Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ ร.อ.ธรรมนัส ไม่ขาดคุณสมบัติความเป็น รมต. และ ส.ส. ชี้พิพากษาของศาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ไม่ถือเป็นคำพิพากษาของศาลไทย

Thailand’s Deputy Agriculture Minister Thammanat Prompao gestures at Government House before the swearing-in ceremony of the new Thai cabinet in Bangkok on July 16, 2019. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

วันที่ 5 พ.ค. 2564 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของ ร.อ.ธรรมนัส พรมเผ่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) และความเป็นรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส พรมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (10) หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญ ว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน และกำหนดประเด็นวินิจฉัย คือ 1.สมาชิกภาพ ส.ส. สิ้นสุดลงหรือไม่ นับแต่เมื่อใด 2. ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว หรือไม่ นับแต่เมื่อใด โดยศาลเห็นว่า ก่อนสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ร.อ.ธรรมนัส รับว่าเคยต้องคำพิพากษา ว่ากระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาลแขวงนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งมีข้อที่ต้องพิจารณาว่าข้อที่ว่าเคยต้องคำพิพากษา หมายความถึงความพิพากษาของศาลไทยเท่านั้นหรือไม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ระบุถึงอำนาจอธิปไต ซึ่งหมายถึงอำนาจอธิปไตยคือมีความเด็ดขาดสมบูรรณ์ ไม่อยู่ในอาณัติของรัฐอื่น การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ย่อมไม่ตกอยู่ในอาณัติหรืออำนาจของตุลาการรัฐอื่น ดังนั้นการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ การตีความคำพิพากษาของศาลต่างประเทศให้มีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาศาลไทยจึงไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว เพราะตามหลักอธิปไตยของรัฐ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ คำพิพากษารัฐใดก็จะมีผลในรัฐนั้น

หากตีความว่าเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด หมายรวมถึงคำพิพากษาของศาลต่างประเทศด้วย ทำให้ไม่อาจกลั่นกรอง หรือตรวจสอบความชอบด้วยหลักนิติธรรมของกระบวนการพิจารณาของศาลต่างประเทศ และขัดกับหลักการต่างตอบแทน คือศาลต่างประเทศไม่ต้องบังคับหรือยอมรับคำพิพากษาของศาลไทย ทำให้อำนาจอธิปไตยทางศาลของไทยถูกกระทบกระเทือนอย่างมีนัยยะสำคัญ

แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร.อ.ธรรมนัส เคยต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก่อนสมัครเลือกตั้ง ส.ส. แต่ไม่ใช่คำพิพากษาของศาลไทย ร.อ.ธรรมนัส จึงไม่เป็นลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(10) สมาชิกภาพ ส.ส.ไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) และความเป็นรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (10)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

สรุปให้เข้าใจง่าย คดี ‘มันคือแป้ง’ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า