SHARE

คัดลอกแล้ว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย พบสายพันธุ์เดลตา 71 จังหวัด เพิ่มมา 11 จังหวัด รวมกทม.ที่พบแล้ว 77% ยังเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อ2 สายพันธุ์ หวั่นหากพบผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่องไวรัสอาจกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
วันที่ 19 ก.ค. 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อัปเดตสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย จากการเก็บสถิติผู้ติดเชื้อภาพรวมทั้งประเทศที่ตรวจไปกว่า 3 สายพันธุ์ พบว่าว่าขณะนี้ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แพร่กระจายไปทั่วประเทศแล้ว 63.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) 32.7% หมายความว่าสายพันธุ์เดลตาเข้ามาแทนที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งทั่วประเทศพบสายพันธุ์เดลตา กระจายเพิ่มไปอีก 11 จังหวัด รวมทั้งหมดเป็น 71 จังหวัด + กทม.
แม่ฮ่องสอน 3 ราย , กาญจนบุรี 1 ราย , สมุทรสงคราม 4 ราย , ฉะเชิงเทรา 20 ราย , ตราด 2 ราย , สุรินทร์ 28 ราย , ชุมพร 1 ราย , นครศรีธรรมราช 2 ราย , กระบี่ 2 ราย , พังงา 1 ราย , ปัตตานี 2 ราย
ขณะที่สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ยังพบอยู่ในพื้นที่ จ.นราธิวาสเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง รวมถึงชุมพร ส่วนที่ บึงกาฬ พบ 1 ราย เป็นคนงานกลับมาจากไต้หวัน คนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงพบอีก 3 ราย ยังจับตาต่อว่าจะหยุดที่ 4 รายหนี้รือไม่ ซึ่งได้ประสานกับพื้นที่ และจะมีการตรวจเพิ่มเติมอยู่ ส่วนการสอบสวนโรคจะเป็นหน้าที่ของพื้นที่ และจะมีการเก็บตัวอย่างส่งเพิ่มเติม
ส่วนที่พบใน กทม. กรณีมีญาติมาเยี่ยมจาก จ.นราธิวาส เอามาติดพ่อและคนในครอบครัวติดอีก 2 คน สัปดาห์นี้ยังไม่ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม หากสัปดาห์หน้าตัวเลขยังเป็นศูนย์ใน กทม. สายพันธุ์เบตาอาจจะไม่ได้ระบาดเป็นวงกว้างอีกต่อไป
นพ.ศุภกิจ ยังกล่าวอีกว่า มีประชาชนสอบถามเข้ามาจำนวนมากว่า หากเคยได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดซ้ำได้อีกหรือไม่ ขอตอบว่า สามารถเป็นไปได้แม้จะเคยได้รับเชื้อมาแล้วและร่างกายมีภูมิคุ้มกัน แต่ต้องยอมรับว่าไวรัสกลายพันธุ์จากดั้งเดิมเป็นสายพันธุ์ใหม่ ก็อาจจะทำให้ป่วยซ้ำได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง ซึ่งปกติกรณีแบบนี้จะพบน้อยมาก
รวมถึงจับตาผู้ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ผสมกันว่าจะกลายพันธุ์อีกหรือไม่ ส่วนผู้ติดเชื้อ2 สายพันธุ์จำนวน 7 รายก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ได้ป่วยหนัก แต่ยังไม่ถึงขั้นผสมกันเป็นไฮบริดหรือพันธุ์ใหม่ รวมถึงจับตาการติดเชื้อมีสูงอย่างต่อเนื่อง โอกาสการกลายพันธุ์ก็มีสูงมากเช่นกัน
“หากเราปล่อยให้เป็นแบบนี้มากๆ เจอแบบนี้เยอะก็อาจเกิดการเปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ได้ แต่ขอย้ำว่า ตอนนี้ยังไม่เจอแบบไฮบริด และถ้าการกลายพันธุ์ไม่ได้มีขีดความสามารถในการดื้อวัคซีนก็จะไม่เป็นไร แต่หากเป็นทางองค์การอนามัยโลกก็จะบอกว่า เป็นการกลายพันธุ์น่าห่วง ส่วนกรณีเจอสองสายพันธุ์ในคนเดียวยังไม่พบเพิ่มเติมแต่อย่างใด”
คำถามสุดท้าย นพ.ศุภกิจกล่าวว่า มีประชาชนไปตรวจสวอปหาเชื้อพบผลตรวจรอบแรกมีเชื้อโควิด ถัดมาอีก 2 วันไปตรวจอีกครั้งผลตรวจออกมาว่าไม่พบเชื้อแล้ว กรณีแบบนี้มีความเป็นไปได้และเคยเกิดขึ้นแล้ว อธิบายชัดให้เข้าใจ ครั้งแรกที่ผลตรวจพบเชื้ออาจจะเป็นเชื้อระยะท้ายๆ ซึ่งเชื้อแทบจะไม่มีแล้ว พอตรวจครั้งถัดมาผลออกมาก็เลยไม่พบเชื้อ แต่ก็จะต้องทำตามมาตรการกักตัว 14 วันเพื่อสังเกตอาการต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า