SHARE

คัดลอกแล้ว
หลายคนคงอาจเคยผ่านการทำแบบทดสอบ Myers-Briggs ซึ่งหลายบริษัทยักษ์ใหญ่นำมาใช้เพื่อประเมินบุคลิกและนิสัยของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบการรับเข้าทำงาน แต่ท่ามกลางความเชื่อมั่นจากบรรดาฝ่ายบุคคลบริษัทต่างๆ ที่เลือกใช้แบบทดสอบนี้ ก็มีคำถามตามมาว่า ตกลงแล้วแบบทดสอบ Myers-Briggs น่าเชื่อถือ แม่นยำ และชี้วัดนิสัยมนุษย์ได้จริงหรือ
วันนี้ workpointTODAY ได้รวบรวมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ตั้งคำถามกับแบบสอบถาม Myers-Briggs ที่บางคนบอกว่า เป็นการทดสอบที่ล้าสมัย ขาดความน่าเชื่อถือและไม่มีหลักวิทยาศาสตร์รองรับ
1.) แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ (Myers-Briggs) เป็นตัวชี้วัดด้านบุคลิกภาพที่คิดค้นโดย แคทเธอรีน คุก บริกส์ (Katherine Cook Briggs) และลูกสาวคืออิซาเบล บริกส์ ไมเออร์ส (Isabel Briggs Myers) โดยอาศัยทฤษฎีจากหนังสือของศาสตราจารย์คาร์ล ยุง มาปรับใช้เพื่อทดสอบบุคลิกภาพและนิสัยคนอื่น
2.) แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ เริ่มใช้อย่างจริงจังมาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคทองของตลาดแรงงาน โดยแบบทดสอบนี้ถูกนำไปใช้จัดเกณฑ์ผู้คนว่า ใครเหมาะสมกับการทำงานประเภทไหน
3.) แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ จะแบ่งบุคลิกผู้คนออกเป็น 16 รูปแบบ ผ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษ 8 ตัว จาก 4 ชุดบุคลิกภาพ คือ
E – Extraversion / I – Introversion
S – Sensing / N – Intuition
T – Thinking / F – Feeling
J – Judging /  P – Perceiving
4.) โดยเมื่อผู้ทำแบบสอบถามตอบคำถามเสร็จสิ้น แต่ละคนจะได้ตัวอักษรออกมา 4 ตัว โดยให้นำ 4 ตัวนี้มารวมกัน ก็จะได้เป็นผลลัพธ์ด้านบุคลิกภาพของแต่ละคน
5.) เว็บไซต์ 16personalities ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทำแบบสอบถามไมเออร์ส-บริกส์ออนไลน์สรุปว่า 16 บุคลิกภาพที่จะสะท้อนออกมาผ่านแบบสอบถามจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 นักวิเคราะห์ ได้แก่ นักออกแบบ นักตรรกะ นักบัญชาการ และนักโต้วาที
กลุ่มที่ 2 นักการทูต ได้แก่ ผู้แนะนำ ผู้ไกล่เกลี่ย ตัวเอก และนักรณรงค์
กลุ่มที่ 3  ผู้เฝ้ายาม ได้แก่ นักคำนวณ ผู้ตั้งรับ ผู้บริหาร และผู้ให้คำปรึกษา
กลุ่มที่ 4 นักสำรวจ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ นักผจญภัย ผู้ประกอบการ และผู้มอบความบันเทิง
โดยทั้ง 16  บุคลิกภาพจะสะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมในการรับผิดชอบงานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังอาจนำไปวิเคราะห์ว่า ผู้ทำแบบสอบถามแต่ละคนสามารถทำงานเข้ากับใครได้บ้างอีกด้วย
6.) ปัจจุบันแบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ กลายเป็นแบบสอบถามยอดนิยมอันดับต้นๆ ของโลก มีการประเมินว่า มีผู้เข้าไปทำแบบทดสอบนี้ผ่านระบบออนไลน์ปีละราว 1.5 ล้านคน ขณะที่มี 88 บริษัทจาก 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์จูน ใช้แบบทดสอบนี้ทดสอบพนักงานด้วย
7.) แม้จะเป็นแแบบทดดสอบยอดนิยม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนได้ตั้งคำถามถึงความแม่นยำของแบบทดสอบนี้ โดยศาสตราจารย์อดัม แกรนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาระบุว่า แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความเป็นอิสระ และไม่ค่อยครอบคลุมตามความเป็นจริงเท่าไหร่นัก
8.) ดร.ดีน เบอร์เนตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอีกคนหนึ่งวิจารณ์แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ว่า เป็นแบบทดสอบที่ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักจิตวิทยา ขาดเหตุผลรองรับทางวิทยาศาสตร์ แถมเป็นการทดสอบที่ไม่ได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ
9.) ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ทำแบบสอบถามมากถึง 50% ได้ผลลัพธ์แตกต่างกันจากการทำแบบสอบถามซ้ำในอีก 5 สัปดาห์ต่อมา ขณะที่การศึกษาจำนวนมากระบุว่า แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ไม่มีส่วนช่วยตัดสินผู้คนว่าใครจะทำงานได้ประสบความสำเร็จมากกว่ากัน
10.) แต่การวิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญก็ถูกโต้แย้งจากบรรดาผู้ใช้แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ เช่นเบน นิวแมน ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลในบริษัทการเงินหลายแห่งที่ระบุว่า แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ มีส่วนช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลเข้าใจบุคลิกของพนักงานได้จริง
11.) นิวแมนอธิบายว่า แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ มีส่วนช่วยให้ผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้ตัวตนของตัวเองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำที่ดี นอกจากนี้แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ยังช่วยให้พนักงานฝ่ายบุคคลเข้าใจผู้สมัครงานมากขึ้นว่า มีความหวาดกลัวต่อการเข้าสังคมมากน้อยแค่ไหน
12.) ซูเรส บาลาซาบรามาเนียน ผู้จัดการบริษัทไมเออร์ส-บริกส์ ซึ่งเป็นเจ้าของแบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ ระบุว่า แบบทดสอบของบริษัทถูกโจมตีและลดทอนความน่าเชื่อถือมากจนเกินไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมายาคติที่เกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต โดยระบุอีกว่า ปัญหาที่นักวิจัยวิจารณ์แบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเก่าที่ทางบริษัทได้พัฒนาและแก้ไขใหม่แล้ว
13.) แม้จะมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายเกี่ยวกับแบบทดสอบไมเออร์ส-บริกส์ แต่ปัจจัยที่ทำให้มีผู้ทำแบบสอบถามที่เห็นด้วยกับผลการทดสอบจำนวนมาก ขณะเดียวกันยังครองใจฝ่ายบุคคลและบริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่ง อาจเป็นเพราะผลการทดสอบที่ออกมาในมุมบวกทั้งหมด ไม่ว่าผู้ทดสอบจะประเมินตัวเองออกมาเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันผลการทดสอบที่สรุปออกมาว่าเราเป็นใครแบบง่ายๆ ยังถูกใจหลายต่อหลายคนที่อาจอธิบายกับคนอื่นไม่ถูกว่า ตัวเราเองมีนิสัยแบบไหนเวลาทำงานกับคนอื่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า