SHARE

คัดลอกแล้ว

แหล่งข่าวจากกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรม(ก.ต.)รายหนึ่งแจ้งว่า ในเร็วๆนี้จะมีการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษา และตำแหน่งอื่นๆประจำปี2564 หลังจากตำแหน่งหลักเช่นประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ตามบัญชี1 และบัญชี 2 ไปแล้ว และปรากฏข่าวล่าสุดจากสำนักข่าวแห่งหนึ่งว่า นายประสิทธิ์ เจริญถาวรโภคา รองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (อ.ก.ต.) ได้ประกาศลาออกกลางที่ประชุม เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา เพราะไม่เห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของ อ.ก.ต. เสียงข้างมาก ในการแต่งตั้งผู้พิพากษารายหนึ่ง ให้ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  ซึ่งโดนร้องเรียนว่ามีส่วนเข้าไปพัวพันกับการแทรกแซงกระบวนการต่อสู้คดีข้อพิพากษาที่ดินจำนวน 46 แปลง ระหว่างบริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่งกับคู่กรณี ซึ่งมีคดีฟ้องร้องกันจำนวนหลายคดีทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง จนกระทั่งบริษัทต้องยอมจ่ายเงินชดเชยจำนวน 400 ล้านบาท โดยกรณีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสอบสวนเเละเตรียมสรุปเเละจัดส่งสำนวนให้สำนักงานปปช.ดำเนินการต่อไป

แหล่งข่าวกล่าวว่า เรื่องนี้น่าสนใจเพราะที่ผ่านมาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารศาลยุติธรรมบางเรื่องไม่ค่อยโปรงใส และยังไม่มีข้อชี้แจงออกมาให้กระจ่าง และน่ากังวลกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการศาลยุติธรรมปีนี้ว่าจะมีปัญหาตามมาหรือไม่  โดยกรณีที่นายประสิทธิ์อ้างไว้ล่าสุด เมื่อเทียบกับกรณีที่นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบภาค 1 ปฏิบัติภารกิจชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ยื่นฟ้อง นายอนุวัตร มุทิกากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, น.ส.มรกต วัฒนรุ่งเรืองยศ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และนายนรินทร์ ทองคำใส รองเลขานุการศาลฎีกา เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา ม.157 รวมทั้งยื่นฟ้องประธานศาลฎีกาเป็นจำเลยหมายเลขคดีดำที่ อท.93 /2564 ต่อ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหา เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157 ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายปรเมษฐ์ไปปปฏิบัติภารกิจชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยต้องติดตามว่าในปีนี้นายปรเมษฐ์จะได้ขยับเป็นผู้พิพากษาอาวุโสหรือไม่ โดยคณะอนุกรรมการ ก.ต. พิจารณามีมติเห็นชอบคุณสมบัติของนายปรเมษฐ์ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2560แล้ว แต่ทราบว่ามีการย้อนกลับมาให้อนุกรรมการ กต. พิจารณากรณีนายปรเมษฐ์ขึ้นมาใหม่ก่อนส่งให้ที่ประชุมกต.พิจารณาอีกครั้ง เพราะกรณีนายปรเมษฐ์นั้นยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดออกมาจากการสอบสวนของสำนักงานศาลยุติธรรมและการวินิจฉัยของศาลอาญาคดีทุจริตฯ

แหล่งข่าวกล่าวว่า รวมทั้งกรณีเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ซึ่งนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์คดีชำนาญการพิเศษ และอดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ได้ทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกาและสำนักงานปปช.โดยอ้างว่าในช่วงกลางเดือนเม.ย.64 ที่ผ่านมา เรื่อง “ขอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมาย กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย ว่า ข้าราชการตุลาการกระทำผิดวินัย กรณีหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการตุลาการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนนเลือกบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ”ก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ เพราะก.ต.ชุดปัจจุบันจะมีส่วนในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรมประจำปีนี้ด้วย

แหล่งข่าวกล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่5ก.ค.ที่ผ่านมานายศิษฎ์ กรรณวัฒน์  ได้ยื่นฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยยื่นฟ้องนส.ปิยกุล  บุญเพิ่ม ประธานศาลอุทธรณ์และนายศุภณัฐ ยิ่งวิริยะ  ผู้พิพากษาศาลแพ่งใต้ ข้อหาผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์,ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยระบุเบื้องต้นว่านส.ปิยกุลและนายศุภณัฐวินิจฉัยคดีหมายเลขดำที่ ผบ231/2564และคดีหมายเลขแดงที่ ผบ 233/2564 ซึ่งนายศิษฎ์ฟ้องร้องธนาคารกรุงเทพ ในคดีสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองว่าไม่เป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่วินิจฉัยคดีหมายเลขแดงที่ ผบ 300/2562 ที่วินิจฉัยในคดีลักษณะเดียวกันว่าเป็นคดีผู้บริโภค  ซึ่งการวินิจฉัยดังกล่าวของนส.ปิยกุลขัดกับแนวฎีกา  โดยนส.ปิยกุลจะรับตำแหน่งประธานศาลฎีกาต่อจากนางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่30ก.ย.

แหล่งข่าวกล่าวว่ารวมทั้งกรณีพล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และผู้ก่อตั้งองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงผู้พิพากษาบางท่าน ที่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดออกมาสร้างความวุ่นวายให้สังคม(แกนนำกลุ่มสามนิ้วบางคนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบผิดเงื่อนไขปล่อยตัวชั่วคราว) ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรมหลายคนกังวลใจเพราะศาลเป็นผู้ตัดสินในกระบวนการยุติธรรมชั้นสุดท้าย เมื่อเหตุการณ์ต่างๆข้างต้นปรากฏขึ้นก็กังวลว่าจะเกิดวิฤตตุลาการจากบุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมและกระแสจากสังคมภายนอกอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า