SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร ส.อ.ท. มองโควิด-19 ระลอกใหม่กระทบ SME มากกว่าการระบาดในปี 2563 แนะรัฐเพิ่มมาตรการเยียวยา ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ

วันที่ 2 มิ.ย. 2564 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 6 ในเดือนพฤษภาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “มาตรการเยียวยาแบบไหนถูกใจ SME” ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 170 คน ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่ 89.4% มองว่า ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มากกว่าการแพร่ระบาดในปี 2563 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ SME ได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาดระลอกนี้ สืบเนื่องมาจากความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการ และการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ SME ในการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบการ เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ 30% และการลดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ ค่าส่วนกลางของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และพื้นที่เช่าโรงงาน 50%

ในส่วนของมุมมองเรื่องผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ SME จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่นั้น พบว่า 3 อันดับแรก ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีความเป็นห่วงในเรื่องความเสี่ยงจากการติดเชื้อของแรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็น 91.2% รองลงมาเป็นเรื่องการขาดสภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินธุรกิจจากการหยุดกิจการ คิดเป็น 74.1% และเรื่องความต้องการสินค้าและบริการที่ลดลง รวมถึงการชะลอการรับสินค้า คิดเป็น 67.1%

ส่วนมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SME ของภาครัฐในปัจจุบันที่ผู้บริหาร ส.อ.ท.มองว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบของ SME ได้ 3 อันดับแรก คือ 1. มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เช่น คนละครึ่งเฟส 3, เราชนะ, ม.33, ขยายวงเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เป็นต้น 2. มาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือฝั่งละ 2.5% เป็นเวลา 3 เดือน 3. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อสู้ภัย COVID-19

ขณะเดียวกัน ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังมีการประเมินว่าแผนการใช้เงินกู้ 5 แสนล้านบาท จะสามารถช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงใด ซึ่งส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงกลางปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 37.1 รองลงมาเป็นช่วงปลายปี 2565 คิดเป็น ร้อยละ 23.5 อีกทั้งมองว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 21.8 และคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงปลายปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 17.6 โดยเหล่าผู้บริหารมองว่าควรนำเงินดังกล่าวไปใช้ในเรื่องใด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ 2. การช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และ 3.แก้ไขปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19

นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังมีมุมมองอีกว่า หลังจากวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุด SME ไทยควรให้ความสำคัญกับการปรับตัวเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตเรื่องใดบ้าง พบว่า 3 อันดับแรก ผู้บริหาร ส.อ.ท. ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 75.9 รองลงมาเป็นการพัฒนาทักษะแรงงาน และเพิ่ม Multi Skill ให้กับแรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 64.1 และการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต คิดเป็นร้อยละ 58.8

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า