SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ ตอบผ่านโฆษกรัฐบาล ไม่วิตก ปมนั่งเก้าอี้ครบ 8 ปี มีฝ่ายกฎหมายดูแลอยู่ ‘วัฒนา เมืองสุข’ เสนอทางออกใช้เสียง ส.ส. ส.ว. เข้าชื่อร้องประธานสภา ก่อน 24 ส.ค. ปี 65

วันที่ 28 ก.ย. 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยคำตอบ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กรณีปม มาตรา 158 วรรคสี่ ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” ที่ฝ่ายค้านจะศาลรัฐธรรมนูญตีความ ว่า

“ก็ต้องไปศึกษาดูว่านายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งมา 2 ครั้ง ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใด ซึ่งมีฝ่ายกฎหมายพิจารณาเรื่องนี้อยู่แล้ว นายกฯ ต้องวิตกทำไม เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ”

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคไทยสร้างไทย เสนอทางออกของเรื่องนี้ ต้องอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสามที่ให้นำความในมาตรา 82 มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของความเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ด้วย

โดย ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่า สมาชิกภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 158 วรรคสี่ เมื่อยื่นคำร้องแล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ส่วน ส.ส. หรือ ส.ว. จะยื่นคำร้องได้ก็ต้องเริ่มจากวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มต้นที่มีข้อถกเถียงว่าการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีแล้วหรือไม่

(แฟ้มภาพ)

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564า นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า หากนับการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2557 ก็จะครบ 8 ปี ในปี 2565 ประเทศไทยก็มักจะตีความกฎหมายแบบศรีธนญชัยเยอะ จึงทำให้มีการตีได้ 2 แนวทาง คือ

1.การดำรงตำแหน่งนายกฯ จะมีผลตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้เป็นต้นไป หากตีความแบบนี้ก็จะหมายความว่าไม่นับรวมอายุการดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนปี 2560 ดังนั้น จะครบ 8 ปีในปี 2567 และ

2. ตีความตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คือต้องนับอายุการดำรงตำแหน่งตั้งแต่เป็นนายกฯ เป็นต้นมา ซึ่งก็คือจะครบ 8 ปี ในเดือน ส.ค. 2565

อย่างไรก็ตาม นายสุทิน ระบุในวันดังกล่าวว่า ฝ่ายค้านยังไม่ได้หารือกันในประเด็นนี้ แต่เราจะต้องแสวงหาการยุติที่เป็นบรรทัดฐานต่อไป โดยการยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า