SHARE

คัดลอกแล้ว

การสูบบุหรี่นอกจากจะสร้างผลร้ายต่อสุขภาพของนักสูบแล้ว ยังส่งผลร้ายต่อคนรอบข้างและสังคมไทยในฐานะผู้สูบบุหรี่มือสองและผู้สูบบุหรี่มือสามได้แบบไม่ตั้งใจอีกด้วย หรือกล่าวได้ว่า “บุหรี่” นั้นไม่เป็นผลดีต่อใครเลย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กรที่ขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพแก่คนไทย กำหนดให้ “การควบคุมยาสูบ” เป็น 1 ใน 15 แผนหลัก เพื่อสร้างสังคมปลอดบุหรี่และสังคมสุขภาวะที่น่าอยู่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

เกือบ 20 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานของ สสส. ที่ร่วมกับพันธมิตรกว่า 1,000 กลุ่ม สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักสูบไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ลดเหลือร้อยละ 17.4 จากร้อยละ 19.1 ในปี 2560 สอดคล้องกับผลการดำเนินงานควบคุมยาสูบของไทยตั้งแต่ปี 2554 – 2560 ทำให้มีคนสูบบุหรี่ลดลงเฉลี่ย 72,319 คนต่อปี

เพื่อให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมปลอดบุหรี่ (Smoke free Society) ได้อย่างเต็มรูปแบบ สสส. จึงเดินหน้าร่วมมือกับศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และอีก 12 องค์กรพันธมิตร จัดงานประชุมวิชาการบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 หรือ 13th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13th APACT 2021 Bangkok) ผ่านระบบออนไลน์สตรีมมิ่งขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคลากร 37 ประเทศทั่วโลก รวมกว่า 4,000 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนสังคมปลอดบุหรี่กับประเทศไทย นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงร่วมมือกันเป็นพันธมิตรใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมปลอดบุหรี่ไปด้วยกัน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนประเด็นการควบคุมยาสูบว่า การเดินเรื่องราวเหล่านี้เป็น 1 ใน 15 แผนหลัก การทำงานสร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมสุขภาวะให้คนไทย ที่ สสส. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธศาสตร์ไตรพลัง ที่ผสมผสานระหว่างพลังปัญญา พลังนโยบาย และพลังสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้าง Smoke Free Thailand เพื่อนำไปสู่ Tobacco Endgame และ Smoke Free Generation เพื่อลดปริมาณการบริโภคยาสูบให้เป็นศูนย์ในอนาคต ด้วยวิธีต่าง ๆ

อาทิ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของคนไทยให้มีความกล้าที่จะปกป้องสิทธิของตนเองและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้สูบบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoke : SHS) และบุหรี่มือสาม (Thirdhand Smoke : THS) ผ่านแคมเปญรณรงค์ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ การส่งเสริมกลไกควบคุมยาสูบในระดับจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนการวิจัยและการลงทุนด้านความรู้ในด้านที่จำเป็นต่อการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานและผลักดันนโยบายใหม่ได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

แม้ว่า สสส. จะมีพันธมิตรกว่า 1,000 กลุ่มแล้ว แต่ก็จะยังคงเดินหน้าร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย บุคลากรทางการศึกษา องค์กรด้านสุขภาพ หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคมเช่นนี้ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็น Smoke Free ได้อย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้นี้” ดร.สุปรีดา บอกเล่าในงานเสวนาครั้งนี้

ด้าน ศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา รองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้เปิดเผยข้อมูลถึงแผนการดำเนินงานต่อไปที่จะร่วมทำกับ สสส. และพันธมิตรรายอื่น เพื่อสร้างสังคมปลอดบุหรี่ว่า ในขณะที่อัตราคนสูบบุหรี่น้อยลง แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่ากังวลอยู่คือ “บุหรี่ไฟฟ้า” เพราะถึงแม้ประเทศไทยจะมีปริมาณคนสูบบุหรี่ลดน้อยลงเรื่อย ๆ และมีกฎหมายห้ามจำหน่ายอุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิดมาตั้งแต่ต้น แต่กลับมีจำนวนผู้สูบเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2563 ชี้ว่าแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสาเหตุหลัก คือ นักสูบรับรู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ เชื่อว่าเป็นยาช่วยเลิกบุหรี่ได้ และคิดว่าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย

“ดังนั้นหากต้องการก้าวสู่สังคมปลอดบุหรี่ ก็ควรเปลี่ยนความเข้าใจผิดเหล่านี้ให้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อน และจำเป็นต้องมีมาตรการใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายครั้งต่อไปที่ประเทศไทยต้องร่วมกันก้าวผ่านไปให้ได้”

แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของสสส. และองค์กรพันธมิตรเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ ภาคีเครือข่ายเพื่อการควบคุมยาสูบของไทยจึงได้ร่วมประกาศปฏิญญาควบคุมยาสูบ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งกระบวนการ Tobacco Endgame สร้างสังคมปลอดบุหรี่ที่ยั่งยืนในงานนี้ด้วย

โดยนายสุวินัย จิระบุญศรี นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมประชุม Youth Program of APACT 2021 เป็นตัวแทนกล่าวปฏิญญาว่า กลุ่มเครือข่ายเยาวชนไทยและเยาวชนนานาชาติ ขอประกาศปฏิญญาขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสร้างสังคมปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน 5 ประการ คือ สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างค่านิยมและให้ความรู้แก่เยาวชนอย่างถูกต้องในเรื่องพิษภัยของบุหรี่เพื่อรู้เท่าทันอุตสาหกรรมยาสูบ ขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายดำเนินการระงับการขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์อย่าง โปร่งใสตรงไปตรงมา ปรับปรุงกฎหมายกำกับและระงับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อ Social media ทุกช่องทาง และสนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เป็นหนึ่งในกรรมการของกิจกรรมการควบคุมการบริโภค ยาสูบ เพราะเยาวชนคือ “เหยื่อ” คนสำคัญของอุตสาหกรรมยาสูบ

ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 เป็นเพียงหนึ่งในการดำเนินงานตามภารกิจการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ของสสส. และองค์กรพันธมิตรเท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะยังมีความร่วมมือดี ๆ เช่นนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทั่วไปสามารถติดตามได้ที่ https://www.thaihealth.or.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า