SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.รายงานยอดผู้ป่วยโควิด-19 วันนี้อยู่ที่ 1,443 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 4 ราย จับตาผู้ป่วยอาการหนักเกือบ 300 คน ยืนยันมีเตียงเพียงพอสำหรับรักษาผู้ป่วย 

วันที่ 20 เม.ย.2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,443 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 1,441 ราย มาจากการตรวจในระบบเฝ้าระวังและบริการ 1,328 ราย จากการค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 113 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) 2 ราย เดนมาร์ก 1 ราย อินเดีย 1 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 45,185 คน ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 28,958 ราย ผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 16,119 ราย พบมีผู้ป่วยอาการหนัก 223 คน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 55 คน เสียชีวิตเพิ่ม 4 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 108 คน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผู้เสียชีวิต 4 ราย มีการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยก่อนหน้า และติดเชื้อจากการไปในสถานที่เสี่ยง โดยรายที่ 105 หญิงไทย อายุ 78 ปี อยู่กรุงเทพฯ เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง และไทรอยด์ ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 3 เม.ย.64 เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการเมื่อวันที่ 12 เม.ย.64 และเสียชีวิตวันที่ 17 เม.ย.64

รายที่ 106 ชายไทย อายุ 78 ปี อยู่กรุงเทพฯ อาชีพค้าขาย มีโรคประจำตัวเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 11 เม.ย.64 ไปตรวจและยืนยันพบเชื้อวันที่ 15 เม.ย.64 เสียชีวิตวันที่ 19 เม.ย.64

รายที่ 107 หญิงอินเดีย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีโรคประจำตัวไทรอยด์ พบเชื้อเมื่อวันที่ 18 เม.ย.64 และเสียชีวิตในวันเดียวกัน

รายที่ 108 ชายไทย อายุ 30 ปี มีภาวะโรคอ้วน มีประวัติไปสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 4 เม.ย.64 ไปตรวจและยืนยันพบเชื้อวันที่ 9 เม.ย.64 หลังจากนั้นมีอาการปอดอักเสบรุนแรง อาการแย่ลง และเสียชีวิตในวันที่ 19 เม.ย.64

ก่อนหน้านี้นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ผู้ติดโควิด 19 ทุกคนอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งให้โรงพยาบาลหรือแล็บเอกชนที่ตรวจพบประสานในเครือข่ายให้ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ทุกรายด้วย โดยขณะนี้ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร UHOSNET และเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน บริหารจัดการเตียงเพื่อให้มีเพียงพอกับจำนวนผู้ติดเชื้อ พร้อมเปิด 3 สายด่วนเพื่อประสานหาเตียง คือ 1330 1668 และ 1669 รวมถึง “สบายดีบอต”

ที่ผ่านมาการพบผู้ติดเชื้อยังไม่ได้นอนโรงพยาบาล ไม่ได้แปลว่าเตียงไม่พอ แต่เกิดจากแล็บเอกชนไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาล หรือการที่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งยังไม่มีการขยายเตียงเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ อีกทั้งการค้นหาเชิงรุกพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ต้องใช้เวลาในการประสานจัดหาเตียง

สำหรับการบริหารจัดการเตียงจะคัดกรองและแบ่งผู้ติดเชื้อออกเป็น 3 ระดับ คือ สีเขียวไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย อายุไม่มาก ไม่มีโรคร่วม หากมาจากการค้นหาเชิงรุกจะส่งดูแลใน รพ.สนาม หากมาจากการไปตรวจแล็บหรือโรงพยาบาลให้นำส่งเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) หรือรพ.สนาม ซึ่งทั้งสองส่วนดำเนินการตามมาตรฐานสถานพยาบาล มีการให้ปรอทวัดอุณหภูมิและเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อตรวจติดตามอาการทุกวัน หากมีอาการมากขึ้นจะส่งกลับเข้าโรงพยาบาลทันที ส่วนสีเหลืองและสีแดงที่มีอาการเพิ่มมากขึ้นจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด โดยศูนย์ส่งต่อ รพ.ราชวิถีจะเวียนส่งผู้ป่วยไปยัง รพ.สังกัดกรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และ รพ.เอกชน โดยทุกโรงพยาบาลสำรองเตียงไอซียู เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจมีอาการมากขึ้น

“ขณะนี้มีเตียงรวม 9 พันกว่าเตียง เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้วที่มี 7 พันกว่าเตียง โรงพยาบาลทุกสังกัดมีการเบ่งเตียงเพิ่มขึ้น กทม.ก็ขยายรพ.สนาม ส่วนรถรับส่งผู้ติดเชื้อทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการให้มีรถมากขึ้น ขณะนี้มี 50 คันจาก 3 บริษัทดูแลใน กทม. และจะเพิ่มเป็น 100 คันทั่วประเทศ คาดว่าภายใน1-2 วันจะแก้ไขปัญหานี้ได้ สำหรับแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้าน เป็นเพียงการเตรียมความพร้อมไม่ได้นำไปใช้จริงในช่วงนี้ เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นนั้น ยังนำผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการรักษาได้” นพ.สมศักดิ์กล่าว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า