SHARE

คัดลอกแล้ว

กลายเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ หลังที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 เดินหน้าสนับสนุน ‘รัฐบาลดิจิทัล’ โดยมีมติให้หน่วยงานราชการต้องใช้ ‘อีเมล’ เป็นการสื่อสารหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป

แม้เรื่องดังกล่าวจะทำให้การทำงานในหน่วยงานราชการทันสมัยรับโลกดิจิทัลมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า “สำหรับคนรุ่นใหม่นั้น การใช้อีเมลกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว”

ทั้งนี้ แม้คนรุ่นใหม่อย่างชาวเจเนอเรชั่น Z หรือผู้ที่เกิดในปี 1997-2012 จะเห็นด้วยกับแนวคิดบางอย่างของคนรุ่นก่อนหน้า และนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้อีกครั้งภายใต้เทรนด์วินเทจอย่างกางเกงยีนส์เอวต่ำ หรือแนวเพลงป็อปพังก์

แต่ถึงอย่างนั้น คนกลุ่มนี้กลับไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องของสิ่งที่เริ่มใช้งานตั้งแต่ในปี 1965 อย่างอีเมลสักเท่าไหร่นัก และมีแนวโน้มว่าจะชอบสื่อสารด้วยช่องทางอื่นมากกว่า

งานวิจัยจากบริษัทที่ปรึกษา Creative Strategies ที่เผยแพร่ออกมาในปี 2020 ระบุว่า เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มหลักที่ใช้สำหรับทำงานนั้น เป็นสิ่งที่มีเรื่องของช่องว่างระหว่างวัยอยู่

โดยผลสำรวจพบว่า อีเมล์เป็นเครื่องมืออันดับต้นๆ ที่คนอายุ 30 ปีขึ้นไปใช้ในการทำงานร่วมกัน

ขณะที่คนที่อายุน้อยกว่า 30 ปีใช้ Google Docs เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับทำงานร่วมกันมากที่สุด รองลงมาคือ Zoom และ iMessage

‘อดัม ซิมมอนส์’ อายุ 24 ปี ระบุว่าตนชอบสื่อสารผ่านตัวอักษรบนแพลตฟอร์มอะไรก็ได้ ยกเว้นอีเมล ทั้งนี้ ซิมมอนส์อาศัยอยู่ในลอสแองเจลิส และเริ่มทำบริษัทผลิตวิดีโอของตัวเอง หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนในปี 2019

ซึ่งในการสื่อสารกับพนักงาน 8 คน และลูกค้าของเขาที่ส่วนใหญ่เป็นทีมกีฬาต่างๆ โดยหลักซิมมอนส์จะอาศัยการส่งข้อความผ่านอินสตาแกรม และการโทรด้วย Zoom

“อีเมลเหมือนเป็นแหล่งสร้างความเครียดทั้งหมดของชีวิตจากพื้นที่เดียว และทำให้รู้หมดไฟ (Burnout) มากขึ้นไปอีก” ซิมมอนส์กล่าว และว่า

“เวลาที่เราเข้าอีเมลและตั้งใจจะดูงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราก็ต้องเห็นอีเมลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลทวงค่าเช่าจากเจ้าของบ้าน, บิลเรียกเก็บเงินจากเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ ซึ่งทำให้ผมคิดว่านั่นเป็นวิธีใช้ชีวิตที่ไม่ดีเท่าไหร่”

จุดเปลี่ยนที่ทำให้ซิมมอนส์แตกหักกับใช้อีเมลทำงาน คือการพบว่าอีเมล์เรื่องงานจากทีมเบสบอลอย่าง Seattle Mariners หายไปในโฟลเดอร์สแปมของเขา

“อีเมลเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้วจริงๆ” ซิมมอนส์กล่าว ก่อนจะชี้ให้เห็นว่าการใช้อีเมลยังประสบปัญหากับการที่ข้อความที่ไม่ใช่สแปม ไปปรากฏอยู่ในโฟลเดอร์สแปม นอกจากนี้เวลาจะส่งวิดีโอก็ต้องอัพโหลดคลิปในที่อื่นอย่าง Google Drive ก่อนส่งอีเมลอีกด้วย

ซิมมอนส์ยังระบุอีกว่า อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาไม่ชอบการใช้อีเมลเท่าไหร่นัก เป็นเพราะการใช้อีเมลทำให้เขารู้สึกพะวงกับการต้องเช็กตลอดเวลาว่ามีอีเมล์จากหัวหน้าส่งมาหาเขาหรือไม่ และนั่นเป็นสิ่งที่สร้างความเครียดให้กับเขา

ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดโดยบริษัทที่ปรึกษา Deloitte ยังพบว่า 46% ของชาวเจน Z ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขารู้สึกเครียดตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลาของปี 2020 และ 35% ระบุว่าพวกเขาต้องหยุดงานเนื่องจากความเครียดและความวิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม ความเครียดจากกล่องจดหมายในอีเมล ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนรุ่นใหม่เท่านั้น เพราะในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา จากการพูดคุยถึงประเด็นภาวะหมดไฟเนื่องจากการระบาดของโควิด สำนักข่าวอย่าง The New York Times ก็ได้รับข้อความจากผู้อ่าน ซึ่งหลายคนระบุว่าส่วนหนึ่งมาจากการใช้อีเมล

โดยบางคนระบุว่า “ในวันที่แย่ที่สุด การเปิดอ่านอีเมลก็ทำให้ฉันเสียน้ำตาได้”

ขณะที่อีกหลายรายระบุว่า “ทุกครั้งที่ได้รับอีเมล ความรู้สึกเหมือนกับถูกแทง เพราะกลายเป็นว่าฉันมีงานงอก มีอีกสิ่งที่ฉันต้องทำ”

ข้อเสียของการใช้อีเมล์ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นจากการระบาดของโควิดที่ทำให้คนต้องทำงานที่บ้านและติดต่อกันผ่านอีเมล ซึ่งทำให้การใช้อีเมล์เข้ามาแทนที่การพูดคุยกันแบบ face-to-face มากกว่าเดิม

และการตัดสินใจต่างๆ ร่วมกันของเพื่อร่วมงาน ที่แต่เดิมเกิดขึ้นบนโต๊ะประชุม กลับถูกผลักไสให้มาอยู่ในกล่องข้อความของอีเมลแทน

นอกจากนี้ หลายคนยังระบุอีกว่า การโต้ตอบด้วยการ reply ไปมาบนอีเมล์เป็นจำนวนมาก ทำให้พวกเขาสูญเสียความสามารถในการติดตามงานอื่นๆ, สร้างวัฏจักรการทำงานที่ไม่ได้เกิดประสิทธิภาพ และทำให้รู้สึกแย่มากขึ้น

ทั้งนี้ สาเหตุนานัปการทำให้บางคนพยายามเลิกใช้อีเมล์มาหลายปีแล้ว โดยนักเขียนอย่าง ‘แคล นิวพอร์ต’ ผู้เขียนหนังสือ ‘A World Without Email: Reimagining Work in an Age of Communication Overload’ ระบุว่า

“กล่องจดหมายคือการปกครองแบบเผด็จการที่ทำให้เราสูญเสียสมาธิ เพราะต้องสลับไปมาระหว่างการใช้อีเมล, สแลค (Slack) และงานอื่นๆ ที่กองพะเนินอยู่ในสมอง ที่ทำให้เรายังรู้สึกท้อแท้, เหนื่อยล้า และกังวล เพราะสมองของมนุษย์ไม่สามารถจัดการได้ขนาดนั้น”

ในปี 2017 งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังระบุอีกว่า โดยทั่วไปกล่องจดหมายมีอีเมล์ยังไม่ได้อ่านเฉลี่ยอยู่ที่ 199 ฉบับ และปัจจุบัน ระยะเวลากว่า 16 เดือนที่โควิดระบาดที่ทำให้คนต้องทำงานจากบ้าน ก็ยิ่งทำให้กล่องจดหมายของเหล่าพนักงานออฟฟิศขยายใหญ่ มีอีเมลเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ

คนรุ่นใหม่ยังให้เหตุผลอีกว่า แม้การใช้ช่องทางอื่นจะมีข้อเสียที่ส่งผลต่อความสมดุลในการใช้ชีวิต แต่การใช้ภาษาทางการที่ยุ่งยากและรุงรังของอีเมล ก็ทำให้พวกเขาเลือกใช้ช่องทางอื่นมากกว่าอยู่ดี

ยกตัวอย่าง แฮร์ริสัน สตีเวนส์ วัย 23 ปี ที่เริ่มทำบริษัทเสื้อผ้าวินเทจขณะกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน ก่อนจะเปิดร้านของตัวเองจริงจังหลังจบการศึกษาในปี 2020

แฮร์ริสันระบุว่าเขาส่งเบอร์ส่วนตัวให้กับลูกค้า และติดต่อกับลูกค้าผ่านการโทรและส่งข้อความ ซึ่งช่วยให้การติดต่อง่ายขึ้น แต่ก็มาพร้อมปัญหาใหม่คือทำให้เขาขาด work-life balance หรือไม่มีสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตที่ชัดเจน

แต่ถึงอย่างนั้น เขาระบุว่าการส่งอีเมลเป็นเหมือนสิ่งบ่งบอกถึงความวิตกกังวลทางสังคมเกือบทั้งหมดที่คนเราจะมีเลยก็ว่าได้ และเขาคิดว่าหลายคนพบเหมือนกันว่าการส่งข้อความนั้นง่ายกว่าและสะดวกกว่าการเขียนอีเมล

เขายังระบุอีกว่า เพราะการส่งอีเมลนั้นให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ามีสายตามากมายจับจ้องอยู่ คนส่งจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ และทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนกดส่งอีเมลออกไป ขณะที่การพิมพ์ข้อความบนมือถือ ใช้ความเป็นทางการน้อยกว่าอีเมลมาก

ขณะที่ ‘ออโรรา บิกเกอร์ส’ นักข่าววัย 22 ปี ระบุว่า แม้ตนจะเคยให้เบอร์โทรส่วนตัวและได้รับข้อความมากมายจนละเมิดเวลาส่วนตัวไป แต่ก็คิดว่าคนรุ่นเธอคงไม่ค่อยนิยมใช้อีเมลเป็นการสื่อสารหลัก จากปัญหาหลักคือในอีเมลนั้น ‘มีส่วนที่ไม่จำเป็น’ มากเกินไป

“เป็นไปได้เลยที่จะคาดหวังว่าอีเมล์จะเป็นรูปแบบการสื่อสารหลัก เพราะคนจำนวนมากไม่ได้ทำงานที่ต้องนั่งอยู่ในออฟฟิศและได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมล”

“ฉันไม่คิดว่าเราควรคาดหวังว่าคนอื่นจะสื่อสารกับเราด้วยวิธีนี้” ออโรรากล่าว

ท้ายที่สุด สิ่งที่น่าคิดคือ ในยุคที่คนรุ่นใหม่อย่างชาวเจน Z กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดแรงงานมากขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่บริษัทและองค์กรต่างๆ ต้องหาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม และสมดุลกับความต้องการของแต่ละวัย

เพื่อให้ติดต่อสื่อสารพูดคุยเรื่องงาน เป็นเรื่องง่าย ทันสมัย เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และไม่ทำร้ายจิตใจใครนั่นเอง!

อ้างอิง:

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/955227

https://www.nytimes.com/2021/07/10/business/gen-z-email

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า