SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยัน เอกสารประชุมคณะกรรมการวิชาการ เรื่องวัคซีนไฟเซอร์ เป็นเอกสารไม่จริง เป็นการเขียนเอาเอง ไม่ได้ทำโดยฝ่ายเลขาฯการประชุม 

วันที่ 5 ก.ค. 2564 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึง กรณีมีการเผยแพร่เอกสารการประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการ เรื่องการบริหารวัคซีนไฟเซอร์ 

ว่า เอกสารที่ออกมาไม่ใช่เอกสารฉบับจริงของที่ประชุม โดยวันนั้นเป็นการประชุมวิชาการ มี 3 คณะ คือ คณะกรรมการวิชาการตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ใน พ.ร.บ. ความมั่นคงด้านวัคซีนของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และคณะกรรมการวิจัยและวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน  

ซึ่งคนเข้าร่วมประชุมค่อนข้างมาก มีทั้งร่วมประชุมและออนไลน์ แต่ทั้งหมดเน้นเรื่องวิชาการ เกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ รวมทั้งไฟเซอร์ว่าควรต้องฉีดอย่างไรต่อไป โดยกลไกเมื่อคณะชุดนี้ทำเสร็จ ต้องเสนอต่อคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องนี้ต่อไปเพราะเป็นเรื่องวิชาการ เมื่อคณะที่เป็นทางการเห็นชอบก็จะเสนอ ศบค. เห็นชอบต่อไป

ส่วนเอกสารการประชุมที่มีการเผยแพร่ออกไปนั้น ไม่เรียกว่าเอกสารหลุด แต่เป็นเอกสารที่ไม่จริง เพราะคนเขียนสรุปไม่ใช่ฝ่ายเลขาของการประชุมนั้นๆ ไม่มีแพตเทิร์นทางการ เป็นเหมือนเขียนอ่านกันเอง ซึ่งเอกสารนี้ไม่จริง ส่วนที่ในการประชุมที่มีการเสนอความคิดเห็นอย่างไร ไม่มีข้อสรุปใดๆทั้งสิ้น หากสังเกตดีๆ เหมือนเอกสารที่เขียนเองอ่านเอง และเอกสารนั้นเหมือนเอาสไลด์การประชุมไปปะติด ยืนยันว่าไม่ใช่เอกสารจริงจากฝ่ายประชุม ทั้งนี้ ไม่ควรเผยแพร่ต่อ เพราะถ้าเผยแพร่ต่อก็จะเป็นเรื่องไม่จริงไปกันใหญ่

นพ.โอภาส กล่าวว่า ปกติการประชุมวิชาการก็จะมีความคิดเห็นหลากหลายคนเข้าร่วมก็แสดงความคิดเห็นได้ แต่ไม่ใช่ข้อสรุป ที่สำคัญต้องดูบริบทว่า เขาพูดอะไร การเอาคำใดคำหนึ่งไปโควทอย่างเดียว ถือว่าไม่เป็นธรรม แต่การประชุมวันนั้นตนก็ไม่ได้เข้าประชุม จึงไม่ทราบว่ามีการพูดอะไร อย่างไร แต่โดยมารยาทก็ไม่ควรพูด แต่ที่แน่ๆ เอกสารนั้นไม่ใช่เอกสารหลุด แต่ไม่จริงเลย

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับข้อสรุปของวัคซีนที่ไทยใช้ได้ผ่านการรับรองขององค์การอนามัยโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ ซึ่งเราเอามาใช้ต้นปีที่ผ่านมา ก็ควบคุมสถานการณ์ที่สมุทรสาคร และลดการติดเชื้อได้ แม้แต่ภูเก็ตก็ลดได้ 80-90% ส่วนเชียงรายก็เช่นกัน พบว่า บุคลากรที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบถ้วนก็มีประสิทธิผลป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม โควิดมีการกลายพันธุ์ตลอด ภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามข้อมูล

ส่วนกรณีไฟเซอร์ที่จะได้รับการบริจาค จากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส ยังไม่มีการสรุปเป็นทางการว่าจะส่งให้ไทย เมื่อไหร่ อย่างไรแต่มีกรอบสั้นๆว่าจะมาเดือนนี้ และยังไม่มีข้อสรุปการบริหารจัดการฉีดให้กลุ่มไหน ก็ต้องติดตามกันก่อน ต้องเอาข้อมูลมาประมวลก่อนและจะมาบริหารจัดการอีกที เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

ส่วนกรณีที่มีแพทย์กลุ่มหนึ่งขอให้นำวัคซีนไฟเซอร์ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์เพื่อกระตุ้นเข็มที่ 3 นั้นเป็นความเห็นที่เรารับฟัง ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดว่า ส่วนไหนจะมีความปลอดภัยและเหมาะสมที่สุด ขอให้บุคลากรมั่นใจว่า ทางกระทรวงฯ จะจัดหาสิ่งที่ปลอดภัยทั้งหมดให้

เมื่อถามว่ากรณีการฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม แล้วหากกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA จะมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน นพ.โอภาส กล่าวว่า เรื่องวัคซีนเราสนใจเรื่องประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ซึ่งประสิทธิภาพวัดได้หลายอย่าง เช่น ผลแล็บในห้องทดลอง แต่ผลแล็บกับความจริงก็แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ผลแล็บก็คล้ายๆเฟสสอง แต่หากทดลองประชากรกลุ่มไม่มากถือเป็นเฟสสาม และเมื่อผ่านก็จะนำไปสู่ประชาชนกลุ่มมากขึ้น

แต่ส่วนใหญ่เรามักเอาผลทางแล็บมาอิงกับผลจริง แต่ผลจริงถือเป็นข้อมูลสำคัญ ส่วนความปลอดภัยของวัคซีน อย่างที่ทราบขณะนี้วัคซีนใช้ในภาวะฉุกเฉิน จึงไม่มีใครทราบผลระยะยาว อย่างบางยี่ห้อที่เป็น mRNA มีประสิทธิภาพดีมาก แต่ใช้ไประยะหนึ่งก็พบว่า ในคนหนุ่มมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจำนวนหลายพันราย ซึ่งข้อมูลมีการปรับเปลี่ยนรายสัปดาห์ รายวัน จึงต้องเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า อันไหนเหมาะกับประเทศไทยมากที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า