SHARE

คัดลอกแล้ว
วัคซีน ‘ซิโนแวค’ (Sinovac) กลายเป็นประเด็นร้อนระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งหนึ่งในข้อกล่าวหาที่ถูกพูดถึงมาก คือเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค ในการต่อต้านไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์เดลตา
วันนี้ workpointTODAY รวบรวมผลวิจัยประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวคจากทั่วโลก ซึ่งเป็นผลวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ที่โลกต้องเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลตาอย่างรุนแรง มาให้อ่านกัน

วันที่ 27 ส.ค. 2564 งานวิจัยในประเทศบราซิลเปิดเผยประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ยี่ห้อ ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และซิโนแวค (Sinovac) โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากการใช้จริงของประชากรเกือบ 61 ล้านคนในบราซิล ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา

ข้อมูลจากการใช้จริงพบว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนซิโนแวค ทั้งในแง่การป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาล และป้องกันการเสียชีวิต

โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าครบโดส ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ 70% ป้องกันอาการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ 86.8% และป้องกันการเสียชีวิต 90.2% ขณะที่ผลการใช้จริงของวัคซีนซิโนแวค พบมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ 54.2% ลดความเสี่ยงป่วยเข้าโรงพยาบาล 72.6% และป้องกันการเสียชีวิต 74.09%

นักวิจัยในบราซิลระบุว่า ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันระหว่างวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวค อาจเป็นผลจากเทคโนโลยีในการพัฒนาที่แตกต่างกัน รวมทั้งประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนทั้งสองยี่ห้อด้วย

วันที่ 20 ส.ค. 2564 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนโควิด-19 ซึ่งศึกษาผ่านอาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ใช้การทดสอบด้วยวิธีเดียวกัน ในผู้ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน

ผลการศึกษาพบว่า หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มีภูมิคุ้มกันขึ้นสูงสู้การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มไม่ได้ และเมื่อทดสอบการต่อต้านไวรัสเดลตาที่มีชีวิต พบว่าซิโนแวคสองเข็มจะปกป้องได้ไม่ดีเท่าแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งสอดคล้องกับรายงานที่พบการติดเชื้อเดลตาจำนวนมากในผู้ที่เคยฉีดซิโนแวค 2 เข็มมาก่อน อย่างไรก็ดี ก็ยังพบว่าวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มยังป้องกันการติดเชื้ออย่างรุนแรง และการเสียชีวิตได้ค่อนข้างสูงมากกว่า 70%

ขณะที่การตรวจภูมิต่อไวรัส งานวิจัยของศิริราชพบว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม พบภูมิในร่างกาย 229 หน่วย น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการพบภูมิหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม และการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยศิริราชพบว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบภูมิ 1,355 หน่วย มากกว่าการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่น้อยกว่าภูมิที่ได้จากวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มเล็กน้อย

วันที่ 13 ส.ค. 2564 โฆษกคณะทำงานด้านโควิด-19 ของรัฐบาลอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. น้อยลงเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.

โดยข้อมูลประสิทธิภาพในเดือน เม.ย.-มิ.ย. พบว่า วัคซีนซิโนแวคป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ 53% ลดลงจากข้อมูลช่วงต้นปีที่อยู่ที่ 74% ขณะที่ประสิทธิภาพป้องกันการเสียชีวิตของวัคซีนซิโนแวคก็ลดลงจาก 95% เมื่อต้นปี เหลือ 79% ในเดือน เม.ย.-มิ.ย.

แม้โฆษกคณะทำงานโควิด-19 ของรัฐบาลอินโดนีเซีย จะไม่ได้ให้เหตุผลว่า ทำไมวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพลดลง แต่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าอาจเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา ที่เริ่มระบาดรุนแรงในอินโดนีเซียตั้งแต่ช่วงกลางปี สอดคล้องกับรายงานข่าวในช่วงหลังที่พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้ว ติดเชื้อโควิด-19

วันที่ 8 ก.ค. 2564 นักวิจัยเผยแพร่ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวคจากการใช้จริงกับประชาชนราว 10.2 ล้านคนในประเทศชิลี เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.-1 พ.ค. ที่ผ่านมา

ผลการวิจัยพบว่าวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อมีอาการ 65.9% ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาล 87.5% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 86.3%

เว็บไซต์ Global Times สื่อของจีน ซึ่งนำผลการวิจัยมาเผยแพร่ระบุว่า การวิจัยชิ้นนี้มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้อ้างอิงได้ เนื่องจากชิลีเป็นประเทศที่มีอัตราตรวจเชื้อสูงสุดในแถบละตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีระบบสาธารณสุขที่เข้าถึงได้

สื่อของจีนย้ำว่า แม้ในเวลาต่อมา ชิลีจะเผชิญกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นในช่วงกลางเดือน พ.ค.-มิ.ย. แต่ผู้เชี่ยวชาญของจีนชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อพุ่งสูง เป็นเพราะมาตรการของรัฐบาลที่ไม่ประกาศล็อกดาวน์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า