SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย กรมการแพทย์ คิดวิธีแก้ไขปัญหาผลป่วยตกค้าง บางครั้งเกิดจากหน่วยงานเอกชน ล่าสุด มีการปรับให้ผู้ติดเชื้อจากระบบตรวจแล็บเอกชนเข้าสู่การรักษาใน รพ. ได้ทันที โดยผ่านการประสานงานสายด่วน 1668

วันที่ 3 พ.ค. 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงประเด็นการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 และการบริหารจัดการเตียงรับผู้ป่วยแต่ละระดับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ตามหลักการ หากโรงพยาบาลใด ตรวจพบผู้ติดเชื้อ ก็จำเป็นที่จะต้องรับเข้าสู่การรักษา แต่ในการระบาดที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และผู้กังวลว่า จะติดเชื้อจำนวนมากเข้าไปรับบริการในห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ที่ได้รับมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

“แต่ข้อจำกัดคือ แล็บไม่มี รพ. รับส่งต่อผู้ติดเชื้อเพื่อรักษาได้ เราจึงมีนโยบายจับคู่แล็บตรวจ และ รพ.ทั้งในสังกัดรัฐและเอกชน แต่เมื่อพบผู้ติดเชื้อมากขึ้นก็ทำให้เตียงหนาแน่น ดังนั้น กรมการแพทย์จึงแก้ไขปัญหา จากเดิมที่ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ไปทำความเข้าใจกับ รพ.เอกชน ว่า เมื่อตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้วจะต้องแจ้งไปที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ในทุกกรณีเป็นรายวัน ส่วนผู้ที่ผลเป็นลบก็ให้เฝ้าระวังตัวต่อ”

ล่าสุด กรมการแพทย์ ได้คิดวิธีแก้ไข เพื่อให้ผู้ติดเชื้อจากระบบตรวจแล็บเอกชนเข้าสู่การรักษาใน รพ. และผ่านการประสานงานจากสายด่วน 1668 อย่างเป็นระบบมากขึ้น เพราะการตรวจจำนวนมากเป็นประโยชน์ในการค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นในการตรวจเชิงรุกตามสถานการณ์

“โดยกรมการแพทย์ ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการแล็บเอกชนทั้งหมด เพื่อทำความเข้าใจและมีข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งกรมการแพทย์ จะจับคู่แล็บที่ได้รับรองจากกรมวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งหมดในกรุงเทพฯ เมื่อตรวจพบผู้ป่วยก็ให้ส่งข้อมูลไปที่ สปคม. ตามกฎหมาย แต่ต้องเพิ่ม คือ ส่งข้อมูลไปยังสายด่วน 1668 เพื่อให้กรมการแพทย์ติดต่อหาเตียงให้ผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเหมือนกังวลว่าจะมีการระบาดในชุมชน”

นายสาธิต กล่าวว่า สายด่วน กรมการแพทย์ 1668 ในขณะนี้ ได้ปรับโฉมใหม่ ซึ่งให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยทำงานคอลเซ็นเตอร์หน้าบ้าน รับสาย เพื่อนำข้อมูลส่งต่อไปยังบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่หลังบ้าน ทำการแนะนำประชาชน เพื่อให้เกิดการจัดการเตียงให้เร็วที่สุด ดังนั้น สายด่วนที่เกิดขึ้นคือ ตรวจจากแล็บแล้ว แต่ต้องกลับไปนอนที่บ้านหรือต้องไปรอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงแพร่ระบาดในชุมชนได้ ดังนั้น แล็บที่ตรวจพบผู้ป่วยแล้วต้องแจ้ง 2 แห่ง คือ สปคม. และ สายด่วนกรมการแพทย์ 1668 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเตียง ลดเวลาให้มากขึ้น โดยใช้ รพ.ในสังกัดกรมการแพทย์เข้าไปจัดการ นำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาเร็วที่สุด ไม่ให้เกิดความกังวลว่าจะมีการระบาดในชุมชน

และขณะนี้ สายด่วน กรมการแพทย์ 1668 ได้ปรับโฉมใหม่ ซึ่งให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยทำงานคอลเซ็นเตอร์หน้าบ้าน รับสายเพื่อนำข้อมูลส่งต่อไปยังบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่หลังบ้าน ทำการแนะนำประชาชนเพื่อให้เกิดการจัดการเตียงให้เร็วที่สุด ดังนั้น สายด่วน 1668 ก็จะเป็นวันสต๊อปเซอร์วิส (One Stop Service) ในส่วนนี้และให้เกิดข้อบกพร่องน้อยที่สุด

“ขอย้ำว่า การจัดการโควิด-19 การรักษา คือ ปลายทาง มาตรการ คือ ต้นทาง แต่ต้นทางที่สำคัญสุด คือ ความร่วมมือจากประชาชน เราต้องป้องกันตัวเองตามมาตรการของ สธ. โดยเฉพาะการระบาดในครอบครัว ที่มีการไปมาหาสู่กัน รับประทานอาหารร่วมกัน ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เรามีความจำเป็นที่ต้องป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า