SHARE

คัดลอกแล้ว

นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ปี 2021 คริปโทเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิทัล ก็กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและทวีความนิยมขึ้นอย่างต่อเนื่อง จริงๆ แล้ว ‘คริปโทเคอร์เรนซี่’ คืออะไร

TODAYBizview ชวนมาทำความรู้จักเหรียญดิจิทัลเปลี่ยนโลกกันตั้งแต่พื้นฐานจนถึงโลกอนาคตใน ‘Cryptocurrency the series’ เริ่มต้นจากพื้นฐานอย่าง ‘คริปโทเคอร์เรนซี่ 101’

คริปโทเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) หรือตามที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า ‘สกุลเงินเข้ารหัส’ เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการเข้ารหัส มีราคากลางซื้อขายแปรผันตามกลไกตลาด จึงสามารถเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนคุณค่าได้เหมือนกับสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นๆ เพียงแต่ไม่มีลักษณะทางกายภาพหรือสามารถ ‘จับต้องได้’ เหมือนกับสกุลเงินทั่วไป

โดยคริปโทฯ นั้นนิยมเรียกกันติดปากว่า ‘เหรียญ’ ที่มาจากเหรียญดิจิทัล เดิมนิยมใช้เป็นสื่อกลางในหมู่นักคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันเนื่องจากปริมาณความต้องการมีมากขึ้น ขณะที่จำนวนเหรียญในแต่ละสกุลเงินนั้นมีจำกัด จึงทำให้เกิดธุรกิจแลกเปลี่ยนเหรียญเพื่อเก็งกำไรบนเว็บไซต์เทรด

วิธีการทำงานของคริปโทเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) นั้นแตกต่างจากสกุลเงินปกติตรงที่จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือจัดการโดยหน่วยงานทางการเงินหรือควบคุมปริมาณเงินโดยรัฐบาลใดๆ แต่จะเป็นการทำงานบนระบบที่เรียกว่า ‘บล็อกเชน’ (Blockchain) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีกระจายศูนย์ที่สามารถควบคุมตัวมันเองได้

หลักการพื้นฐาน คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลในแต่ละชุดหรือในแต่ละ ‘บล็อก’ ตัวระบบบล็อกเชนจะมีการส่งสัญญาณหากันในเครือข่าย เพื่อให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้และรับรองความต้องถูกต้องของธุรกรรมหรือข้อมูลชุดดังกล่าว ทำให้ข้อมูลหรือธุรกรรมไม่สามารถถูกบิดเบือนและไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของใครคนใดคนหนึ่ง

ปัจจุบัน สกุลเงินดิจิทัลมีจำนวนมากกว่า 10,000 สกุลเงิน และมีมูลค่าตลาดรวมทั้งหมดมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยมี ‘บิตคอยน์’ (Bitcoin) เป็นสกุลเงินแรกของโลกและเป็นสกุลเงินยอดนิยมที่สุดไปพร้อมกัน

‘บิตคอยน์’ มีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดคริปโทฯ ทั้งหมดบนโลกใบนี้ และยังเคยมีราคาพุ่งสูงถึง 2 ล้านบาทต่อ 1 เหรียญ

นอกจากบิตคอนน์แล้วก็ยังมีอีกหลายเหรียญที่ได้รับความนิยมรองลงมา ไม่ว่าจะเป็นอีเทอเรียม เอ็กซ์อาร์พี ด็อกคอยน์ และอื่นๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม คริปโทฯ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงมาก เฉลี่ยราว 100-200% เมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นไทยที่มีความผันผวนเฉลี่ย 10-20% ดังนั้น ในการลงทุนคริปโทจำเป็นจะต้องพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง

ในไทยเองมี ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนคริปโทฯ ในไทย ส่วนเว็บไซต์เทรดเพื่อเก็งกำไรในคริปโทฯ ก็มีหลากหลาย ทั้งสัญชาติไทยอย่าง Bitkub หรือ Satang Pro หรือเว็บต่างชาติอย่าง Binance, Zipmex หรือ Huobi

ปัจจุบันจากการสำรวจโดย Statista Global Consumer Survey พบว่า ชาว ‘ไนจีเรีย’ ถือครองคริปโทฯ มากที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วน 32% หรือ 1 ใน 3 ของประชากรที่ใช้สกุลเงินดิจิทัล โดยรองลงมาคือ ‘เวียดนาม’ และ ‘ฟิลิปปินส์’ โดยสาเหตุมาจากประชากรจำนวนมากในประเทศกลุ่มนี้ออกไปทำงานต่างแดนและเลือกส่งเงินกลับบ้านด้วยสกุลเงินดิจิทัล

เตรียมพบกับเรื่องราวอื่นๆ ของ ‘คริปโทเคอร์เรนซี่’ อย่างรอบด้านหลากหลายใน ‘Cryptocurrency the series’ โดย TODAYBizview by workpointTODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า