SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงการต่างประเทศยืนยัน สนับสนุนแนวทางการทูตเพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 จากต่างประเทศ เปิดแนวทางแลกเปลี่ยนหยิบยืมวัคซีนจากหลายชาติ และอยู่ระหว่างประสานงานเพื่อรับมอบวัคซีนจากรัฐบาลสหรัฐฯ

วันที่ 16 ก.ค. 2564 นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สรุปผลการดำเนินการสนับสนุนทางการทูตเพื่อการจัดหาวัคซีนโควิด-19 จากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ช่องทางการทูตอย่างต่อเนื่องในการแสวงหาวัคซีนเพิ่มเติมจากต่างประเทศผ่านวิธีการต่าง ๆ ทั้งการจัดซื้อ การแลกเปลี่ยน (vaccine swap) และการรับความช่วยเหลือ

สำหรับแนวทางการแลกเปลี่ยนวัคซีนโควิด-19 กระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มผลักดันตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมการให้แลกเปลี่ยนหยิบยืมวัคซีนกันใช้ก่อนกับหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา และสหรัฐฯ เชื่อว่าอาจจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ตามสถานการณ์ตั้งแต่เดือน ก.ย.เป็นต้นไป

ส่วนความคืบหน้าการรับมอบวัคซีนโควิด-19 จากสหรัฐฯ ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างประสานงานในรายละเอียดกับหน่วยงานของสหรัฐฯ และกระทรวงสาธารณสุขก็กำลังเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งและรับมอบวัคซีน รวมทั้งแผนบริหารจัดการและจัดสรรวัคซีนดังกล่าว

กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ในตอนนี้ได้ติดต่อประสานงานเพื่อจัดซื้อวัคซีนจากประเทศต่าง ๆ ทั้งจากจีน (Sinovac, Sinopharm, CanSino) สหรัฐอเมริกา (Pfizer, Moderna, Johnson & Johnson, Novavax) รัสเซีย (Sputnik V) และอินเดีย (Covishield, Covaxin)

โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยังเปิดเผยความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนวัคซีนจากประธานาธิบดีรัสเซีย และเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโกได้ติดตามเรื่องนี้ ปัจจุบัน บริษัทผู้แทนนำเข้าวัคซีนสปุตนิก วี ในไทย อยู่ระหว่างยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกระทรวงการต่างประเทศและสถาบันวัคซีนแห่งชาติอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับหน่วยงาน Russian Direct Investment Fund (RDIF) ให้มีการประชุมหารือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยและรัสเซีย เพื่อหารือรายละเอียดเพิ่มเติม

ส่วนกรณีโคแวกซ์ (COVAX) กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า แม้ไทยจะไม่ได้เข้าเป็นโครงการแบ่งปันวัคซีนโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ได้ร่วมบริจาคให้องค์การอนามัยโลกเป็นจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับกลไกโคแวกซ์ จึงทำให้ไทยสามารถแลกเปลี่ยน จำหน่าย หรือแจกจ่ายวัคซีนที่ไทยผลิตได้เองในอนาคตข้างหน้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ไทยประกาศไว้ว่า วัคซีนคือสินค้าสาธารณะของโลก (global public goods) ที่ประเทศต่าง ๆ ควรเข้าถึงได้ทั่วกันเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งท้าทายที่ประชาคมระหว่างประเทศมีร่วมกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า