SHARE

คัดลอกแล้ว
สมาคมคราฟต์เบียร์ ชวนประชาชนคัดค้านไม่เห็นด้วย ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ ของ สคอ. กังวลจะยิ่งเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐคุมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งรายใหญ่รายเล็ก ปรับแก้เพิ่มโทษค่าปรับมากกว่าคดียาเสพติด ห้ามแสดงส่วนประกอบการผลิตหวั่นกระทบผู้บริโภค
นายอาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมคราฟต์เบียร์ ให้สัมภาษณ์ workpointTODAY ถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด รวมถึงประชาชน ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เสนอร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความความคิดเห็น ตั้งแต่ 25 มิ.ย.- 9 ก.ค. เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งหลักๆ จะมีการแก้ไขนิยามคำว่า ‘เครื่องดื่มแอลกอฮอล์’ และ ‘สื่อสารการตลาด’
โดยเฉพาะ มาตรา 32 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
“ผมยกตัวอย่าง ถ้าวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีถั่ว แล้วบางคนแพ้ถั่ว ถ้าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลนี้ คนกินเข้าไปก็มาโทษเราอีก อยากให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงบริบทกฎหมายให้ตรงกับปัจจุบัน กฎหมายออกมาตั้งแต่ปี 2551 แล้วและค่อนข้างจะล้าหลัง”
นายอาชิระวัสส์ กล่าวอีกว่า ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ (มาตรา 43) เช่น โทษจำคุกจาก 1 ปี เป็น 2 ปี หรือโทษปรับ จากสูงสุด 500,000 บาท เพิ่มเป็น 1,000,000 ล้านบาท เพิ่มโทษปรับรายวัน (หากกระทำความผิด) เป็นวันละ 50,000 บาท จากเดิมอยู่ที่วันละ 10,000 บาท จำเป็นต้องขอความร่วมมือประชาชนคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับนี้ ภายในวันที่ 9 ก.ค. 2564 นี้
ที่สำคัญ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังเขียนอ้างอิงมาจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด ซึ่งกังวลว่าจะเป็นการเพิ่มอำนาจหน่วยงานราชการ ให้สามารถกำจัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ให้หมดไปจากประเทศนี้ได้ มิหนำซ้ำยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาควบคุมการทำธุรกิจแอลกอฮอล์ของทุกบริษัทเอกชน และเข้ามาทำการค้น อายัดสินค้าได้โดยไม่ต้องใช้หมายศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ได้ส่วนแบ่งค่าปรับเพิ่มอีก 10 เท่าด้วย และจะส่งผลทำให้ธุรกิจรายย่อยหายไปจากประเทศไทย เกิดการผูกขาด 100% เจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของภาคเอกชนได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมองว่า ให้อำนาจรัฐมากจนเกินไป โดย ‘คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ’ ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง (นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ) และยังให้มีผู้แทนองค์กรเอกชน (NGO ที่ต่อต้านแอลกอฮอล์) เพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 4 คน และเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (นักวิชาการที่ต่อต้านแอลกอฮอล์) จาก 3 เป็น 4 คน โดยไม่มีผู้แทนจากภาคประชาชนและภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบเลยแม้แต่คนเดียว ทั้งยังให้อำนาจรัฐอย่างกว้างๆ ให้สามารถออกข้อบังคับเพิ่มเติมได้ในเรื่องของวันเวลาห้ามขาย โดยไม่ต้องผ่านประชามติ
“ถ้าไปดูในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ เขาเพิ่มอำนาจเขาให้สามารถอยู่เหนือกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และยังสามารถเป็นผู้แนะนำให้ผู้ผลิตได้ด้วย เพิ่มอำนาจยิ่งกว่าคณะรัฐมนตรี ส่วนโทษปรับก็สูงยิ่งกว่าคดียาเสพติด คดียาเสพติดปรับ 300,000 บาท แต่ค่าปรับที่เขาขอแก้คือ 500,000 บาท เป็นร่าง พ.ร.บ. ลิดรอนสิทธิประชาชน ส่วนแบ่งรายได้ก็เขียนไว้ในกฎหมายว่าไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษี เราไม่เข้าใจว่าตกลงเราค้ายาเสพติดหรือเปล่า เป็นกฎหมายกดขี่มากๆ” นายอาชิระวัสส์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า