการระบาดครั้งก่อน แม้การระบาดจะรุนแรงและขยายวงกว้างหลายคลัสเตอร์ โดยคาดว่าจะกินเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือนและทยอยยุติในอีก 2 เดือนจนกว่าประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ หากก็มีพื้นที่ควบคุมชัดเจนและความตระหนกของประชาชนเริ่มลดลง ความรุนแรงของโรคลดลง แม้มีการระบาดรวดเร็ว

ประกอบกับยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทาง และความพร้อมทางด้านสาธารณสุขของไทยมีมากขึ้น พัฒนาการด้านวัคซีนและแผนการได้รับวัคซีนของไทยเริ่มชัดเจน จึงเชื่อว่าภาคการท่องเที่ยวไทยน่าจะทยอยฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เริ่มจากไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป

“ททท.ตั้งเป้าหมายทำตลาดในปี 2564 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1.2 ล้านล้านบาท เพิ่ม 44% จากปี 2563 โดยแบ่งเป็นรายได้จากในประเทศ 7 แสนล้าน เพิ่ม 40% จากปีก่อนจากนักท่องเที่ยว 120 ล้านคน-ครั้ง และรายได้จากต่างประเทศ 5 แสนล้าน เพิ่ม 51% จากปีก่อนจากนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน”

โดยจะเริ่มส่งสัญญาณทำตลาดนอกประเทศในเดือน มี.ค. – เม.ย. เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาทันช่วงเทศกาลอีสเตอร์ คาดว่านักท่องเที่ยวจากตลาดระยะไกล (Long Haul) ทั้งยุโรปและอเมริกาจะเดินทางเข้ามาได้ก่อนตลาดระยะใกล้ (Short Haul) อย่างอาเซียนและเอเชียตะวันออก อาทิ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นยังคงเข้มงวด

ทั้งนี้ ในปี 2563 ไทยมีรายได้การท่องเที่ยวจากตลาดในประเทศ 4.8 แสนล้านบาท ลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเพียง 90.74 ล้านคน ลดลง 47% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ในขณะที่มีรายได้การท่องเที่ยวจากตลาดต่างประเทศ 3.32 แสนล้านบาท ลดลง 82% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.69 ล้านคน ลดลง 83% ทำให้ปี 2563 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 8.12 แสนล้านบาท หรือลดลงกว่า 73%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า