SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผย ไทยเสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มอีก 31 ราย เล็งหารือแบ่งวัคซีนให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร-ขยายกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีน วอนอย่าเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนของประเทศอื่น

วันที่ 11 พ.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 611,096 ราย สะสม 159,596,606 ราย ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 10,586 ราย สะสม 3,317,492 ราย ส่วนประเทศไทยยังอยู่ลำดับที่ 99 วันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,919 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 1,902 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 17 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 86,924 ราย หายป่วยแล้ว 57,037 ราย ขณะที่มีผู้เสียเสียชีวิตเพิ่ม 31 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 452 ราย โดยยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 29,435 ราย อาหารหนัก 1,207 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 390 ราย ขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มแรกสะสม 1,365,992 คน เข็มที่ 2 สะสม 532,462 คน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้เสียชีวิต 31 รายนั้น เป็นชาย 15 ราย และหญิง 16 ราย อายุต่ำสุด 34 ปี และสูงสุด 94 ปี  โดยอยู่ในกรุงเทพฯ 17 ราย นนทบุรี, สุพรรณบุรี, ชลบุรี และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 2 ราย นครปฐม, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, ลำปาง, เชียงใหม่ และพิจิตร จังหวัดละ 1 ราย ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงยังอยู่ในกลุ่มเดิมคือ ผู้มีโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, หัวใจ, หลอดเลือดสมอง และภาวะอ้วน จากการวิเคราะห์ผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-10 พ.ค. 2564 ถึงองค์ประกอบการเสียชีวิตนั้นพบว่า ผู้เสียชีวิตที่มีโรคประจำตัว 86% ไม่มีโรคประจำตัว 14% ดังนั้นผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรคควรจะต้องได้รับวัคซีนก่อน ซึ่งการรับวัคซีนนั้นจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงอย่างชัดเจน ที่ป่วยก็จะป่วยน้อย และลดอัตราการเสียชีวิตได้

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ส่วนคนที่กลับมาจากต่างประเทศ 17 รายนั้น เป็นผู้เดินทางมาจากอินเดีย 11 ราย ปากีสถาน 1 ราย ฟิลิปปินส์ 1 ราย แอฟริกา 1 ราย และกัมพูชา 3 ราย อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ติดเชื้อเดินทางมาจากอินเดียนั้น ทุกคนเป็นคนสัญชาติไทย เราไม่ได้ให้คนต่างชาติเข้ามาแต่อย่างใด คนไทยที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะไปแบบถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ไม่ต้องลักลอบเข้าประเทศ ขอให้กลับมาอย่างถูกกฎหมาย เราจะดูแลอย่างดี

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า วันนี้จังหวัดที่ไม่มีผู้ติดเชื้อ 17 จังหวัด โดยจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด 10 อันดับคือ  1.กรุงเทพฯ 20,429 ราย 2.เชียงใหม่ 3,904 ราย 3.นนทบุรี 3,769 ราย 4.ชลบุรี 3,432 ราย 5.สมุทรปราการ 3,310 ราย 6.สมุทรสาคร 1,591 ราย 7.ปทุมธานี 1,448 ราย 8.ประจวบคีรีขันธ์ 1,323 ราย 9.สุราษฎร์ธานี 1,203 ราย และ10.สงขลา 862 ราย ทั้งนี้ ยอดผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยอาการหนักส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งสถานการณ์ในกรุงเทพฯ มี 13 เขตที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ต้องลงไปทำงานอย่างเข้มข้นคือ คลองเตย, ป้อมปราบศัตรูพ่าย, จตุจักร, ปทุมวัน, ดินแดง, วัฒนา, ลาดพร้าว, ราชเทวี, พระนคร, สวนหลวง, ดุสิต, สัมพันธวงศ์ และสาทร

ผู้สื่อข่าวถามว่า วันที่ 14 พ.ค. 2564 ซึ่งจะครบการบังคับใช้มาตรการ มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ ศบค.จะมีการผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับร้านอาหาร นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เลขาฯ ศบค.ได้รับนโยบายมาจากนายกฯ ว่า เห็นถึงความสำคัญของคนประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้า ซึ่งมีการพูดคุยกันกับสมาคมภัตตาคารไทย มีการวิเคราะห์เรื่องมาตรการผ่อนคลายหากสถานการณ์ดีขึ้น รวมทั้งการที่ร้านอาหารมีมาตรการในการดูแลลูกค้า ซึ่งขอให้ผู้ประกอบการทำมา และให้กระทรวงสาธารณสุขดูว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้หรือไม่ หากสร้างความมั่นใจได้ก็จะมีการผ่อนคลายโดยเร็ว

“สมาคมภัตตาคารไทยขอวัคซีนให้ผู้ประกอบการร้านอาหารว่าจะได้หรือไม่ เพื่อให้คนซื้อและคนขายสบายใจ ซึ่งเลขาฯ สมช.เห็นว่า ในเมื่อการประกอบการร้านอาหารใกล้ชิดกับสินค้าที่ต้องนำไปบริโภค จึงได้ให้ ศบค.มท. ดำเนินการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปดูแต่ละจังหวัดว่า เหมาะหรือไม่ที่จะแบ่งวัคซีนที่ได้รับโควตาส่วนหนึ่งให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารด้วย” โฆษก ศบค.กล่าว

ส่วนการเฝ้าระวังสูงสุดโควิดสายพันธุ์อินเดียนั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. และที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาให้ความสำคัญกับการมอนิเตอร์สายพันธุ์อินเดียว่า จะต้องมีการตรวจเป็นระยะๆ และกลุ่มที่ต้องสงสัยต้องได้รับการดูแลโดยการตรวจจีโนม มีแล็บของมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยดูแลด้านนี้อยู่ ส่วนข้าราชการไทยที่อยู่ในสถานทูตอินเดียนั้นก็มีสิทธิกลับมาประเทศไทย และเมื่อพบว่าติดเชื้อเราก็ต้องดูแล ส่วนจะเป็นสายพันธุ์ไหนนั้นต้องรอการตรวจต่อไป ทั้งนี้ ยืนยันว่า ทุกมาตรการคณะกรรมการชุดต่างๆ คิดกันล่วงหน้าหลายสเต็ป เพื่อช่วยปกป้องประชาชนให้ได้มากที่สุด และยืนยันว่า การเข้ามาแบบปกตินั้นเราทำกันเต็มที่ แต่ก็ยังมีช่องทางลักลอบเข้ามาในประเทศ

สำหรับแผนการฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงนั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการวัคซีน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเรื่องการขยายกลุ่มเป้าหมาย คงจะมีข่าวดีเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้คนที่ต้องการรับวัคซีนแต่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และ 7 โรคกลุ่มเสี่ยงนั้น คงมีโอกาสเร็วๆ นี้ ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้านั้น การผลิตและคุณภาพเป็นไปตามแผนด้วยดี ส่วนวันเวลาฉีดวัคซีนจะเร็วหรือช้ากว่าแผนหรือไม่นั้นตนไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ แต่ทุกภาคส่วนมีการติดตามเร่งรัดและอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีขั้นตอนในการตรวจสอบมาตรฐานขั้นสูงที่สุด รวมทั้งมาตรฐานการฉีดวัคซีนที่ทำอย่างเต็มที่ จึงไม่อยากให้เปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนของประเทศอื่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า