SHARE

คัดลอกแล้ว

ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2564 เป็นต้นมา เชื่อว่านักลงทุนที่ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี่สกุลต่างๆ โดยเฉพาะ ‘บิตคอยน์’ คงหนาวๆ ร้อนๆ กับราคาที่ลดฮวบต่อเนื่องในช่วงราว 10 วันที่ผ่านมา

สาเหตุที่ราคาบิตคอยน์โดนทุบซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยหลักมาจากกระแสข่าวต่างๆ ที่ล้วนส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนแทบทั้งสิ้น

ลองมาย้อนดูกันว่าในช่วงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และส่งผลกระทบต่อราคาบิตคอยน์อย่างไร

13 พ.ค. ‘อีลอน มัสก์’ ประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ ยกเลิกการใช้บิตคอยน์ซื้อเทสลา จากความกังวลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการขุดบิตคอยน์ต้องใช้พลังงานมหาศาล ซึ่งถือเป็นการกลับลำจากที่เคยประกาศเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค 2564 ว่าลูกค้าในสหรัฐอเมริกา สามารถใช้บิตคอยน์ซื้อเทสลาได้

ขณะที่วันเดียวกัน ก็มีประกาศข่าวว่า ‘ไบแนนซ์’ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนซื้อขายคริปโทฯ เจ้าดัง ได้ถูกตรวจสอบโดยสรรพากรและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ

ส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ร่วงทันทีจาก 54,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาที่ 46,980 ดอลลาร์ (ลดลงราว 14%) มูลค่าตลาดหายไปราว 143,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 4.48 ล้านล้านบาท

หรือหากคิดแล้วก็เป็นมูลค่าที่มากกว่ามูลค่าหุ้นทุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานใน SET ที่มีมูลค่ารวมราวๆ 4.04 ล้านล้านบาท

17 พ.ค. เกิดการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้ทวิตเตอร์นามว่า ‘@CryptoWhale’ ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตและทวีตว่า “เหล่านักลงทุนบิตคอยน์อาจจะต้องตบหน้าตัวเองเมื่อทราบว่าเทสลาได้ขายบิตคอยน์ไปทั้งหมดแล้วเมื่อถึงไตรมาสถัดไป” โดยอีลอน มัสก์ ได้ตอบกลับทวีตดังกล่าวสั้นๆ ว่า “แน่นอน”

ท่าทีดังกล่าวส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ร่วงทันทีจากราว 46,300 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 42,600 ดอลลาร์ หรือลดลงราว 8% นับเป็นราคาต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน

ขณะที่มูลค่าตลาดหายไปราว 69,470 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.18 ล้านล้านบาท หากเทียบแล้วก็มากกว่ามูลค่าหุ้นทุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างใน SET ที่มีมูลค่าราวๆ 2.09 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน อีลอน มัสก์ ก็ได้ทวีตยืนยันว่า “เพื่อให้เกิดความชัดเจน เทสลายังไม่ได้ขายบิตคอยน์ออกไป” ส่งผลให้ราคาดีดกลับมาที่ 45,000 ดอลลาร์อีกครั้งในวันเดียวกัน

 

19 พ.ค. สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักยืนยันว่า จีนได้ประกาศแบนการทำธุรกรรมทางการเงินคริปโทเคอร์เรนซี่สำหรับสถาบันการเงินภายในประเทศ รวมไปถึงแพลตฟอร์มการชำระเงินต่างๆ ภายในประเทศจีน

ส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ร่วงหลุดจากราคา 40,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ 38,500 ดอลลาร์ และมีแรงเทขายอย่างต่อเนื่องทั้งวันจนมาแตะระดับต่ำสุดที่ 31,663 ดอลลาร์ (ลดลงไม่ต่ำกว่า 20%) มูลค่ารวมตลาดหายไปไม่ต่ำกว่า 165,339 ล้านเหรียญดอลลาร์ (ราว 5.19 ล้านล้านบาท)

และหลังจากที่ราคาแตะจุดต่ำสุดของวันก็ได้มีแรงซื้อกลับขึ้นมาในวันเดียวกันจนกลับมาปิดที่ราคาราว 38,000 ดอลลาร์อีกครั้ง

20 พ.ค. รายงานข่าวจาก CNBC ประกาศว่า ทางกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ประกาศยกระดับมาตรการตรวจสอบและรายงานธุรกรรมทางการเงินผ่านทางคริปโทเคอร์เรนซี่ที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์ต่อสรรพากร สาเหตุมาจากแนวโน้มการใช้คริปโทฯ ไปทำธุรกรรมที่ผิดกฏหมายและเลี่ยงภาษี

ส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ลดลงจากราคา 38,000 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 35,000 ดอลลาร์ (ลดลง 7 %) มูลค่ารวมตลาดหายไปไม่ต่ำกว่า 54,385 ล้านเหรียญดอลลาร์ หรือราว 1.7 ล้านล้านบาท

21 พ.ค. มีรายงานข่าวจาก CNBC เมื่อช่วงค่ำตามเวลาประเทศไทย ระบุว่า ทางการจีนได้สั่งให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการขุดบิตคอยน์ภายในประเทศ รวมไปถึงการสอดส่องพฤติกรรมการเทรดเพื่อค้นหาความผิดปกติและการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย

ทำให้ราคาบิตคอยน์ร่วงทันทีจากราคา 41,478 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 37,096 ดอลลาร์ (ลดลงถึง 11%)  มูลค่ารวมตลาดหายไปอย่างน้อย 81,994 ล้านเหรียญดอลลาร์ หรือราว 2.57 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของราคาบิตคอยน์เท่านั้น ที่เคยมีราคาสูงสุดแตะมูลค่า 2 ล้านบาทต่อเหรียญ จนมาถึงจุดต่ำสุดที่ 1.2 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รวมมูลค่าที่หายไปจากการปรับลดราคาของเหรียญอื่นๆ ซึ่งหากรวมแล้วก็มีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว

จึงเป็นที่น่าสนใจและติดตามต่อว่า เงินคริปโทฯ ที่ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Decentralized Finance หรือธุรกรรมการเงินแบบไม่ผ่านตัวกลางอย่างสถาบันต่างๆ จะเป็นไปในทิศทางไหน? ท่ามกลางความอ่อนไหวของนักลงทุนเช่นนี้

และบิตคอยน์จะเป็นทรัพย์สินที่ช่วยให้นักลงทุนชนะสภาวะเงินเฟ้อ กลายเป็นทองคำ 2.0 นำไปสู่การสะสมเก็งกำไร หรือท้ายที่สุดมูลค่าอาจจะหายไป เชื่อว่าตลาดและกลไกของโลกการเงินจะเป็นผู้ให้คำตอบต่อไป

 

เรื่องโดย : เขตต์คณิต คงชนะ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า