SHARE

คัดลอกแล้ว

นายจ้างเลิกจ้างหญิงตั้งครรภ์ อาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันที่ 17 ก.ย. 2564 นางโสภา เกียรตินิรชา โฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีมีข่าวลูกจ้างหญิงร้องเรียนว่า ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ และนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ทั้งค่าจ้างการทำงาน ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

 

โดยได้มอบหมายให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนนทบุรี (สสค.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สรพ.5) เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2564 ว่าบริษัทเลิกจ้างเพราะเหตุมีการตั้งครรภ์ และลูกจ้างผู้ร้องมีความประสงค์เรียกร้องเงินตามกฎหมาย ได้แก่ ค่าจ้างจากการทำงาน ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดย สรพ.5 ได้ส่งคำร้องให้ สสค.นนทบุรี ดำเนินการเนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ โดยพนักงานตรวจแรงงานได้สอบข้อเท็จจริงในส่วนของลูกจ้างและรวบรวมหลักฐานเอกสารและจะเรียกนายจ้างมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการต่อไป

“หากปรากฏว่า นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์จริง ถือว่านายจ้างกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ พนักงานตรวจแรงงานจะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามและไม่นำคดีขึ้นสู่ศาล ถือว่านายจ้างได้กระทำความผิดอาญา ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย” นางโสภา กล่าว

 

นางโสภา ยังกล่าวอีกว่า กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิงมีครรภ์เป็นพิเศษ คือ การกำหนดลักษณะงานบางประเภทที่ห้ามไม่ให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงาน เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม หรืองานที่ทำในเรือ เป็นต้น

รวมไปถึงการกำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงซึ่งมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 – 06.00 น. เนื่องจากหญิงมีครรภ์ต้องได้รับการพักผ่อนในเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอ และต้องไม่ให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด เว้นแต่จะเป็น กรณีที่ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ หรืองานเกี่ยวกับการเงิน บัญชี นายจ้างอาจจะให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่ไม่กระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า