SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายปีที่ผ่านมาบริษัทใน Silicon Valley ต่างมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำเซ็นเซอร์และกล้องเข้ามาผนวกกับชีวิตประจำวันของผู้คนนับพันล้านคนบนโลกนี้

แต่ถึงอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่าบริษัทเหล่านี้มักล้มเหลวที่จะบรรลุผลดังกล่าว เนื่องจากผู้คนยังหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์สวมใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่จะต้องมาอยู่บนใบหน้าอย่างเช่น ‘แว่นตาอัจฉริยะ’

หากยังจำกันได้ แว่นตาอัจฉริยะแรกที่ทั่วโลกเริ่มรู้จักก็คือ ‘Google Glass’ ที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 2013 ด้วยราคา 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะวางขายไปทั่วโลกในปี 2014

คุณสมบัติเด่นคือมาพร้อมกับหน้าจอความละเอียดสูงเหมือนมองจอขนาด 25 นิ้วที่อยู่ห่างออกไป 8 ฟุต, กล้องความละเอียด 5 เมกะพิกเซล, ถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด 720p, เชื่อมต่อ Wi-Fi และบลูทูธได้, มีหน่วยความจำภายใน 12 GB

สามารถแสดงผลข้อมูลจากสมาร์ทโฟน หรือ Google Accounts บนหน้าจอของแว่นตาได้, รับสายโทรเข้า, ส่งข้อความ, แสดงแผนที่, แสดงผลการค้นหา เรียกได้ว่าเป็นแว่นตาที่สุดแสนจะอัจฉริยะ

แต่ทว่า แว่นตาของกูเกิลนี้กลับได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก และถูกตั้งคำถามว่ากูเกิลอาจล้มเหลวในการปฏิบัติตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวหรือไม่

และแม้ว่ากูเกิลพยายามจะรีแบรนด์แว่นตาดังกล่าวให้เป็นอุปกรณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ เช่น ศัลยแพทย์ หรือคนในโรงงาน แต่คำวิพากษ์วิจารณ์และคำถามที่ยังมีต่อเนื่อง ทำให้กูเกิลตัดสินใจยุติการผลิตทั้งหมดในปี 2015

จากนั้นในปี 2017 กูเกิลหยิบโปรเจ็กต์แว่นตาอัจฉริยะมาปัดฝุ่นใหม่ในชื่อว่า Glass Enterprise Edition ที่ตั้งเป้าเจาะไปที่ลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมาช่วยสนับสนุนการทำงานในสถานที่บางแห่ง เช่น โรงงานและคลังสินค้า

ก่อนที่ในปี 2019 จะปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่นใหม่ในชื่อ Glass Enterprise Edition 2 ที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น โลจิสติกส์, การผลิต หรือการแพทย์ เป็นต้น โดยมีราคาอยู่ที่ 999 ดอลลาร์สหรัฐฯ

และในปัจจุบันรายงานข่าวระบุว่ากูเกิลยังคงเดินหน้าธุรกิจในส่วนของ Glass Enterprise Edition 2 อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีทีท่าว่าจะทำโปรดักต์สำหรับลูกค้าทั่วไปออกมาจำหน่ายแต่อย่างใด หลังจากพับโปรเจ็กต์ไปตั้งแต่ปี 2015 อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น

แล้วทำไมแว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลถึงล้มเหลว?

ไม่ใช่เพียงแค่การไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว รวมถึงราคาที่แพงไปมากเท่านั้น แต่ความล้มเหลวของแว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลยังมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย คือ

-การไม่มีความสามัคคีกันในหมู่ของนักประดิษฐ์ ว่าจะให้ Google Glass มีการใช้งานหลักไปที่ด้านใด โดยกลุ่มหนึ่งบอกว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่อีกกลุ่มคิดว่าควรใส่เพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน

นั่นทำให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และยากที่จะให้ผู้ใช้เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และใช้งานตามนั้นได้

-การออกแบบล้มเหลว นักออกแบบไม่มีการกำหนดที่ชัดเจนว่ากำลังพัฒนาอะไรให้กับผู้ใช้เป้าหมาย ทำให้ในตอนแรกที่เปิดตัว ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ไม่เห็นความจำเป็นถึงประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน จนไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Google Glass จะล้มเหลว แต่ดูเหมือนว่าแว่นตาอัจฉริยะของเฟซบุ๊กจะไม่เป็นแบบนั้น

โดยหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อค่ำคืนวันพฤหัสบดีที่ 9 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา แว่นตาอัจฉริยะของเฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า Ray-Ban Stories ก็เรียกเสียงฮือฮาจากทั่วทั้งโลกได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ด้วยคุณสมบัติเด่นอย่างถ่ายรูปได้, ถ่ายคลิปวิดีโอสั้นๆ ได้, รับสายโทรศัพท์, ฟังเพลงและพอดแคสต์ได้, แชร์ภาพและคลิปที่ถ่ายจากแว่นลงบนโซเชียลได้อย่างง่ายดาย

ทำให้ผู้ใช้ที่ได้ทดลองใช้แล้ว สัมผัสได้ถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยที่อยู่เหนือแฟชั่น พร้อมที่จะก้าวไปสู่โลกอนาคตที่โลกความจริงและเทคโนโลยีเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ

ทั้งนี้ แว่นตาอัจฉริยะดังกล่าวมาพร้อมกับกล้องคู่ความละเอียด 5 เมกะพิกเซล ถ่ายวิดีโอได้สูงสุด 30 วินาที โดยบนแว่นจะมีปุ่มแคปเจอร์ หรือสามารถใช้คำสั่งเสียงของ Facebook Assistant ลั่นชัตเตอร์แทนก็ได้

ขณะที่ลำโพงเป็นแบบ open-ear ติดตั้งมาในตัว ส่วนไมโครโฟนถูกติดตั้งมา 3 ตัว เพื่อมอบเสียงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับการโทรและการบันทึกวิดีโอ รวมถึงยังมีเทคโนโลยี Beamfoming และอัลกอริทึมลดเสียงรบกวนอีกด้วย

แว่นตา Ray-Ban Stories ยังสามารถจับคู่กับแอปพลิเคชั่น Facebook View เวอร์ชั่นใหม่ ที่ทำให้ผู้ใช้แชร์เรื่องราวลงในโซเชียลมีเดียได้

โดยแอปดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้แล้วบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถบันทึกภาพและวิดีโอต่างๆ จากแว่นลงโทรศัพท์ได้ด้วย

และแน่นอนว่าเฟซบุ๊กก็ถูกตั้งคำถามถึงเรื่องนโยบายความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เช่นกัน เช่น จะมีการใช้แว่นนี้แอบถ่ายภาพหรือคลิปผู้อื่นได้โดยไม่ได้อนุญาตหรือไม่ แล้วจะป้องกันได้อย่างไร?

โดย ‘มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก’ ซีอีโอเฟซบุ๊กย้ำว่าเฟซบุ๊กจะไม่รุกล้ำข้อมูลของผู้ใช้หากไม่ได้รับอนุญาต

เพื่อขจัดข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ในขณะที่กำลังถ่ายภาพ ที่แว่นตาจะมีแสงไฟ LED สว่างขึ้น เพื่อให้คนที่อยู่รอบๆ ทราบว่ากำลังจับภาพอยู่

และเมื่อผู้ใช้ตั้งค่าบนแอป Facebook View ระบบจะแสดงข้อความแจ้งให้ผู้ใช้งาน “เคารพผู้อื่นที่อยู่รอบตัวคุณ” และจะถามว่า “รู้สึกเหมาะสม” หรือไม่ที่จะถ่ายรูปหรือวิดีโอในขณะนั้นๆ

ทั้งนี้ นอกจากดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่น่าจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้ในราคาที่เอื้อมถึง คือเริ่มต้น 299 ดอลลาร์ หรือราว 9,700 บาท

และด้วยความล้ำสมัยแบบไม่ไกลเกินตัว ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญเพื่อไปสู่ Metaverse ที่ซัคเคอร์เบิร์กระบุว่าเป็นการที่โลกจริงและโลกเสมือนหลอมรวมกันชนิดที่แยกไม่ออก

ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Ray-Ban Stories ของเฟซบุ๊ก กลายมาเป็นแก็ดเจ็ตฮิตได้ไม่ยาก แต่จะปังขนาดไหน คงต้องติดตาม!

อ้างอิง:

https://www.vizaca.com/google-glass-things/

https://www.nytimes.com/2021/09/09/technology/facebook-wayfarer-stories-smart-glasses.html

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า