SHARE

คัดลอกแล้ว

จากรายงานการฉีดวัคซีนในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตลอดช่วงที่ผ่านมาพบปัญหาเรื่องอาการข้างเคียงหลังการฉีด โดยเฉพาะวัคซีน Coronavac ของ บริษัท Sinovac Biotech จนทำให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ที่ต้องเข้ารับการฉีดอยู่ไม่น้อย อย่างกรณีล่าสุดเกิดขึ้นที่ จ.ลำปาง และ จ.ระยอง ที่มีอาการคล้ายกับอัมพฤกษ์ชั่วคราว ที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ว่ามาจากวัคซีนหรือไม่ แต่ด้วยขอจำกัดวัคซีนที่ประเทศไทยที่เวลานี้มีอยู่เพียง 2 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค และ แอสตราเซเนกา ทำให้เราอาจมีตัวเลือกไม่มากนัก workpointTODAY จึงรวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนมาให้

วัคซีน Coronavac เป็นวัคซีนเชื้อตายเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ฉีดจำนวน 2 โดส ระยะเวลาห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ อายุผู้ฉีดคือ 18-59 ปี ราคา 13.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส หรือ ประมาณ 426 บาทต่อโดส ประเทศที่นำวัคซีนนี้ไปฉีดให้กับประชาชนแล้ว ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บราซิล ชิลี จีน ฮ่องกง โคลอมเบีย เม็กซิโก ตุรกี อุรุกวัย ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียฟิลิปปินส์ และไทย โดยล่าสุดไทยนำเข้ามา 2 ล้านโดส จะมาถึงอีก 5 แสนโดส ในวันที่ 24 เมษายนนี้ และมีแผนนำเข้าเพิ่มในเดือนพฤษภาคมอีก 1 ล้านโดส

ประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สายพันธุ์ดั้งเดิม SARS-CoV-2

ผลทดสอบจาก WHO อยู่ที่ 49.6%

ผลทดสอบในบราซิล โดยสถาบัน Butantan อยู่ที่ 50.4%

ผลการทดสอบในอินโดนีเซีย โดย บริษัทยาของรัฐ Bio Farma อยู่ที่ 65.3%

  • สายพันธุ์ B.1.1.7 จากอังกฤษ พบว่า ประสิทธิภาพลดลง
  • สายพันธุ์ B.1351 จากแอฟริกาใต้ พบว่า ประสิทธิภาพลดลง
  • สายพันธุ์ P.1 จากบราซิล พบว่า ประสิทธิภาพลดลง

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในไทย ในไทย มีผลการศึกษาจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ ในกลุ่มตัวอย่าง 197 ราย ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% หลังฉีดโดสที่ 2 มาแล้ว 4 สัปดาห์

ผลข้างเคียงจากการฉีด Sinovac

บางราย มีอาการ ปวด บวม คัน ผื่นแดง บวมแข็ง ในบริเวณที่ฉีด

ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร เจ็บคอ น้ำมูกไหล เยื่อบุผิดปกติ

สำหรับผลข้างเคียงที่พบในไทย

กรณีล่าสุด จ.ระยอง ผู้ได้รับวัคซีน 6 ราย มีอาการชา คล้ายอัมพฤกษ์ หลังฉีดวัคซีน 30 นาที จากวัคซีนล็อต No.J202103001 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า อาการที่เกิดขึ้นคล้ายกับโรคระบบทางระบบประสาท คือ มีอาการชาครึ่งซีก บางรายมีอาการแขนขาอ่อนแรง แต่อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนมั่นใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ขณะที่ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยความเห็นของคณะทำงานว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน เพราะเกิดหลังจากฉีด 5-10 นาที แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร และเห็นควรใช้วัคซีนล็อตนี้ต่อไปได้ เพราะมีประโยชน์มากกว่าอาการข้างเคียง ส่วน ที่ จ.ลำปาง ผู้ได้รับวัคซีน 1 ราย หญิงอายุ 46 ปี มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อาเจียน พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พบหลอดเลือดสมองหดตัว หลังฉีด 15 นาที จากการฉีดวัคซีนล็อต No.J202103002 โดยยังไม่มีการสั่งระงับการฉีดแต่อย่างใด

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดซิโนแวค ว่าเหตุที่ทำให้ผู้ที่ฉีดบางรายมีอาการคล้ายอัมพฤกษ์หลังฉีด อาการไม่น่าเกิดจากตัววัคซีน อาจมาจากมีสิ่งปนเปื้อนลงไปในขวดวัคซีนระหว่างเตรียมหรือบรรจุภัณฑ์

ถ้าต้องฉีด Sinovac ควรทำอย่างไร
ก่อนฉีด

– หากมีไข้เกิน 38 องศา รอให้เบาลงก่อนอย่างน้อย 2 วัน

– กรณีมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง กำลังรับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือยาชนิดอื่นๆ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน

– ไม่ควรกินยาแก้ไข้ หรือ แก้ปวด ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

หลังฉีด

– ควรสังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 15-30 นาที

– หากมีผลข้างเคียง เช่น มีมลพิษ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำๆ หลังจากได้รับวัคซีนครึ่งชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้ขึ้นสูงมาก ควรกลับมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ

– หลังจากรับการฉีดวัคซีนแล้ว 3 วัน โอกาสแพ้และผลข้างเคียงจากวัคซีนจะพบน้อยมาก หรือน้อยกว่า 1 ในล้าน

– สังเกตอาการต่อไปเรื่อยๆ จนครบ 60 วัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า