Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
สรุปชัดๆ ประกาศ ‘เลื่อนฉีดวัคซีนโควิด-19’ สะเทือน โรงพยาบาล – ประชาชน – กระทรวงสาธารณสุข – กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลเริ่มทะยอยประกาศเลื่อนฉีดวัคซีน
ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 12 มิ.ย. โรงพยาบาลหลายแห่งพร้อมใจกันประกาศลงเฟซบุ๊ก ‘เลื่อนฉีดวัคซีน’ วันที่ 14 – 20 มิ.ย. 2564 ออกไป พร้อมเหตุผลทิศทางเดียวกันว่า ‘โรงพยาบาลยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนตามเวลาที่กำหนด’ จากหน่วยงานของรัฐ และจะแจ้งให้ทราบทันทีหากวัคซีนโควิด-19 ได้รับการจัดสรรมาถึงโรงพยาบาล
พอมีการประกาศแบบนี้ คนก็เลยตั้งคำถามถึงแผนการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล ว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดสสิ้นปีนี้หรือไม่
กรณี รพ.นมะรักษ์ ลบโพสต์
‘รพ.นมะรักษ์’ คือหนึ่งในโรงพยาบาลที่ประกาศ ‘เลื่อนฉีดวัคซีน’ หลังได้รับการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ว่าไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนเมื่อช่วงค่ำวันที่ 11 มิ.ย. ทำให้โรงพยาบาลตัดสินใจโพสต์แจ้งประชาชนที่ลงทะเบียนรับวัคซีนให้ทราบล่วงหน้าในวันถัดไปทันที
ซึ่งที่เรียกเสียงฮือฮาคือส่วนที่ รพ.นมะรักษ์ พิมพ์ข้อความระบุว่า หากเกิดข้อสงสัยให้ ‘ติดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามสาเหตุความไม่พร้อมของวัคซีน สำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง’ เรียกว่าแทงเป้าเข้าไปที่เจ้ากระทรวงตรงๆ
จนวันรุ่งขึ้น รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนมะรักษ์ ออกมาชี้แจงว่า ‘โรงพยาบาลไม่สามารถตอบคำถามเชิงนโยบาย’ โดยยกตัวอย่างดังนี้
1. วัคซีนจะเลื่อนฉีดไปวันไหน
2. ประชาชนจะได้ฉีดเมื่อไหร่
3. แผนการจัดการวัคซีนในอนาคตเป็นอย่างไร
และอีกเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลถูกตำหนิหรือกดดันระหว่างทำหน้าที่มากเกินไป จึงตัดสินใจโพสต์ข้อความให้ไปถามหน่วยงานของรัฐโดยตรง เพราะเป็นคำถามเชิงยุทธศาสตร์ระดับประเทศที่ รพ. ที่มีสถานะเป็นหน่วยงานเล็กๆ ตอบไม่ได้
การสื่อสารประเด็นการเลื่อนฉีดวัคซีนที่ไม่ชัดเจน ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลที่เผชิญปัญหาแบบนี้ ประชาชนที่รอฉีดวัคซีนก็ตั้งคำถามถึงการทำงานของรัฐบาลเช่นกันว่า ตอนนี้ประเทศไทยจะมีวัคซีนเพียงพอหรือไม่ และทำไมผู้ที่ใช้สิทธิประกันสังคม ม.33 ถึงได้เลื่อนวันฉีดวัคซีนขึ้น จากวันที่ 28 มิ.ย. ขึ้นมาเป็นวันที่ 14 มิ.ย. 2564 ประเด็นนี้สอดคล้องกับข้อสงสัยของ รศ.พญ.เยาวนุช ที่ตั้งคำถามถึงเรื่องนี้เช่นกัน
กระทรวงสาธารณสุขแจง “เป็นหน้าที่ของจังหวัดนั้นๆ ดำเนินการเอง”
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงสั้นๆ ระหว่างเยี่ยมชมศูนย์บริหารฉีดวัคซีน ที่ สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิจ จ.บุรีรัมย์ ว่ากระทรวงสาธารณสุขจัดสรรวัคซีนให้กรุงเทพมหานครนำไปบริหารจัดการแล้ว 5 แสนโดส
เฟซบุ๊กกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความว่า “กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรวัคซีนตามที่ ศบค. กำหนด เพื่อส่งไปยังทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ส่วนการจัดสรรวัคซีนไปยังหน่วยฉีดของแต่ละจังหวัด เป็นหน้าที่ของจังหวัดนั้นๆ ดำเนินการเอง”
ก่อนที่จะลบโพสต์นี้ออกไปหลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนัก
กทม. ยืนยัน แผนจัดสรรวัคซีนเป็นไปตามเป้าหมาย
กรุงเทพมหานคร ยังถูกพูดถึงเรื่องการจัดสรรวัคซีนไม่หยุด เมื่อ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนไปแล้วกว่า 6 ล้านโดส มีทั้ง ‘ซิโนแวค’ และ ‘แอสตร้าเซนเนก้า’
ยืนยันแผนการจัดสรรวัคซีนยังตรงตามเป้าหมาย ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าล็อตต่อไป ที่พบว่ามีปัญหาในการจัดส่งวันที่ 14 – 20 มิ.ย. 2564 ได้รับคำชี้แจ้งว่าเปิดเผยข้อมูลไม่ได้ เพราะวัคซีนโควิด-19 เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ทั่วโลกมีความต้องการสูงเช่นกัน และไทยมีสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูลที่ทำร่วมกัน ส่วนที่ รพ. สังกัด กทม. เลื่อนฉีดวัคซีนต้องไปสอบถามจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ไม่ใช่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ตกเย็นวันที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ออกประกาศในนามตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุขเป็นทางการอีกครั้งว่า หลักการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ยึดตามนโยบายของ ศบค. ที่จัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดตามสูตรคำนวณ และการกระจายไปยังจุดฉีดขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่าจะวางแผนอย่างไรให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน้าของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กรุงเทพมหานคร ที่จะต้องเป็นฝ่ายจัดสรรต่อไป
ลำดับฉีดวัคซีนก่อนหลัง คำถามที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล
กระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า หลักการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ใช้ข้อมูลวิชาการลำดับความสำคัญตามเป้าหมายเชิงประชากรดังนี้
เดือน ก.พ. – พ.ค. ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล ตำรวจ อสม. และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ระบาดบางส่วน
เดือน มิ.ย. ฉีดให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรังที่ลงทะเบียนรับวัคซีนผ่านระบบหมอพร้อม
ตกเย็น กทม. ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก ‘กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์’ ว่า เดือน มิ.ย. ได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุข 1 ล้านโดส พร้อมอธิบายการแบ่งวัคซีนไปยังโรงพยาบาลต่างๆ อย่างละเอียด
นอกจาก กทม. ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องแผนกระจายวัคซีน และทิ้งท้ายว่า ‘กทม. ไม่ใช่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดสรรควัคซีน’ พร้อมยืนยันว่า กทม. มีสถานที่พร้อม บุคลากรพร้อม และหาก ‘วัคซีนพร้อม’ ตามแผน จะดำเนินการฉีดให้ประชาชนทันที

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า