SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ‘วิษณุ’ ชี้ ยังไม่จำเป็นต้องออกเป็น ‘พ.ร.ก.นิรโทษกรรมวัคซีน’ แนะกระทรวงสาธารณสุข ทบทวนให้รอบคอบ

วันที่ 11 ส.ค. 2564 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีกระแสคัดค้าน และต่อต้านการออกร่างพระราชกำหนดจำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่จะดำเนินการ โดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมองว่าอาจเป็นการนิรโทษกรรมให้กับรัฐบาลที่บริหารจัดการวัคซีนผิดพลาด ว่า

ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (10 ส.ค. 64) ได้มีการสอบถามประเด็นดังกล่าวกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ซึ่งชี้แจงว่า เป็นเพียงการหารือของคณะแพทย์ หลังได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรทางการแพทย์ที่กังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ ยังไม่ถึงขั้นการการยกร่างของกระทรวงสาธารณสุข และยังไม่มีการเสนอมายัง ครม.แต่อย่างใด จึงไม่มีใครทราบรายละเอียดของเนื้อหาเป็นอย่างไร

“ขอย้ำว่ายังไม่มีใครรู้เรื่อง ไม่มีใครเคยเห็นร่างดังกล่าวด้วยซ้ำไป และผมได้แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขกลับไปคิดให้ดี เพราะสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องทำขนาดนั้น และอาจไม่เข้าข่ายที่จะสามารถออกเป็น พ.ร.ก.ได้” นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับแนวทางที่จะให้บุคลากรทางการแพทย์เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ใน ศบค. เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น สามารถดำเนินการได้ แต่อาจไม่ครอบคลุม หรือให้ความคุ้มครองตามกฎหมายได้ทุกคน และจะรวมไปถึงบุคลากรด่านหน้า เช่นอาสาสมัครต่างๆ ด้วยหรือไม่ ทางกระทรวงสาธารณสุขต้องนำไปพิจารณา

(ที่มา : Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร)

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวในที่ประชุมครม.นั้น นายวิษณุ ได้สอบถาม นายอนุทิน ถึงที่มาที่ไปของ พ.ร.ก.ฉบับนี้

โดยนายอนุทิน ชี้แจงว่า ตนก็ยังไม่เห็นกฎหมายฉบับเต็ม เพราะยังยกร่างไม่เสร็จ อยู่ในขั้นตอนของกระทรวง และถึงอย่างไรกระทรวงสาธารณสุขจะต้องมาปรึกษากับนายวิษณุอยู่แล้ว พร้อมกับเล่าที่มาของกฎหมายดังกล่าวว่า เรื่องนี้เริ่มจากที่ประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข เห็นพ้องต้องกันว่าบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโควิด-19 มีความกังวลในการทำงาน เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย 1-2 หมื่นคนต่อวัน ผู้ป่วยบางคนไม่ได้รับความสะดวก โรงพยาบาลสนามบางแห่งไม่มีเครื่องเอกซเรย์

นายวิษณุ ได้ที่บอกว่า ที่จริงถ้ากังวลกันมาก ต้องการความมั่นใจ ต้องการความคุ้มครอง ทางออกก็มีโดยไม่ต้องออกเป็น พ.ร.ก. ก็ได้ แต่ให้ดึงบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั้งหมดมาเป็นเจ้าพนักงานของ ศบค. ก็จะได้รับความคุ้มครองภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ถ้ายังไม่มั่นใจอีก แล้วต้องการออกเป็นพ.ร.ก.จริงๆ ก็อยากให้นำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือเรื่องที่ต้องการแก้ไขอื่นๆ เช่น เรื่องวัคซีน โรงพยาบาลสนาม ให้มารวมใน พ.ร.ก.ฉบับนี้ด้วย ไม่ใช่นิรโทษกรรมเพียงเรื่องเดียว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า