SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. สนธิ ปคบ.ทลายแหล่งผลิตและจำหน่ายครีมเถื่อนรายใหญ่ 4 จังหวัด พบนำครีมมาผสมเองและมีสารต้องห้ามปนเปื้อน มูลค่าความเสียหายกว่า 5 แสนบาท

วันที่ 4 ก.พ. 2564  พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดย ภญ สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. ร่วมกันแถลงผลการทลายแหล่งผลิตและจำหน่ายครีมเถื่อนรายใหญ่ หลังมีการโฆษณารีวิวครีมเถื่อนกระปุกฝาแดง ไม่มีเลขจดแจ้ง อ้างสรรพคุณว่าจะช่วยให้ผิวขาวใส มีออร่า ผ่านทางแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (Tik Tok)

จากการสืบสวนพบสถานที่ลักลอบจำหน่ายครีมเถื่อนดังกล่าว และขยายผลไปยังแหล่งลักลอบผลิต จนทลายแหล่งผลิตและจำหน่ายครีมเถื่อนรายใหญ่ใน จ.ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา พร้อมยึดของกลางครีมสำเร็จรูปพร้อมจำหน่าย 523 ถุง ครีมกระปุกฝาแดง 1,989 กระปุก วิตามินซี 30 หลอด ครีมรอบรรจุ 80 กิโลกรัม และอุปกรณ์การผลิต รวมมูลค่ากว่า 5 แสนบาท  นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ผลิตได้ซื้อครีมมาจากประเทศกัมพูชา มาผสมกับครีมตามท้องตลาดในไทยเพื่อลดความเจือจางไม่ให้เข้มข้นมากเกินไป พร้อมอ้างสรรพคุณความสวยความงาม โดยการผลิตใช้ต้นทุนต่ำประกอบกับเป็นที่ต้องการในตลาดออนไลน์ ขายกระปุกเล็ก 120 บาท กระปุกใหญ่ 290 บาท

เบื้องต้นแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ฐานผลิต ขายเครื่องสำอางไม่ได้จดแจ้งและไม่มีฉลาก มีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากตรวจพบสารห้ามใช้จะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานแล้ว หากพบเป็นการกระทำความผิดฐานใดก็จะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป

ด้านเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ครีมเถื่อนที่ยืดได้ในครั้งนี้มักขายตาตลาดนัด ร้านค้าออนไลน์ ไม่มีเลขจดแจ้ง ไม่มีฉลากหรือแสดงฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ มักโฆษณาอ้างรักษาสิว รอยแผลเป็น ฝ้า กระ ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส ดำกรรมพันธุ์ก็ขาวขึ้น เห็นผลใน 7 วัน ที่ผ่านมา อย.เคยตรวจพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางประเภทนี้ เช่น สารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ สเตียรอยด์ ซึ่งหากใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหน้าดำ ผิวบางลง แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่าย ผิวแตกลายถาวร เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับสารปรอทในปริมาณมาก อาจเกิดพิษสะสม ส่งผลให้ไตอักเสบ ซึ่งเคยมีผู้แพ้สารปรอทในเครื่องสำอางจนเสียชีวิตมาแล้ว หกพบการลักลอบผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า