SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผย ติดโควิด-19 เพิ่ม 1,763 ราย เสียชีวิตอีก 27 ราย แจงยาฟาวิพิราเวียร์เพียงพอ 12 พ.ค. 64 ส่งมาจากญี่ปุ่นอีก 2 ล้านเม็ด ชี้ถ้าจัดการพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ เท่ากับบริหารจัดการได้เกินครึ่งของประเทศ

วันที่ 4 พ.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,763 ราย แบ่งเป็น 1,750 ราย มาจากผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังและบริการ 1,519 ราย และจากการคัดกรองเชิงรุก 231 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 13 ราย ซึ่งมาจากอินเดีย 1 ราย ไนจีเรีย 1 ราย อียิปต์ 3 ราย อิตาลี 1 ราย ปากีสถาน 2 ราย ซูดาน 1 ราย มาเลเซีย 4 ราย โดยยอดสะสมผู้ติดเชื้อรวม 72,788 ราย มีผู้ป่วยที่รักษาหายเพิ่ม 1,490 ราย ทำให้ยอมรวมผู้ที่รักษาหายแล้ว 42,474 ราย  มีผู้ที่รักษาตัว 30,011 ราย แบ่งเป็นการรักษาในโรงพยาบาล 21,453 ราย  ในโรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 8,550 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ที่รักษาตัวนั้น มีผู้ที่มีอาการรุนแรงจำนวน 1,009 ราย และผู้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีก 311 ราย  นอกจากนี้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย ทำให้มียอดสะสม 303 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกนั้น พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 669,689 ราย ทำให้มียอดสะสมของผู้ป่วย จำนวน 154,178,244 ราย ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 10,478 ราย จึงมีรวมสะสม 3,226,875 ราย  ส่วนอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด คือ 1.สหรัฐอเมริกา 33,230,561 ราย 2.อินเดีย 20,275,543 ราย 3.บราซิล 14,791,434 ราย 4.ฝรั่งเศส 5,656,007 ราย 5.ตุรกี 4,900,121 ราย ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 99 จำนวน 72,788 ราย เนื่องจากมีผู้ป่วยสะสมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศอินเดียพบรายใหม่ 355,828 ราย สะสม 20,275,543 รายนั้น มีการวิเคราะห์กันว่าตัวเลขจริงอาจมากกว่านี้หลายเท่า ขณะที่ประเทศรอบบ้านของไทย อาทิ อินโดนีเซีย มีผู้ป่วยรายใหม่ 4,730 ราย ฟิลิปปินส์ 7,255 ราย มาเลเซีย 2,500 ราย เมียนมา 4 ราย จีน 11 ราย สิงคโปร์ 17 ราย กัมพูชา 841 ราย เวียดนาม 19 ราย และลาว 33 ราย ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการหนักในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากผู้ป่วย 1 รายต้องเข้านอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 10 วัน โดยอาการที่หนักขึ้นนั้นพบในวันหลังๆ ซึ่งผู้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 311 ราย คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนักทั้งหมด และพบกระจายใน 49 จังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-3 พ.ค. 2564 นั้น ยอดสะสมอยู่ที่ 1,498,617 ราย แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 1 จำนวน 1,106,071 ราย และผู้ที่ได้รับเข็มที่ 2 อีก 392,546 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้เสียชีวิตรายใหม่ 27 ราย แยกเป็นเพศชาย 21 ราย เพศหญิง 6 ราย อายุเฉลี่ย 25-92 ปี พบในกรุงเทพฯ 8 ราย นนทบุรี 5 ราย ลำพูน 2 ราย สมุทรปราการ 2 ราย และชลบุรี อุบลราชธานี ปทุมธานี นครปฐม บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กำแพงเพชร ชัยนาท และน่าน จังหวัดละ 1 ราย  โดยโรคประจำตัวในตัวผู้เสียชีวิต แบ่งเป็น ความดันโลหิตสูง 12 ราย เบาหวาน 9 ราย โรคหัวใจ 6 ราย ไขมันในเลือดสูง 3 ราย ไทรอยด์ 1 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 1 ราย โรคอ้วน 5 ราย มะเร็ง 2 ราย โรคปอดเรื้อรัง 2 ราย โรคไตเรื้อรัง 6 ราย และยังไม่พบโรคประจำตัว 5 ราย ขณะที่ประวัติเสี่ยง แบ่งเป็นใกล้ชิดคนในครอบครัวที่ติดเชื้อ 9 ราย ใกล้ชิดเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน 2 ราย สัมผัสผู้ติดเชื้อ 9 ราย พนักงานสถานบันเทิง 1 ราย สถานที่เสี่ยงหรือตลาด 4 ราย และไม่ทราบอีก 2 ราย ส่วนจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ 562 ราย สมุทรปราการ 201 ราย นนทบุรี 168 ราย ชลบุรี 91 ราย สมุทรสาคร 55 ราย นครปฐม 50 ราย เชียงใหม่ 41 ราย กระบี่ 38 ราย ระนอง 37 ราย และสุราษฎร์ธานี 35 ราย ถ้ามองความชุกจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากกว่า 100 รายพบว่า มี 3 จังหวัดซึ่งจะต้องนำข้อมูลมาบริหารจัดการ จำกัดเฉพาะที่ ให้ยาเฉพาะจุด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สรุปคือ แนวโน้มทรงตัว แต่ยังไว้ใจไม่ได้ เพราะต่างจังหวัดส่วนใหญ่ควบคุมได้ ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า การประชุมศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) และการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) พิจารณาเรื่องของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งข้อมูลล่าสุดพบว่าเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2564 กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนผู้ป่วยรวมกัน 956 ราย ส่วนอีก 73 จังหวัดที่เหลือมีผู้ป่วยรวมจำนวน 794 ราย ขอเน้นย้ำว่า ถ้าเราสามารถจัดการพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ ก็เท่ากับสามารถบริหารจัดการได้เกินครึ่งของประเทศ ส่วนที่ยังมีความกังวลกันว่า ยาฟาวิพิราเวียร์จะมีเพียงพอหรือไม่นั้น ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2564 มียาคงเหลือในคลัง 1,621,631เม็ด ซึ่งอยู่ในคลังขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) กว่า 1 ล้านเม็ด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอีก 200,000 แสนกว่าเม็ด ซึ่งหมายถึงการบริหารในส่วนจังหวัด กรมการแพทย์อีก 170,000 เม็ด กรมควบคุมโรค 48,000 เม็ด นอกจากนี้ จะมีการสั่งมาจากประเทศญี่ปุ่นอีก 2 ล้านเม็ด ซึ่งจะมาถึงภายในวันที่ 12 พ.ค. 2564 เป็นความมั่นคงทางยาที่ภาครัฐต้องเตรียมไว้ให้ ขณะเดียวกัน กรณีของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้จัดสรรไปแล้ว 2.5 ล้านโดส จากวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า