SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกครั้งของการลาออก มาพร้อมกับการต่อรอง ‘เงินเดือน’ ครั้งใหม่ หลายๆ คนที่พึ่งเรียนจบหรือพึ่งเรียนจบมาได้ไม่งาน พึ่งย้ายงานครั้งแรกหรือครั้งที่สองอาจจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจกับ ‘การต่อรองเงินเดือน’ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี เพื่อให้ได้เงินเดือนในระดับที่ ‘ควร’ จะต้องได้

อย่าปล่อยให้เงินเดือนเป็นเรื่องของชะตาฟ้าลิขิต เรากำหนดมันได้! เพราะวันนี้ TODAYBizview นำ 5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการต่อรองเงินเดือนให้ได้ดีขึ้นมาแบ่งปันแล้วค่ะ

1) ทำการบ้านไปก่อน

เริ่มต้นอย่างแรกเลยที่ต้องรู้ใน ‘การต่อรองเงินเดือน’ คือ อย่าสุ่มตัวเลขขึ้นมาลอยๆ จากอากาศ เพราะตัวเลขที่ตั้งขึ้นมาลอยมักจะดูไม่น่าเชื่อถือในสายตาฝ่ายบุคคล เพราะจริงๆ แล้วมันมีวิธีการที่เราจะรู้ ‘เงินเดือน’ ที่เหมาะสมกับตัวเอง และทำให้เรามีข้อเสนอที่สมเหตุสมผลไปให้กับฝ่ายบุคคลอยู่

นั่นคือ “เราต้องทำการบ้านไปก่อน” โดยเริ่มต้นจากการหันกลับมาเช็กว่าจากความสามารถ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ รวมถึงรายละเอียดภูมิหลังของที่ทำงานนั้น ปกติในเกณฑ์เดียวกันสามารถรับเงินเดือนเริ่มต้นต่ำสุดที่เท่าไรและสูงสุดที่เท่าไร เพิ่มจากการปัจจัยไหนบ้าง เพื่อให้เรามีข้อมูลอยู่กับตัวค่ะ

2) ดูว่าเราสร้างอะไรให้บริษัทได้บ้าง

ในขั้นตอนการสมัครงานทั่วๆ ไปแล้ว เราก็เหมือนกำลังพรีเซนต์ ‘ขาย’ ตัวเองกับนายจ้างอยู่ค่ะ ดังนั้น คำถามที่สำคัญคือ “ทำอย่างไรเขาถึงจะซื้อ” เราจึงต้องเตรียมตัวพรีเซ้นต์ “จุดแข็ง” ของเราให้พร้อม เริ่มต้นง่ายๆ จากที่ทำงานเก่าก็ได้ว่า ปกติแล้วในแต่ละวันเราทำอะไรบ้าง แต่ละสิ่งสำคัญกับบริษัทยังไง ถ้าขาดเราไปตรงนั้นจะมีปัญหายังไง

ยิ่งไปกว่านั้นคือ “หาสิ่งที่เราโดดเด่น” ลิสต์จุดแข็งของเราออกมาเลยเป็นข้อๆ ว่าเรามีอะไรบ้างที่ทำได้ดีถึงดีมาก และที่ผ่านมา เราสร้างความสำเร็จอะไรทิ้งไว้บ้าง ผลงานไหนที่เราภูมิใจที่เราได้สร้างไว้ สำหรับเหล่าเฟิร์สจ๊อบเบอร์ (first jobber) ก็ค้นหาจากผลงานและประสบการณ์ที่เรามีสมัยเรียนก็ได้เช่นกันค่ะ

3) กรอบความต้องการของตัวเองให้ชัด

หลังจากเรามีข้อมูลพื้นแล้วและรู้แล้วว่าตัวเองสำคัญยังไงกับบริษัท สิ่งต่อไปที่เราจะต้องทำก็คือ “ระบุความต้องการของตัวเองให้ชัดเจน” ก่อนเริ่มต้นการต่อรองเงินเดือน ควรมีกรอบที่ชัดเจนในใจแล้วว่า “ต้องการช่วงเงินเดือนเท่าไรและรับได้ต่ำสุดแค่ไหน”

นอกจากนั้น จะต้องคิดถึง ‘ค่าตอบแทน’ อื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวันลาพักร้อน ประกันสุขภาพและทันตกรรม การเกษียณอายุ ค่าชดเชยการเดินทาง ความยืดหยุ่นในการทำงานจากระยะไกล รวมถึงการขอตำแหน่งหรืออำนาจที่เรามีเหนืองานของเรา และโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพต่างๆ

4) เลือกเวลาที่ใช่เพื่อสิ่งที่ดีกว่า

ข้อนี้อาจจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในกรณีการต่อรองเงินเดือนกับที่ทำงานใหม่ เพราะว่ากรณีเริ่มต้นงานใหม่จะต้องเกิดขั้นตอนการเจรจาเงินเดือนที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘การเลื่อนตำแหน่ง’ หรือ ‘การปรับเงินเดือน’ ในที่ทำงานเก่า แล้ว ‘เวลา’ ก็ถือว่าค่อนข้างสำคัญ

เพราะการเจรจาต่อรองตำแหน่งหลัง ‘ความสำเร็จ’ จะช่วยให้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือนสำเร็จมากขึ้น ดังนั้น ถ้าอยากจะชวนหัวหน้าคุยเรื่องนี้ ควรเลือกเวลาที่มีความรู้สึกเชิงบวกมากพอสมควร อย่างช่วงเวลาหลังทำงานใหญ่สำเร็จ

5) สำคัญที่สุด คือ ลงมือทำ

ข้อนี้สำคัญ เพราะต้องจำไว้เสมอว่า “บริษัทส่วนใหญ่จะไม่เสนอข้อเสนอที่ดีที่สุด” ให้กับเราก่อนอย่างแน่นอน ดังนั้น หากว่าอยากจะได้เงินเดือนที่ต้องการ “ต้องกล้าที่จะเจรจาต่อรองเงินเดือนด้วยตัวเอง” และการต่อรองเงินเดือนนั้นควรเกิดขึ้นเสมอในทุกครั้งที่เปลี่ยนงานใหม่ หรือรู้สึกว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วในที่ทำงานเดิม

เรื่องควรรู้ของเหล่า First Jobber

ถึงจะพึ่งเรียนจบและกำลังจะเป็นเฟิร์สจ๊อบเบอร์ ก็อย่ารู้สึกว่า “เอาหน่า เท่านี้มันก็พอใช้อยู่” เพราะว่าแม้แต่คนที่พึ่งเรียนจบเองก็จำเป็นจะต้องใช้เงิน และจำเป็นต้องใช้เงินในการพัฒนาตัวเองจากจุดสตาร์ทในโลกการทำงานไปอีกไกล

นอกจากนั้น “ไม่ใช่แค่เราต้องการบริษัท แต่บริษัทเองก็ต้องการเรา” ข้อแนะนำสำคัญสำหรับ ‘เฟิร์สจ๊อบเบอร์’ คือ ควรเริ่มด้วยการให้บริษัทเสนอตัวเลขมาก่อน ดีกว่าเราเสนอไปแล้วดันหวยออกตัวเลขที่ต่ำกว่าที่บริษัทจ่ายได้ หรือสูงเกินไปจนบริษัทคิดว่าจ่ายไม่ไหวและไม่อยากคุยต่อ

ที่สำคัญอีกอย่างคือ “ไม่ต้องรู้สึกกดดันว่าจะต้องตกลงรับข้อเสนอทันที” เรื่องเงินเดือนเราสามารถใช้เวลาคิดทบทวนได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทางโทรศัพท์ อีเมล หรือว่าคุยกันต่อหน้า เราสามารถใช้เวลาเท่าที่ตกลงกับนายจ้างได้และต่อรองเงินเดือนที่เราต้องการเมื่อเราพร้อมจริงๆ

สิ่งที่ ‘ไม่’ ควรทำในการต่อรองเงินเดือน
  • อย่าขอโทษในทุกขั้นตอน เพราะมันจะแสดงให้เห็นว่าเราขาดความมั่นใจในตัวเองและผลงาน
  • อย่าใช้คำเชิงลบ อย่าง “ไม่” ลองเปลี่ยนเป็น “ผมสบายใจจะ..” หรือ “เป็นไปได้ไหมคะว่า..”
  • อย่าใช้ปัญหาทางการเงินส่วนตัวเป็นเหตุผลในการขึ้นเงินเดือน แต่ใช้ ‘ผลงาน’ จะดีกว่า
  • อย่าใช้เพื่อนร่วมงานมาเป็นเหตุผลในการเปรียบเทียบหรือโต้แย้ง
  • อย่ายื่นคำขาด เพราะบางครั้งบริษัทก็ไม่สามารถขึ้นเงินเดือนให้ได้ตลอด แต่สามารถขอผลประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมได้ อย่างเช่นวันหยุดพิเศษ

สุดท้ายต่อให้การเดินหน้าต่อรองเงินเดือนรอบนี้ ออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ไม่ได้อย่างใจ แต่มันก็ไม่เป็นไรเพราะอย่างน้อยเราก็ได้พยายามอย่างเต็มที่ที่จะแสดงศักยภาพและคุณค่าของเราต่อบริษัท รวมถึงแสดงให้เห็นว่าเราให้ความสำคัญกับตัวเองและงาน และเรายังสามารถคุยกับหัวหน้า ขอประเมินใหม่ได้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมค่ะ

ที่มา Fastcompany

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า