SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุผลที่ Soft Power จีนจึงไม่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ : กรณีศึกษาจากภาพยนตร์ โดย ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ในบรรดาประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับภาพยนตร์ในฐานะ “อำนาจอย่างอ่อน” หรือ Soft Power  ซึ่งหมายถึงการใช้อำนาจในการโน้มน้าวให้คนในประเทศอื่นคล้อยตามค่านิยมหรืออุดมการของประเทศนั้น ผ่านเครื่องมือทางวัฒนธรรมอย่าง ‘ภาพยนตร์’ นอกจากมีประเทศเกาหลีใต้ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว ‘จีน’ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ภาพยนตร์จีนได้มีโอกาสออกไปเผยแพร่ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ถึงขนาดถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติเลยทีเดียว

จุดเริ่มต้นในการตระหนักถึงความสำคัญในอำนาจอย่างอ่อนของรัฐบาล เริ่มต้นในปี 2007 เมื่อประธานาธิบดี ‘หูจินเทา’ ได้ประกาศในที่ประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 17 ให้ยกระดับวัฒนธรรมธรรมจีนให้เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอย่างอ่อนของประเทศ และขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม เพื่อสร้างขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในระดับโลก

ความตั้งใจของ ‘ประธานาธิบดีหู’ ถูกตอบรับด้วยการที่รัฐจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมวัฒนธรรมจีน (ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์) ในระดับนานาชาติอย่างจริงจัง หลังจากนั้น ในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 ในปี 2014 อำนาจอย่างอ่อน (Soft Power) ยังคงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญในการประชุม โดย ประธานาธิบดี ‘สีจิ้นผิง’ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องยกระดับการเสริมสร้างความนิยมในวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศให้มากกว่านี้ โดยประธานาธิบดี สี ได้เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะต้องขยายอำนาจอย่างอ่อนของจีนให้มากขึ้นกว่าเดิม ต้องสื่อสารอุดมการจีนสู่ชาวโลกให้มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ในการประชุมพรรคครั้งล่าสุดในเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ประธานาธิบดี สี ยังได้กำหนดเป้าหมายระยะยาว ระหว่างปี 2020-2035 ในการขยายขอบเขตให้อำนาจอย่างอ่อนอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเขาได้กล่าวว่า “เราจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสารกับต่างประเทศ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของประเทศจีน นำเสนอมุมมองของจีนที่ถูกต้อง หลากมิติ และรอบด้าน นอกจากนี้ เราจะต้องเพิ่มศักยภาพอำนาจอย่างอ่อนของประเทศเราด้วย”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจีนจะตระหนักความสำคัญของอำนาจอย่างอ่อน ในฐานะเครื่องมือเผยแพร่อุดมการของรัฐผ่านสื่อทางด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ และได้ผลักดันส่งเสริมให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนออกไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าการจัดนิทรรศการ หรือ เทศกาลทางด้านศิลปะวัฒนธรรมต่าง หรือการสร้างช่องทางในการค้าขายสินค้าทางด้านวัฒนธรรมผ่านตลาดทางด้านวัฒนธรรมเช่นตลาดภาพยนตร์ หรือตลาดโทรทัศน์ แต่ดูเหมือนว่าการตอบรับยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

ในกรณีของภาพยนตร์ แม้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์จีนสามารถสร้างสถิติรายได้จากการฉายในประเทศอย่างต่อเนื่อง จนทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์จีนได้รับการคาดหมายว่าจะกลายเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่ประเทศอเมริกาในอีกไม่ช้า แต่ในระดับต่างประเทศ ภาพยนตร์เหล่านี้กลับได้รับการตอบรับจากผู้ชมต่างชาติค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับความพยายามของภาครัฐในการส่งเสริม ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Wolf Warror 2 (2017)  ซึ่งสร้างสถิติภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีนถึง 854 ล้านเหรียญสหรัฐ (25,000 ล้านบาท) แต่กลับทำรายได้จากการฉายทั่วโลกเพียง 18 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น  โดยในจำนวนนี้เป็นรายได้จากประเทศอเมริกาจำนวน 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ภาพยนตร์แนวรักชาติอย่าง The Eight Hundreds (2020) ซึ่งเพิ่งออกฉายในประเทศจีนเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาและทำรายได้ในประเทศจีนเป็นจำนวน 460 ล้านเหรียญ แต่กลับทำรายได้ในต่างประเทศรวมกันเพียง 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่รัฐส่งเสริมภาพยนตร์ในฐานะอำนาจอย่างอ่อนอย่างแข็งขันเช่นกัน เช่นประเทศเกาหลี มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่ทำรายได้งดงามไม่เพียงแค่ในประเทศแต่ยังรวมถึงต่างประเทศด้วย เช่น Parasite (2019) ที่ทำรายได้จากการฉายภายในประเทศจำนวน 53 ล้านเหรียญ และทำรายได้จากการฉายทั่วโลก (รวมถึงไทย) อีก 205 ล้านเหรียญ

นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง Parasite ยังได้รับรางวัลสำคัญในการประกวดภาพยนตร์ระดับโลกอีกหลายรางวัล รวมถึงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2019 และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากการประกวดรางวัลออสการ์ปี 2020  ภาพยนตร์เกาหลีใต้อีกเรื่องหนึ่งที่ประสบความสำเร็จจากการฉายภายในประเทศและทั่วโลกได้แก่ Train to Busan (2016)  ซึ่งทำรายได้จากการฉายทั่วโลกรวมทั้งเกาหลีใต้รวมกัน 92 ล้านเหรียญสหรัฐ และภาพยนตร์เปิดตัวอันดับหนึ่งในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ล่าสุด Train to Busan ยังถูกบริษัทสร้างภาพยนตร์ระดับโลกอย่าง New Line Entertainment ซื้อสิทธิ์รีเมคเพื่อนำไปสร้างภาพยนตร์ฉบับอเมริกันต่อไป

เมื่อเป็นดังนี้ คำถามสำคัญตามมาคือ เหตุใดประเทศจีน ที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมในฐานะอำนาจอย่างอ่อน ถึงขนาดผลักดันให้กลายเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2007 ถึงยังไม่ประสบความสำเร็จในแง่การยอมรับของผู้บริโภควัฒนธรรมในต่างประเทศ

ผู้เขียนขอสรุปดังนี้

1.การเซนเซอร์ที่เข้มงวด : สำหรับประเทศจีน การเซนเซอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยในการผลิตแต่ละเรื่องบริษัทผลิตภาพยนตร์จะต้องขออนุญาตการสร้างภาพยนตร์จากนักงานบริหารสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์  (SAPPRFT) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลกิจการภาพยนตร์เสียก่อน  จากนั้นเมื่อภาพยนตร์สร้างเสร็จแล้ว บริษัทผลิตภาพยนตร์จะต้องขอรับการอนุมัติเพื่อเผยแพร่กับสำนักงานภาพยนตร์ (Film Bureau) สังกัดสำนักงานบริหารสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์เช่นกัน สำหรับประเด็นต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเสนอในภาพยนตร์จีนที่ถูกระบุไว้ในมาตรา 16 ของกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปี 2016 มีตั้งแต่ การวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ความรุนแรง เพศ  ความเชื่อเหนือธรรมชาติ ไปจนถึงการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ

ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ผู้สร้างภาพยนตร์จีนจึงหลีกเลี่ยงที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีแนวโน้มจะเกิดกับปัญหากับรัฐ แล้วหันไปนำเสนอประเด็นที่ปลอดภัยแทน เช่น ภาพยนตร์ตลกเบาสมองอย่าง Lost in Thailand หรือ Lost in Russia หรือภาพยนตร์ที่นำเสนออุดมการของรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Wolf Warrior 2 หรือ Operation Red Sea ที่พยายามนำเสนอภาพของประเทศจีนในฐานะผู้คุ้มครองและปกป้องสันติภาพของโลกเป็นต้น  เมื่อภาพยนตร์เหล่านี้ได้ถูกนำออกฉายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกตะวันตก จึงมักได้รับการตอบรับในเชิงลบ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ บทวิจารณ์ของ Simon Abrams แห่งเว็บไซท์ RogerEbert.com ที่เขียนถึง Wolf Warrior 2  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ อดีตทหารหน่วยรบพิเศษของจีนที่เดินทางไปพักผ่อนในประเทศแล้วจับพลัดจับผลูต้องช่วยเหลือประชาชนจากการคุกคามของฝ่ายกบฏที่โหดร้าย ว่า “ภาพยนตร์พยายามเลคเชอร์คุณ  อัดคุณจนเละ และคาดหวังให้คุณต้องชอบมัน” หรือ บทวิจารณ์ของ Noel Murray แห่ง ลอสแองเจลลิสไทม์ที่ระบุว่า Wolf Warror 2 พยายามนำเสนออย่างเสียดสีว่า ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นว่าคนจีนเท่านั้นที่ใส่ใจในโลกที่ถูกกดขี่ข่มเหง เป็นต้น

  1. การขาดความหลากหลายของเนื้อหา : นอกจากการเซนเซอร์ที่เข้มงวดที่กดดันให้ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องสร้างภาพยนตร์ที่ปลอดภัยแล้ว  แรงกดดันจากตลาดภาพยนตร์ภายในประเทศ ยังส่งผลให้ผู้สร้างต้องผลิตภาพยนตร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ชมภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือ การขาดความหลากหลายในเนื้อหา แถมเนื้อหาของภาพยนตร์เองก็เก็มีลักษณะเฉพาะตัว จนทำให้ผู้ชมต่างประเทศไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังที่ Janet Yang โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มีเชื้อสายจีน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง Joy Luck Club ได้เคยแสดงทัศนะว่า ภาพยนตร์จีนโดยทั่วไปนั้นนั้นมีเนื้อเรื่องที่ยืดยาด และเล่าเรื่องสะเปะสะปะ ด้วยวิธีการนำเสนอผ่านการพูดของตัวละคร โดยเธอยกตัวอย่าง ของภาพยนตร์อย่าง Let the Bullet Fly (2010) ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในประเทศจีน แต่ล้มเหลวเมื่อฉายในประเทศตะวันตก เนื่องจากภาพยนตร์ถูกวิจารณ์ว่ามีพล็อทหักมุมมากมายที่ยากต่อการติดตามของผู้ชม

จากเหตุผลทั้งสองข้อข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายของการใช้อำนาจอ่อนในภาพยนตร์ของรัฐบาลจีน คือการดำเนินนโยบายที่สวนทางกันและขัดแย้งกันเอง โดยในด้านหนึ่งรัฐต้องการใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงพื้นที่ความนิยมในตลาดโลก แต่อีกด้านหนึ่งกลับควบคุม กดทับการสร้างสรรค์ให้อยู่ในกรอบที่วางไว้ จึงทำให้อำนาจอย่างอ่อนที่ใช้ได้ผลกับตลาดภายในประเทศเท่านั้น สะท้อนจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง แต่ขณะเดียวกัน กลับล้มเหลวในเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ คือการเสริมสร้างความแข็งแรงของวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศ

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าจับตาว่า ในช่วงเวลาที่ การแข่งขันทางด้านวัฒนธรรมไม่ได้วัดกันที่วัฒนธรรมของใครเหนือกว่าใคร หากแต่อยู่ที่ การช่วงชิงความโดดเด่นผ่านการสร้างสรรค์ด้วยภาษาทางด้านวัฒนธรรมที่ไร้พรมแดน จึงเป็นที่น่าสนใจว่ารัฐบาลจีนปรับแนวทางในการเผยแพร่อำนาจอย่างอ่อนอย่างไร เพื่อให้ผลงานทางด้านวัฒนธรรมอย่างภาพยนตร์เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในต่างประเทศตามที่ตั้งใจไว้

อ้างอิง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า