SHARE

คัดลอกแล้ว
หน่วยงานเพื่อสันติภาพกะเหรี่ยงหวั่นอาจมีชาวกะเหรี่ยงอพยพเข้าไทยมากกว่า 8,000 คน เพื่อหนีภัยเหตุปะทะในเมียนมา ขณะที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติวิตก ชาวเมียนมาเกือบครึ่งประเทศอาจตกอยู่ในภาวะยากจนภายในปีหน้า
วันที่ 30 เมษายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานอ้างการเปิดเผยของเครือข่ายสนับสนุนสันติภาพกะเหรี่ยง (The Karen Peace Support Network) ที่คาดการณ์ว่า ภายในช่วง 2-3 วันนับจากนี้ อาจมีชาวกะเหรี่ยงอพยพหนีภัยความรุนแรงเข้าประเทศไทยมากกว่า 8,000 คน พร้อมร้องขอให้กองทัพไทยเข้าช่วยเหลือหากมีชาวกะเหรี่ยงอพยพหนีภัยสงคราม
การออกมาเปิดเผยครั้งนี้เกิดขึ้น หลังจากตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานการปะทะระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองทัพเมียนมา โดยเฉพาะหลังจากที่กองกำลังกะเหรี่ยงเข้าโจมตีฐานทัพเมียนมา ใกล้กับชายแดนไทยเมื่อวันอังคาร (27 เม.ย.) จนมีทหารเมียนมาเสียชีวิต 13 นาย และทหารกะเหรี่ยงเสียชีวิต 3 นาย
รายงานระบุว่า หลังเหตุดังกล่าว กองทัพเมียนมาได้เปิดปฏิบัติการทางอากาศโจมตีฐานที่มั่นของกะเหรี่ยง ใกล้กับชายแดนไทยหลายครั้ง
ก่อนหน้านี้นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า หากเกิดกรณีผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมา หลบหนีข้ามฝั่งมายังฝั่งไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ โดยจะดำเนินการนำผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาพักรอในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว (พื้นที่แรกรับ) ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของทางทหาร โดยจะมีการคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานทางสาธารณสุข
และหากการสู้รบมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ได้เตรียมแผนเคลื่อนย้ายผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมา เข้าไปพักรอในพื้นที่พักรอที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งห่างจากชายแดน ประมาณ 1 กิโลเมตร โดยจะดูแลตามหลักมนุษยธรรม (อาหาร น้ำ และยารักษาโรค) และมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรการกุศลเอกชนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนช่วยเหลือต่อไป
ขณะที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ออกรายงานเตือนสถานการณ์ในเมียนมาวันนี้ (30 เม.ย.) ว่า ชาวเมียนมาอาจตกอยู่ในภาวะยากจนมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด ภายในปี 2565 เนื่่องจากต้องเผชิญกับวิกฤติซ้ำซ้อน ทั้งการระบาดของโรคโควิด-19 และสถานการณ์การเมืองหลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหาร ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า