Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลศึกษาการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เข้าในชั้นผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี สู้กับเดลตาได้ ขณะผลข้างเคียง พบน้อยกว่าฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ศึกษาการทดสอบภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยจากการได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ทั้งนี้วิธีฉีดวัคซีนโดยทั่วไป มี 3 วิธี คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แทงเข็ม 90 องศา ตัวอย่างวัคซีน วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน รวมถึงวัคซีนโควิด 

ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เข็ม 45 องศา  ตัวอย่างวัคซีน วัคซีนรวมหัด คางทูมและหัดเยอรมัน วัคซีนไข้สมองอักเสบ

การฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง เข็ม 10 – 15  องศา ตัวอย่างวัคซีนที่ฉีด วัคซีน BCG (วัณโรค) วัคซีนพิษสุนัขบ้า ซึ่งการฉีดวิธีนี้มีความยากกว่า 2 วิธีแรก เพราะต้องมีทักษะพอสมควร  

แต่ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มคิดเรื่อนี้ เพราะโดยทั่วไปการฉีดเข้าในชั้นผิวหนังจะใช้จำนวนวัคซีนน้อยว่าถึง 1 ใน 5 

ในงานวิจัยของเรา ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนกา อายุระหว่าง 18 – 60 ปี จำนวน 95 คน  แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 

กลุ่มแรกฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 โดส (0.5 ml.)เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 30 คน

กลุ่มที่ 2 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 31 คน (ระยะศึกษา 4-8 สัปดาห์) 

และกลุ่ม 3 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส (0.1 ml.)ฉีดเข้าในผิวหนัง  จำนวน 34 คน (ระยะศึกษา 8-12 สัปดาห์) 

โดยทำการศึกษาจากการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน (Antibody responses) และการตอบสนองของทีเซลล์ (T cell responses)  

ผลการศึกษา 14 วันหลังจากได้รับการกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า 

กลุ่มที่ 1 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 โดส เข้ากล้ามเนื้อ ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1652.0 AU (Arbitrary Unit ) 

ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1300.5 AU (Arbitrary Unit ) จากเดิมหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 128.7 AU (Arbitrary Unit ) 

นอกจากนี้ระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดเข้าในผิวหนังสามารถยับยั้งได้ถึง 234.4 AU (Arbitrary Unit ) จากเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งได้ 16.3 AU (Arbitrary Unit ) 

ส่วนการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีหน้าที่สู้กับไวรัสเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีการทำงานของทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมที่ดีขึ้นกว่าเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม 

 นพ.ศุภกิจ  กล่าวว่า การวิจัยนี้ดูในเรื่องของความปลอดภัยและภูมิคุ้มกัน ปรากฏว่า การฉีดในชั้นผิวหนัง พบผลข้างเคียงที่เป็นอาการเฉพาะที่มากกว่า เช่น คลำแล้วเป็นไต กดแล้วเจ็บ คัน ร้อน ปวด บวม แต่อาการทั่วไปในภาพรวม เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อย หอบเหนื่อย ปวดหัว พบน้อยกว่า 

ซึ่งการฉีดวัคซีนด้วยวิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนังยังไม่ได้ใช้ทั่วไป ยกเว้นบางพื้นที่ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แต่ต่อไปถ้าจะมีการเร่งเข็มบูสเตอร์ให้ครอบคลุม การฉีดวิธีนี้จะครอบคลุมและทำให้ได้รับเข็มสามครบเร็วขึ้น ที่สำคัญการฉีดวิธีนี้ใช้วัคซีนน้อยกว่า และผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ผลภูมิคุ้มกันได้ผลใกล้เคียงกับการฉีดแบบเดิม 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า