SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐสภาจะมีการประชุมร่วม ส.ส.และ ส.ว. เพื่อพิจารณาลงมติวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) ในวันศุกร์ที่ 10 ก.ย. 2564

สรุปเรื่องสำคัญในการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ 

“ระบบใหม่” จากการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 64

– จำนวน ส.ส. เขต 400  คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน

– ระบบเลือกตั้งแบบ ผสมตามเสียงข้างมาก (MMM หรือ Mixed Member Majoritarian)

– บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ (เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ)

– อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ได้มีการแก้ไขเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้ ส.ว.  250 คน ยังคงเลือกนายกฯ เหมือนเดิม

จากระบบเดิมเลือกตั้งปี 62

– จำนวน ส.ส. เขต 350 และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน (จากการคำนวณ ส.ส.พึงมี)

– ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม

– บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ

– การเลือกนายกรัฐมนตรี ในเสียงจาก ส.ส. และ ส.ว.

 

3 เกณฑ์ ที่ร่างแก้รัฐธรรมนูญจะผ่าน

1. เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ปัจจุบันรัฐสภา มีเสียงที่โหวตได้ 730 เสียง (ส.ว. 250 + ส.ส. 480) โดยกึ่งหนึ่งของรัฐสภา คือ 365 เสียง ต้องได้เสียงโหวตมากกว่า 366 เสียงขึ้นไป

ข้อมูลวันที่ 8 ก.ย. 2564 นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ส.ส. พรรคภูมิใจไทย 2 คน คือ นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง และ นายภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ จากกรณีคำสั่งศาลฎีกา ได้มีคำสั่งรับคำร้องคดีระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช. กับ ส.ส.ทั้งสองคนดังกล่าว

2. เสียงเห็นชอบจาก ส.ว. 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง

3. เสียงเห็นชอบจาก ส.ส. ฝ่ายค้าน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20

ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2560 (ุ6) ระบุ “การออกเสียงคะแนนในวาระที่ 3 ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

 

จับท่าทีของฝ่ายต่างๆ 

ฝ่ายสนับสนุน

พรรคการเมืองที่ออกตัวสนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มากๆ ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้เสนอร่างฯ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทย ที่จากการอภิปรายในวาระ 2 ที่ผ่านมา เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การกลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จะสะท้อนความต้องการจากประชาชนได้มากกว่าการเลือกตั้งด้วยบัตรใบเดียว

ฝ่ายคัดค้าน

พรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นพรรคขนาดกลางและพรรคเล็ก มีทั้งพรรคภูมิใจไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย  และล่าสุดที่ 7 พรรคเปิดแถลงข่าวในวันที่ 8 ก.ย. 2564 โดยรวมที่คัดค้านมองว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหญ่มากกว่าสะท้อนเสียงที่แท้จริงของประชาชน

ส.ว.ตัวแปรสำคัญ  

ส่วนท่าทีของ ส.ว. ก่อนหน้านี้มี นายวันชัย สอนศิริ ที่ออกมาระบุว่า มีสัญญาณไม่ปกติ ที่ว่า ส.ว. อาจไม่ผ่านให้เหมือน วาระ 2 แต่หลังจากการแสดงความเห็นของนายวันชัยแล้วก็ยังไม่มีท่าทีอื่นใด ต้องติดตามว่าวันโหวต 10 ก.ย.นี้ จะมีการผันแปรอะไรหรือไม่ อย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับสัญญาณ-รวมความเห็น ก่อนโหวตร่างแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ศุกร์นี้ 10 ก.ย. 64

กลุ่ม 7 พรรคเล็ก ประกาศมีมติคว่ำร่างแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ที่จะโหวต 10 ก.ย.นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า