SHARE

คัดลอกแล้ว

แน่นอนว่าทุกๆ คนคงคาดหวังว่า สกุลเงินดิจิทัล (CRYPTO CURRENCY) เช่น บิตคอยน์ (BITCOIN) จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงินแบบเดิม หรือ Centralized Financial (CeFi) นั่นคือ ระบบการเงินที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ธนาคารพาณิชย์ (Bank) และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (non-bank) โดยมีการกำกับดูแลหรือควบคุมจากรัฐบาล หรือ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศที่มีการควบคุม และแทรกแซงจากหน่วยงานต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลต้องการให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่ามากขึ้นก็สามารถทำได้โดยการซื้อค่าเงินของประเทศตัวเองกลับเข้ามาภายในระบบให้มากขึ้น

หรือ การที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศนั้นๆ มากขึ้น ก็ทำให้สกุลเงินของประเทศนั้นๆ เป็นที่ต้องการมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการซื้อ (demand) มีเพิ่มขึ้นจนทำให้ค่าเงินเริ่มปรับราคาขึ้น

รวมถึงในกรณีที่เราต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินไปต่างประเทศ เราจะต้องนำเงินไปให้กับธนาคารต้นทางซึ่งมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเกิดขึ้น อีกทั้งอัตราค่าธรรมเนียมในการโอนของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันออกไป จนไปถึง ผู้รับเงินหรือ ธนาคารปลายทาง และระยะเวลาในการทำธุรกรรม ซึ่งแน่นอนก็ยังคงมีค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บอีก  จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสกุลเงินภายใต้ระบบ CeFi นั้นสามารถควบคุมทิศทางของราคา และเกิดค่าใช้จ่ายจากการผ่านตัวกลางขึ้นอีกหลายทอด

สกุลเงินดิจิทัลจึงมีเป้าหมายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยระบบ Dentralized Financial นั่นก็คือระบบที่ตรงข้ามกับ Cefi นั่นเอง เป็นการตัดตัวกลาง อย่างธนาคารพาณิชย์ และการกำกับดูแลจากหน่วยงานต่างๆ ออกไป โดยการใช้ระบบ Bloack chian คือ เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ คล้ายกับโซ่ (Chian) โดยทุกคนจะรับรู้ว่าใครคือเจ้าของธุรกรรม โดยเฉพาะในกลุ่ม Fintech มีการนำเทคโนโลยี Blockchian เข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ร่วมกับระบบ Smart Contract คือระบบที่นำเอาสัญญาเข้ามาช่วยจัดการในการทำธุรกรรมทำให้ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัยมากขึ้น โดยการนำมาเขียนเป็น code ในคอมพิวเตอร์

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็จะทำให้เรื่องของการทำธุรกรรมการเงินเช่น โอนเงิน ฝากเงิน กู้เงิน เหล่านี้มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลง และใช้เวลาน้อยลงอย่างมหาศาล จนสามารถเข้ามาปฏิวัตโลกการเงินให้ดียิ่งขึ้น

แต่จากความผันผวนของตลาด Crypto Currency ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีความผันผวนสูงมาก ยกตัวอย่าง 3 สกุลใหญ่ๆ ที่มี ส่วนแบ่งการตลาดCrypto รวมกันกว่า 80% ก็คือ

  1. Bitcoin (BTC)

6 เดือนที่ผ่านมา -3.06%

3 เดือนที่ผ่านมา -40.28%

1 เดือนที่ผ่านมา -6.11%

 

  1. Ethereum (ETH)

6 เดือนที่ผ่านมา +97.31%

3 เดือนที่ผ่านมา +9.54%

1 เดือนที่ผ่านมา -13.89%

 

  1. Ripple (XRP)

6 เดือนที่ผ่านมา +174.06%

3 เดือนที่ผ่านมา +34.35%

1 เดือนที่ผ่านมา -30.79%

(ข้อมูลผลตอบแทน ณ วันที่ 6 ก.ค. 2564)

 

ความผันผวนที่สูงทำให้ขัดแย้งกับการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ดี

แม้ว่าสกุลเงินดิจิทัล จะกลายเป็นสินทรัพย์ทดแทน หรือสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ คือมีคุณสมบัติ

  1. คงสภาพตามกาลเวลา
  2. ขนย้ายได้
  3. แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้
  4. ระบุเจ้าของได้

จะเห็นได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Crypto Currency มีสมบัติที่คล้ายกับทองคำ จึงทำให้สกุลเงินดิจิทัล เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลงทุน หรือสินทรัพย์ทางเลือกนั่นเอง

แต่เราจะเห็นตัวอย่างจากหลากหลายประเทศที่มีการใช้ Crypto ในการแลกเปลี่ยนอย่างถูกกฏหมายแล้วเช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์ ที่สามารถโอนเงิน ชำระหนี้ รวมไปถึงการตั้งราคาสินค้าใน ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็น Bitcoin ได้

แต่ในขณะเดียวกันประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน กำลังเดินหน้าแบนการใช้สกุลเงินดิจิทัล เช่น การไม่ให้สถาบันการเงินใดๆ ของจีนให้บริการด้านสกุลเงินดิจิทัล หรือการให้ยกเลิกการขุดเหมือง Bitcoin และ Crypto Currency อื่นๆ กันอย่างจริงจรัง ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่า

ยิ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคา Crypto Currency ปรับลงมาอย่างมีนัยยะ รวมถึงการที่จีนออกมาประกาศจุดยืนในเรื่องการแบน Crypto currency แบบนี้ถือได้ว่ามีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางของสกุลเงินดิจิทัล

ต้องมาจับตาดูกันว่า อนาคตของ สกุลเงินดิจิทัลจะเป็นอย่างไร จะสามารถก้าวผ่านความผันผวน และเข้ามาปฏิวัติโลกการเงินได้จริงหรือไม่

 

อ้างอิง:

บทความโดย: ศุภสิทธิ์ สิทธิเสาวภาคย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า