Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส เผยโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 แพร่กระจายได้ง่าย จะง่ายเท่าสายพันธุ์อังกฤษหรือมากกว่ายังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน แต่สายพันธุ์นี้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ “วัคซีนที่เราใช้อยู่นี้ น่าจะป้องกันได้”

วันที่ 22 พ.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า เป็นข่าวใหญ่ที่พบสายพันธุ์อินเดียระบาดในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกพบสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จากผู้เดินทางมาจากอินเดีย 8 คน ในสถานกักกัน ซึ่งจะไม่มีผลต่อการระบาดในประเทศไทย

“เมื่อมีการพบสายพันธุ์อินเดียในประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนที่จะสร้างปัญหาใหญ่โต” ศ.น.ยง ภู่วรวรรณ ระบุ

โควิด-19 สายพันธุ์ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอินเดีย ประกอบไปด้วย สายพันธุ์อินเดีย และสายพันธุ์เบงกอล

สายพันธุ์อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ Variant of Concern (VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่ง รวมทั้งสายพันธุ์อังกฤษ เพราะมีการแพร่กระจายได้ง่ายมาก อย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์อินเดีย B.1.167 มี 3 กลุ่มย่อย คือ B.1.167.1, B.1.167.2,  B.1.167.3 ดังแสดงในรูป แต่สายพันธุ์ที่ระบาดมากในอินเดียและกระจายไปในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมากคือสายพันธุ์ B.1.167.2

สายพันธุ์นี้ได้ระบาดไปถึงประเทศอังกฤษ ทำให้ทางอังกฤษต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะแพร่กระจายได้ง่าย

จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ มีการรายงานในข่าว Reuters พบว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย แต่ไม่น่าจะหลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน (UK increasingly confident COVID-19 vaccines work against Indian variant)  โดยเฉพาะที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ใช้วัคซีน AstraZeneca ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาในแนวลึก

ถ้าเราดูในหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะมีการกลายพันธุ์ในส่วนของ Spike protein ดังนี้ D614G หรือที่เราเรียกว่าสายพันธุ์ G คือตำแหน่งที่ 614  มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก Aspartate ไปเป็น Glycine ทำให้สายพันธุ์นี้ครองโลกอยู่ขณะนี้

ตำแหน่ง N501Y มีการเปลี่ยนแปลงจาก Asparagine ไปเป็น tyrosine และทำให้จับกลับตัวรับบนผิวเซลล์ได้ดีขึ้น พบในสายพันธุ์อังกฤษที่ทำให้แพร่กระจายได้ง่ายขึ้น

ที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งคือตำแหน่ง 681 ในตำแหน่งนี้ทั่วไปกรดอะมิโนจะเป็น Proline จะเป็นตำแหน่งที่เอนไซม์ของร่างกายเรา คือ furin ไปตัดแบ่ง spike protein หลังจากไวรัสได้เกาะกับเซลล์เรียบร้อยแล้ว ถ้าสามารถตัดได้ง่ายไวรัสก็จะมุดเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เพราะการเกาะติดและเข้าสู่เซลล์จะต้องมีการตัดส่วนของ Spike protein ให้แยกขาดออกจากกัน (S1 และ S2) เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ ถ้ายิ่งตัดง่ายก็เข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนที่เป็นด่าง

จะเห็นว่าสายพันธุ์อินเดีย ต่างจากสายพันธุ์อื่นคือ เป็น 681R ในตำแหน่งนี้เป็น Arginine ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่าง ทำให้เอนไซม์ Furin ตัดได้ง่ายขึ้นและ ง่ายที่จะเข้าสู่เซลล์หรือการติดเชื้อนั้นเอง

การเปลี่ยนแปลงที่จะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญอยู่ในตำแหน่งที่ 484  วัคซีนส่วนใหญ่ที่ทำมาจะเป็นสายพันธุ์ ในตำแหน่งนี้คือกรดอะมิโน Glutamic (E) แต่ถ้าเปลี่ยนไปเป็น K หรือ Lysine อย่างเช่นในสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะทำให้หลบหลีกระบบภูมิต้านทานที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง

เมื่อดูสายพันธุ์อินเดีย (B.1.167.2) ในตำแหน่งนี้ยังเป็น E ดังนั้น ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่ใช้อยู่น่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันได้ เช่นเดียวกันกับที่มีการพูดในอังกฤษผ่านสำนักข่าวออกมา

การแพร่กระจายได้ง่ายนี้เองทำให้ทั่วโลก จึงให้ความสำคัญและคำนึงถึงสายพันธุ์อินเดียมีการพยายามป้องกันอย่างเต็มที่ไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศของตัวเอง แต่ต้องยอมรับว่าการป้องกันสิ่งที่มองไม่เห็น สามารถทำได้ยาก ถ้าขาดระเบียบวินัย

โดยสรุปสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จะแพร่กระจายได้ง่าย จะง่ายเท่าสายพันธุ์อังกฤษหรือมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน แต่สายพันธุ์นี้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ “วัคซีนที่เราใช้อยู่นี้ น่าจะป้องกันได้”

อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจวิทยาศาสตร์กันให้มาก การตอบปัญหาต่างๆจะใช้หลักวิทยาศาสตร์ และความจริงที่พิสูจน์ได้

ที่มา https://www.facebook.com/yong.poovorawan

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า