SHARE

คัดลอกแล้ว
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเสียงข้างมาก 119 เสียง เห็นชอบให้นานาชาติห้ามขายอาวุธให้เมียนมา หลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยมีเบลารุสเพียงชาติเดียวที่ลงมติไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศสมาชิก 37 ประเทศไม่ลงคะแนน และมี 36 ประเทศที่งดออกเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีชาติมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซีย รวมทั้งชาติอาเซียน 4 ชาติ รวมประเทศไทย ที่งดออกเสียงต่อกรณีนี้
workpointTODAY จะสรุปเรื่องนี้มาอธิบายให้เข้าใจ เพราะนี่เป็นความเคลื่อนไหวระดับโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีเสียงข้างมากเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร
1.) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลงมติเมื่อวันศุกร์ (18 มิ.ย.) เพื่อประณามการรัฐประหารและเรียกร้องให้นานาชาติห้ามขายอาวุธให้กับเมียนมา หลังที่ผ่านมามีรายงานออกมาอย่างต่อเนื่องว่า เจ้าหน้าที่เมียนมาใช้ความรุนแรงต่อประชาชนที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา
2.) รายงานระบุว่า การลงมตินี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างชาติตะวันตกกับชาติสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะชาติสมาชิกอาเซียนที่ต้องการให้องค์การสหประชาชาติแสดงท่าทีต่อการรัฐประหารในเมียนมา
3.) ผลการลงมติปรากฎว่า สมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเสียงข้างมาก สนับสนุนการห้ามขายอาวุธให้เมียนมา ด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้
สนับสนุนห้ามขายอาวุธให้เมียนมา 119 เสียง เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น
ไม่สนับสนุนห้ามขายอาวุธให้เมียนมา 1 เสียง ได้แก่ เบลารุส
งดออกเสียง 36 เสียง เช่น จีน รัสเซีย
และไม่ลงคะแนน 37 เสียง
4.) รายงานระบุว่า ก่อนการลงมติในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งร่วมผลักดันให้การลงมติเกิดขึ้น มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะลงนามสนับสนุนมตินี้อย่างเป็นเอกภาพ แต่เมื่อถึงช่วงการลงคะแนนแล้ว ภายในอาเซียนกลับลงคะแนนแตกต่างกันออกไป
หากเจาะลึกการลงคะแนนเฉพาะในอาเซียน จะเป็นดังต่อไปนี้
สนับสนุนห้ามขายอาวุธให้เมียนมา 6 เสียง ได้แก่ เมียนมา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
งดออกเสียง 4 เสียง ได้แก่ ไทย บรูไน ลาว และกัมพูชา
5.) จะเห็นได้ว่า ผู้แทนเมียนมา ซึ่งมีจุดยืนประชาธิปไตย เลือกลงมติสนับสนุนห้ามนานาชาติขายอาวุธให้ประเทศตัวเอง ส่วนไทยเป็นหนึ่งใน 4 ชาติอาเซียน ที่งดออกเสียง ซึ่งเป็นท่าทีเดียวกับจีนและรัสเซีย

6.) นักประวัติศาสตร์ชี้ว่า นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา มีเพียง 4 ครั้งเท่านั้นที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะลงมติประณามการรัฐประหาร ซึ่งนายอันโตนีโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวต่อกรณีนี้ว่า เราไม่อาจอยู่ในโลกที่การรัฐประหารถูกทำให้เป็นเรื่องปกติได้
7.) ผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำสหประชาชาติชี้ว่า การลงมติครั้งนี้เป็นการส่งสารที่ทรงพลัง และยังลดความชอบธรรมต่อกองทัพเมียนมาที่ก่อรัฐประหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่สหภาพยุโรปรู้สึกภูมิใจต่อท่าทีนี้จากประชาคมโลก
8.) แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะลงมติต่อต้านการรัฐประหาร แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า มติดังกล่าวที่ห้ามการขายอาวุธให้เมียนมา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเมียนมามากนัก เพราะในความเป็นจริงกองทัพเมียนมายังสามารถหาช่องทางเพื่อปฏิบัติการต่างๆ ได้ตามปกติ
9.) เช่นเดียวกับจ่อ โม ทุน ผู้แทนเมียนมาประจำสหประชาชาติ ซึ่งลงมติเห็นชอบห้ามนานาชาติขายอาวุธให้ประเทศตัวเองที่ระบุว่า รู้สึกเสียใจที่กว่าสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมีมติเกี่ยวกับเมียนมา ต้องใช้เวลานานกว่า 3 เดือน อีกทั้งมติดังกล่าวยังไม่ชัดเจนมากพอด้วย
10.) หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า มีการเปลี่ยนแปลงข้อความในมติ จากเดิมที่ระบุชัดเจนว่า “ต้องระงับการขายหรือแลกเปลี่ยนอาวุธหรือยุทโธปกรณ์ของทหารทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเมียนมาทันที” โดยตัดทอนเนื้อความลงเหลือเพียง “เรียกร้องให้ทุกชาติป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธเข้าสู่เมียนมา” เท่านั้น
11.) ข้อมูลจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองเมียนมา (AAPP) เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตจาความรุนแรงหลังการรัฐประหารในเมียนมาแล้วอย่างน้อย 870 คน และมีผู้ถูกจับกุมจากการต่อต้านรัฐประหารอีกกว่า 6,100 คน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า