SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากโจไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลำดับที่ 46 เขาประกาศว่าจะนำพาสหรัฐฯ กลับสู่การเป็นผู้นำในเวทีโลกอีกครั้งด้วยการเป็นผู้กำหนดกติกาของโลกรวมทั้งเป็นผู้นำในวิกฤตระดับโลกทั้งเรื่องภาวะโลกร้อนหรือโควิด-19  สหรัฐจะเน้นเรื่องพหุภาคีนิยมมากขึ้นขณะเดียวก็พยายามปรับสมดุลการถ่วงดุลอำนาจกับจีน รวมถึงเรื่องแนวคิดเสรีนิยมและความเป็นประชาธิปไตยที่จะถูกขับเน้นมากขึ้น

จนถึงขณะนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่าทิศทางของทั้งสหรัฐฯ และจีนในประเด็นเรื่องประเทศอาเซียนรวมถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิคจะเป็นอย่างไร หลังจากล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ถึง 30 มกราคมที่ผ่านมา ทางการจีนประกาศว่าจะทำการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ เข้ามาในน่านน้ำซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ จากนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ คนใหม่ แอนโทนี บลิงเคน ก็ได้แถลงคำมั่นว่าจะยืนเคียงข้างชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากจีน โดยกล่าวว่าสหรัฐฯ พร้อมจะเผชิญหน้ากับความท้าทายจากจีน อิหร่าน รัสเซีย และเกาหลีเหนือพร้อมทั้งสานสัมพันธ์กับญี่ปุ่นด้วยการกล่าวว่า สหรัฐฯ ให้คำมั่นในการปกป้องญี่ปุ่น รวมถึงหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเซ็นกากุและจีนเรียกว่าเตียวหยู ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างครอบครองกรรมสิทธิ์ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงการอยู่ขั้วตรงข้ามกับจีน

สหรัฐตอกย้ำความเป็นผู้นำโลกทั้งความมั่นคง การค้า เทคโนโลยีและค่านิยมอเมริกัน

เห็นได้ชัดว่าจีนเริ่มต้นด้วยการแสดงจุดยืนไม่อ่อนข้อให้สหรัฐฯ ทันทีที่โจไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่ง หลังการเรียกร้องของสีจิ้นผิงถึงนานาชาติให้ใช้กลไกพหุภาคีในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ในการประชุม World Economic Forum 2021 ที่ผ่านมาด้วยการกล่าวว่า ‘เขามีความเสี่ยงทำให้เกิดสงครามเย็นรอบใหม่ หากไบเดนยังดำเนินนโยบายกีดกันการค้าและปกป้องตลาดตามแบบ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า’ ต้องยอมรับว่า ณ ขณะนี้จีนขยายบทบาทตัวเองในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น ส่วนนโยบายของโจไบเดนต่อจีน คงจะดำเนินการทางการทูตแบบคาดการณ์ได้ มีการวางระบบที่เป็นขั้นเป็นตอนไม่ต่างจากสมัยของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา แต่ก็จะไม่ยอมอ่อนให้กับจีนเช่นกัน โดยไบเดนย้ำว่าเรื่องการค้าและเทคโนโลยีนั้นเป็นหัวใจสำคัญที่สหรัฐฯ จะดำเนินการอย่างเข้มข้นกับจีน โดยเน้นความร่วมมือจากประเทศพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อรับมือกับจีน รวมถึงการกลับเข้าร่วม CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) ที่แม้จะมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะกลับเข้าร่วมแต่ความชัดเจนก็ยังไม่เห็นมากนักในขณะนี้ โดยรวมแล้วสงครามการค้า (Trade War) ก็คงจะดำเนินต่อไปอีกระยะยาวเพราะในช่วงที่ผ่านมาโจ ไบเดนมีการวิจารณ์จีนไว้ในลักษณะที่ไม่ต่างกับทรัมป์ รวมถึงสงครามเทคโนโลยี (Tech War) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดอนาคตว่าใครจะเป็นผู้นำในครอบครองเทคโนโลยี 5G หรือเข้าถึงอุตสาหกรรมผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Chip) ได้ ซึ่งนั่นจะหมายถึงการเป็นผู้กำหนดชัยชนะในสงครามเทคโนโลยีครั้งนี้

นอกจากนี้ยังมีมิติเรื่องของการสร้างค่านิยมแบบอเมริกัน สหรัฐฯ พยายามกลับมาเล่นบทนำในการสร้างค่านิยมหรือกติการะหว่างประเทศเช่น เรื่องของประชาธิปไตยหรือการเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ต้องอย่าลืมว่าขณะนี้เองสหรัฐฯ ก็กำลังถูกตั้งคำถามในประเด็นนี้เช่นกันหลังจากเหตุการณ์วันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา เมื่อม็อบสนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำลายกระบวนการประชาธิปไตย บุกปีนป่ายเข้าไปในอาคารรัฐสภา กลางกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เพื่อพยายามขัดขวางสภาคองเกรสรับรองชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ โจ ไบเดน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นตำรวจโลกคอยตรวจสอบประเทศต่างๆ ถูกสั่นคลอนความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นโจทย์ใหญ่และเป็นความท้าทายของสหรัฐฯ ที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองให้ประเทศต่างๆ เห็นว่าค่านิยมแบบอเมริกันเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังน่าเชื่อถืออยู่

ไทยควรปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสากล ก่อนติดต่อสัมพันธ์กับสหรัฐฯ

หากจะพิจารณาประเด็นนี้ จะพบว่ากลุ่มประเทศอาเซียนเป็นส่วนสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนและคู่ขัดแย้งอื่นๆ เป็นโอกาสที่อาเซียนจะแสดงบทบาทที่ก้าวหน้าและเปิดพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายได้เจรจากัน โดยไทยถือว่ามีข้อได้เปรียบเพราะอย่างน้อยที่สุดประเทศไทยก็มิได้เป็นคู่พิพาทโดยตรงในประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อทั้งสหรัฐฯ และจีน (แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้ไทยเอนเอียงไปหาจีนค่อนข้างมาก) ประเด็นนี้ ผศ. ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวในงานสัมมนาในหัวข้อ “สหรัฐอเมริกากับอินโด-แปซิฟิกในยุคของโจ ไบเดน” ว่าหากเปรียบเทียบความแตกต่างในยุคของโจไบเดนกับในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะพบว่าในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ หลายๆ ประเทศคล้ายจะถูกกำหนดว่าให้ต้องเลือกข้างว่าจะยืนอยู่ฝ่ายสหรัฐฯ หรือจีนรวมถึงไทยด้วย แม้ว่าในยุคของทรัมป์ไทยดูจะไม่ได้รับความสำคัญเท่าไรก็ตาม แต่ประเทศไทยก็โดนกดดันหลายๆ เรื่องเช่นมาตรฐานแรงงาน  ซึ่งขณะนี้เราเองก็ยังคงต้องระมัดระวังที่จะไม่ให้ได้รับอิทธิพลจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไป ส่วนในยุคของโจไบเดน แน่นอนว่าสหรัฐฯ ต้องการที่จะกลับมาจัดระเบียบโลกและเป็นผู้วางกติการวมถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องประชาธิปไตย ไทยจึงต้องปรับตัวเองต้องเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเฉพาะประเด็นเรื่องเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ทรัพย์สินทางปัญญา การทำประมง ไทยต้องเคลียร์ตัวเองให้ได้ในประเด็นที่เป็นข้อครหาเหล่านี้ รวมถึงข้อตกลงการค้า ประเทศไทยต้องระมัดระวังเรื่องมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับแบบสากล ก่อนจะเข้าไปติดต่อสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ณ ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าสหรัฐฯ จะเข้ามาในรูปแบบใด แต่เชื่อว่าจะเป็นรูปแบบข้อตกลงต่างๆ ดังนั้นไทยจึงต้องรักษาสมดุลของจีนและสหรัฐฯ ให้ดี ต้องทำตัวให้ไม่ถูกกดดันจากทั้งสองฝั่ง และหวังว่าเราจะไม่ถูกบีบให้ต้องเลือกข้างในประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า