SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒน์ ชี้เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ช่วยต่อลมหายใจเอสเอ็มอี คาดใช้เวลาอีก 2 ปีภาคการท่องเที่ยวจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สิ่งสำคัญคือการจัดการวัคซีนให้ได้ตามแผนเพื่อให้วิกฤตครั้งนี้จบเร็วขึ้น

วันที่ 27 พ.ค. 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ Thailand Survivor ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 ประชาชาติธุรกิจ “Thailand Survivor … ต้องรอด” ว่า ในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะยืนอยู่ได้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การส่งออก 2.การลงทุนภาครัฐ และ 3.การบริโภคภายในประเทศ โดยขณะนี้ภาคการส่งออกเริ่มเห็นการฟื้นตัว จากอานิสงส์ที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวขึ้น 

ส่วนภาคการบริโภค ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีมาตรการต่างๆ มาเยียวยาช่วยเหลือทั้งภาคธุรกิจและประชาชน  ไม่ว่าจะเป็น การออก พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้วงเงินไปแล้วราว 1 แสนล้านบาท และปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็น ซอฟต์โลนสำหรับช่วยเหลือเอสเอ็มอี 2.5 แสนล้านบาท โดยมีการปรับเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นมากขึ้น หรือโครงการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ลดภาระตัวเองจากเงินกู้ก็เอาทรัพย์สินมาวางไว้ แล้วเอาเงินไป เพื่อปลดหนี้ให้ตัวเอง แล้วก็ทำธุรกิจต่อ และมาซื้อคืนได้ภายหลัง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาซื้อธุรกิจไทยในราคาถูก

นายดนุชา กล่าวว่า ล่าสุด มีพระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มเติมอีก 5 แสนล้านบาท เตรียมไว้สำหรับแผนงานด้านสาธารณะสุข วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ทั้งการซื้อวัคซีน อุปกรณ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รักษาโรค ส่วนต่อมา เตรียมไว้เยียวยาประชาชนทุกอาชีพ รวมทั้งผู้ประกอบการด้วยวงเงิน 3 แสนล้านบาท และ อีกส่วนจะใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

“เงินเยียวยา 3 แสนล้านบาท เตรียมไว้สำหรับการใช้ช่วยเหลือประชาชน หากเกิดการระบาดขึ้นมาอีกครั้ง หรือหากยังไม่เกิดการระบาดแล้วมีความจำเป็นที่จะเข้าไปช่วยในแง่ของการช่วยเหลือภาคเอสเอ็มอีที่สู้มาตลอด ประมาณ 1 ปีแล้ว ส่วนนี้ก็จะเป็นออกซิเจนตัวหนึ่งที่จะไปช่วยให้มีชีวิตเดินต่อไป ต้องเป็นการช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า มีความชัดเจน ซึ่งได้ประสานงานกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ออกแบบมาตรการขึ้นมา เพื่อให้สามารถช่วยกลุ่มเอสเอ็มอีให้ตรงเป้ามากขึ้น”

สำหรับภาคการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น นายดนุชา คาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีกกว่า 2 ปี การเดินทางระหว่างประเทศจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม วัคซีนเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะทำให้วิกฤตครั้งนี้จบลงได้เร็วขึ้น ถึงจะไม่ถึงขั้นไม่มีคนติดเชื้อเลย อาจจะมีอยู่บ้าง  แต่ว่าวัคซีนจะช่วยตัดวงจรการระบาดออกไปได้ และจะช่วยให้เรากลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ที่สำคัญคือต้องบริหารจัดการวัคซีนให้ได้ตามแผน และขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า