SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลแชร์ในโซเชียลฉีดวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวคแล้วภูมิไม่ขึ้น ชี้ชุดตรวจเร็วหลายชนิด (Rapid Test) อาจทำให้แปรผลผิด แนะการตรวจที่ถูกต้องด้วยวิธีเฉพาะ ได้มาตรฐาน

วันที่ 18 เม.ย.2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์กรแพทย์ กล่าวถึงจากกรณีที่มีการเผยแพร่ในทางโซเชียลมีเดียว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว มาตรวจหาเชื้อด้วย Rapid Test หรือ ชุดตรวจเร็วหาภูมิโควิด-19 แล้วผลปรากฎว่า ภูมิไม่ขึ้นเลย ต้องทำความเข้าใจว่า วิธีตรวจแบบนี้อาจแปรผลผิด ที่ไม่ขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก มันมีวิธีตรวจที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานมากกว่านี้ โดยมีการยกตัวอย่างของ นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับวัคซีนของซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว เข้ารับการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีการตรวจแอนตี้ต่อสไปรท์โปรตีนที่อยู่ในตัวโคโรนาไวรัส พบว่า มีภูมิคุ้มกันขึ้น

ทั้งนี้ วิธีตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ที่จะสามารถบอกจำนวนภูมิคุ้มกันว่า มีมากแค่ไหน เรียกว่า Plaque Reduction Neutrazation Test (PRNT) โดยมีการเจาะเลือด ปั่นแยกซีรั่ม เข้ามาในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 ที่มีเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ทำการเพาะเชื้ออยู่บนเพลท จากนั้นจะหยอดซีรั่ม และเจือจางลงเรื่อยๆ เป็นเท่าๆ จนกระทั่งถึงจุดที่สามารถทำลายเชื้อไปได้ครึ่งหนึ่ง และหยุด ซึ่งตรงนี้จะบอกได้ว่าภูมิคุ้มกันขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวอย่างของผมเองหลังรับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มเป็นเวลา 14 วัน แล้วตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นแล้ว

และเมื่อเทียบกับงานวิจัยของซิโนแวค ที่นำมายื่นขึ้นทะเบียนในไทย พบว่า เฉลี่ยขึ้นประมาณ 24 ไตเติล ส่วนของตนเองขึ้นไป 60-90 ไตเติล แม้กระทั่งสายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันยังขึ้นไป 40-50 ไตเติล

“ในกรณีของผมเองหลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นเวลา 14 วัน จึงมาตรวจหาภูมิคุ้มกันด้วยกระบวนการ PRNT พบว่า ตัวเลขที่ออกมาบอกว่า วัคซีนที่มีในตัวของผมสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมานั้นทำลายเชื้อดั้งเดิมที่มีการระบาดในไทยแรกๆ ที่มาจากอู่ฮั่นประเทศจีนได้ค่อนข้างดี พอเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์G ซึ่งระบาดทั่วโลกนั้นลดลงหน่อย แต่ยังใช้ได้อยู่ ขนาดมีการเจือจางไป 40 เท่า ยังจัดการได้ นี่คือการตรวจระยะเพียง 2 สัปดาห์หลังฉีดเท่านั้นภูมิยังขึ้นเยอะ หลังจากนี้ 1 เดือนผมจะตรวจแล้วมารายงานผลให้ทราบอีก นี่คือข้อยืนยันว่าวัคซีนซิโนแวคได้ผลในการทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้น”

นอกจากนี้ จะมีการสุ่มตรวจหาภูมิคุ้มกันในคนที่ได้รับวัคซีนคนอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ทราบว่าในคนไทยนั้นวัคซีนนี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหน

ทั้งนี้ ยังมีงานวิจัยที่ประเทศชิลี พบว่า หลังฉีดวัคซีนของซิโนแวคไป 14 วัน ภูมิคุ้มกันเพิ่มมา 47% พอทอดเวลาไปอีก 2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้นมา 95% ดังนั้นหลังรับวัคซีนไปแล้ว 1 เดือน สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างสูง และจะเห็นว่าเวลาจะตรวจภูมิต้องตรวจให้ถูกตัว คือตรวจสไปรท์โปรตีน ถ้าไปตรวจเปลือกหุ้มของสารพันธุ์กรรม เหมือนที่มีคนไปใช้ชุดตรวจเร็ว ภูมิก็ไม่ขึ้น ไม่ได้แปลผล ไม่ได้บอกอะไร ดังนั้น ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า สามารถฉีดวัคซีนและเกิดประโยชน์แน่นอน

อย่างไรก็ตาม นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า วันนี้มีคนพูดเรื่องสายพันธุ์อินเดียกลายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่ง คือ E484 กับ L452 ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่าเป็นตัวที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจำนวนมากในอินเดียหรือไม่ ทำให้อาการรุนแรงหรือไม่ และวัคซีนที่ใช้อยู่นั้นควบคุมได้หรือไม่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่สิงที่เราทราบว่ามีการระบาดรวดเร็วในอินเดียนั้นน่าจะเกิดจากการรวมกลุ่มและทำพิธีกรรมทางศาสนา มีการอาบน้ำในแม่น้ำ จึงเป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดระบาด

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไวรัสที่มีการกลายพันธุ์นั้นมี 6 ตัว คือ 1.สายพันธุ์อังกฤษ 2.สายพันธุ์แอฟริกาใต้ 3.สายพันธุ์บราซิล 4.สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย 5.สายพันธุ์ไนจีเรีย และ ล่าสุด 6.สายพันธุ์อินเดีย ซึ่งตัวนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการ มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดยังไม่พบสายพันธุ์ใดพบในประเทศไทย ยกเว้นสายพันธุ์อังกฤษที่ระบาดตอนนี้ แต่ก็ต้องจับตาใกล้ชิด ขอเวลากรมวิทยาศาสตร์เก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป และฝากให้ทุกคนช่วยกันระมัดระวัง ถ้ามีการติดเชื้อกว้างขวางโอกาสกลายพันธุ์ก็จะเยอะขึ้น เราไม่หวังให้มีสายพันธุ์ไทยแลนด์เกิดขึ้นแน่นอน”

ที่มา: https://web.facebook.com/fanmoph/videos/189774666158756

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า