SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากแพลตฟอร์มต่างชาติ มีความชัดเจนขึ้นมาก หลังจากมีความพยายามผลักดันกฎหมายนี้มาหลายปี ด้วยความต้องการและพฤติกรรมเสพสื่อออนไลน์ของคนไทยที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไปเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เฉพาะความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังแฝงไว้ด้วยรายได้จากการให้บริการอีกมหาศาล

หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกฎหมายภาษี e-Service ไปเมื่อ 7 เดือนก่อน (9 มิ.ย.2563) ในที่สุดเมื่อวันที่  10 ก.พ.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 ซึ่งจะเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการต่างประเทศ กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทย ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของกรมสรรพากรในการเก็บภาษี Digital Economy

โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่บทบัญญัติที่มีผลแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเสียหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับรายรับหรือการจ่ายเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ 7 ถัดจากเดือนที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือในอีก 6 เดือนข้างหน้า

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ขณะนี้กรมสรรพากรอยู่ระหว่างพูดคุยกับผู้ประกอบการต่าง ๆ เพื่อจัดทำระบบการจ่ายภาษีให้ง่ายที่สุด

“หลังกฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะมีเวลาอีก 180 วัน ก่อนจะมีผลกับการเก็บภาษี โดยกรมคาดว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2564 นี้ จะมีรายได้เข้ามาก่อนเดือน ก.ย. ซึ่งเราประเมินไว้ 5,000 ล้านบาท” นายเอกนิติ กล่าว

 

คนไทยมากกว่า 50% ดูวิดีโอ ฟังเพลง และฟังวิทยุออนไลน์ ดันบริการออนไลน์โตต่อเนื่อง

กรมสรรพากร ให้เหตุผลว่าเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้ส่งผลให้รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศสามารถให้บริการแก่บุคคลต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีแพลตฟอร์มซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการจำนวนมาก ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เกม เพลง ภาพยนตร์ จากผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

ในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรกว่า 69 ล้านคน และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 75 % และจากผลสำรวจของ Globalwebindex พบว่าประชากรไทยอายุระหว่าง 16-64 ปี มากกว่า 50% ดูวิดีโอ ฟังเพลง และฟังวิทยุออนไลน์ ส่งผลให้มีการใช้บริการออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น การซื้อขายเพลงออนไลน์เติบโต 9% การซื้อขายวีดีโอเกมเติบโต 7.8% และการโฆษณาออนไลน์เติบโต 16% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

 

สร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกอบการในประเทศที่ต้องเสียภาษี หลังมีกว่า 60 ประเทศบังคับใช้กฎหมายนี้แล้ว

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในประเทศที่ให้บริการ e – Service ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ยื่นแบบ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมาโดยตลอด ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างประเทศ หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการ e-Service  ในประเทศไทย ไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึง ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศที่ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มต่างก็เผชิญปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน

หลายประเทศจึงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา โดยดำเนินการตามคำแนะนำของ OECD ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศ จดทะเบียนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี โดยขณะนี้มีประเทศที่บังคับใช้กฎหมายแล้วกว่า 60 ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น

 

ธุรกิจประเภทใดบ้าง ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ได้แก่ การให้บริการดาวน์โหลด หนัง/ภาพยนตร์ เพลง เกม สติกเกอร์ นายหน้า สื่อโฆษณา เป็นต้น
  • แพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย เช่น Apple, Google, Facebook, Netflix, Line, YouTube, Tiktok
  • และมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน

โดยต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการ  ซึ่งวิธีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากร ภายใต้ระบบ pay-only (ห้ามหักภาษีซื้อ) โดยไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี และรายงานภาษีซื้อ

ขณะนี้กฎหมายได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้วและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ดี กรมสรรพากร ระบุว่าที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ประกอบการต่างประเทศและหน่วยงานจัดเก็บภาษีในหลายประเทศ ที่มีการใช้กฎหมายเช่นเดียวกันนี้ พบว่า ผู้ประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่ มีความเข้าใจในหลักการของกฎหมายและได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่มีหลักการเดียวกันกับร่างกฎหมายนี้อยู่แล้ว และจากข้อมูลของหน่วยงานจัดเก็บภาษีในต่างประเทศพบว่า ผู้ประกอบการต่างประเทศให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีเป็นอย่างดี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า