SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่รายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยปี 2563 ส่วนบทสรุปผู้บริหาร ชี้สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประชาชนบางส่วนเข้าไม่ถึงสิทธิ ขณะสถานการณ์การชุมนุมตลอดปี 2563 “ในภาพรวมรัฐยังคงทำหน้าที่ดูแลการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนโดยไม่ได้แทรกแซงการใช้เสรีภาพดังกล่าว”

วันที่ 11 เมษายน 2564 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่ไฟล์บทสรุปผู้บริหารรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยปี 2563 ขนาดความยาว 8 หน้าผ่านเว็บไซต์ เนื้อหาครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะปี 2563 สิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองในประเทศไทยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนประเด็นสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล

โควิด-19 และการประท้วง : ประเด็นเฉพาะปี 2563

รายงานระบุว่า ‘สถานการณ์เฉพาะ’ ปี 2563 ได้แก่สถานการณ์โควิด-19 และการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน

ส่วนของสถานการณ์โควิด-19 กสม. ชี้ว่ามาตรการของรัฐ “บางมาตรการเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการ” เช่น การห้ามเดินทางข้ามเขตแดนจังหวัด การห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มหรือการชุมนุม เป็นต้น แต่ “มีความจำเป็นและได้สัดส่วน”

อย่างไรก็ดีการให้ความช่วยเหลือภาครัฐที่ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เป็นหลักทำให้ประชาชนบางส่วนเข้าไม่ถึงสิทธิ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้โควิด-19 ทวีความรุนแรงให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการเข้าถึงบริการสาธารณะสุขโดยเฉพาะเรื่องการยุติการตั้งครรภ์

ประเด็นการชุมนุมเรียกร้อง หน่วยงานอิสระด้านสิทธิมนุษยชนภาครัฐไทยระบุว่าพบการชุมนุมสองกรณีเป็นการกระทำ “เกินสมควรแก่เหตุ”

“มีการชุมนุมสองกรณีที่บริเวณแยกปทุมวันและหน้ารัฐสภาที่รัฐใช้มาตรการยุติการชุมนุมโดยการฉีดน้ำแรงดันสูง ซึ่งมีการผสมสารเคมีเข้าใส่ผู้ชุมนุม โดยเฉพาะการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่แยกปทุมวัน ซึ่งกสม. เห็นว่ายังไม่ปรากฎลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงจนถึงขั้นต้องใช้มาตรการสลายการชุมนุม”

อย่างไรก็ดี รายงานฯ ระบุต่อว่า “ในภาพรวมรัฐยังคงทำหน้าที่ดูแลการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนโดยไม่ได้แทรกแซงการใช้เสรีภาพดังกล่าว” เห็นได้จากในบางกรณีผู้จัดการชุมนุมไม่ได้แจ้งการชุมนุมตามกฎหมายแต่การชุมนุมยังคงเดินต่อไปได้

นอกจากนี้ระบุว่าการดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกับความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการประจำกติกา ICCPR โดย”รัฐได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้” และ “โดยทั่วไปผู้ชุมนุมได้รับการประกันตัว”

สถานการณ์สิทธิพลเมืองโดยรวมมีความคืบหน้า แต่ยังพบข้อกังวล

ด้านสถานการณ์สิทธิพลเมืองโดยทั่วไปในประเด็นต่าง ๆ พบว่ามีความคืบหน้า เช่นพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาณและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … กำลังเตรียมเข้าสู่การพิจาณาของสถานผู้แทนราษฎร มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.161/1 และ ม.165/2 เพื่อแก้ปัญหาการฟ้องนักสิทธิมนุษยชนเพื่อปิดปาก และสถิติใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มดีขึ้น

อย่างไรก็ดีพบช่องโหว่ตามจุดต่าง ๆ เช่น มีรายงานที่มีการ “กล่าวอ้าง(ใช้คำตามรายงาน)” ว่ามีการกระทำทรมาณโดยเจ้าหน้าที่รัฐ กฎหมายที่มีการแก้เพื่อแก้ปัญหาการฟ้องปิดปากมีประสิทธิภาพในกรณีเอกชนฟ้องกันแต่ใช้ได้ยากหากคู่กรณีเป็นรัฐ และประเด็นการตรวจ DNA ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดรวมถึงการระงับสัญญาณหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ปฏิเสธไม่ลงทะเบียนซิมการ์ดด้วยวิธีการตรวจสอบใบหน้า

นอกจาก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ช่วงต้นปี 2564 มีการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหลายฉบับ เช่น ฉบับของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และ รายงานคู่ขนานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษย UPR

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า