SHARE

คัดลอกแล้ว

เชื่อกันว่าทุกคนที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ต้องรู้จักแอปพลิเคชันที่สะกดด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเขียว 4 ตัว “GRAB” เพราะเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว ที่แอปพลิเคชันนี้เข้ามาเปลี่ยนวิถีคนไทย ทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเก่า ไม่ว่าจะเป็น บริการเรียกรถ บริการรับส่งพัสดุสิ่งของ บริการเดลิเวอรี่สั่งอาหาร จนถึงบริการด้านการเงิน 

เป้าหมายของบริการทั้งหมด ที่กล่าวมานั้น วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการบริหาร (Executive Director) แกร็บ ประเทศไทย บอกว่า มีขึ้นเพื่อยกระดับชีวิตของคนไทย ภายใต้พันธกิจ “GrabForGood”  หรือ “แกร็บ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า”

“ส่วนตัวผมทำงานสายธนาคารมาก่อน ถ้าจะให้เล่าย้อนไป คือมันมีคนที่เข้าไม่ถึงระบบธนาคารเยอะมาก ความหมายของคำว่าเข้าไม่ถึงระบบธนาคารคือ หากวันนี้ผมเดือดร้อนเรื่องเงิน จำเป็นต้องไปกู้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะขอกู้แล้วได้ เพราะว่าปัจจุบันระบบธนาคารรวมถึงบริษัทที่ให้สินเชื่อ เขาจะให้สินเชื่อก็ต่อเมื่อ คุณมีสินทรัพย์ไปค้ำประกัน หรือ มีเอกสารหลักฐานแสดงรายได้อย่างชัดเจน ซึ่งต้องบอกตรงๆ ว่า มากกว่าครึ่งของคนไทยทั้งประเทศ ไม่มีทั้ง 2 อย่างนี้ 

เมื่อผมย้ายเข้ามาทำงานที่แกร็บ ด้วยอิสระที่เรามี ด้วยการบริหารของแกร็บ รูปแบบของอีโคซิสเต็มที่แกร็บทำ มันทำให้เรามีความสามารถที่จะสร้างสรรค์ทางออกมาแก้โจทย์ตรงนั้นได้  เช่น การออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้กับคนขับแกร็บ ด้วยความที่เราเข้าใจว่าคนขับมีรายได้แบบรายวัน และใช้แบบรายวัน เราจึงออกแบบสินเชื่อให้เหมาะสมกับคนกลุ่มนี้ ที่ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่ต้องมีเอกสาร ผ่อนแบบรายวัน และดอกเบี้ยต่ำ หรือบางผลิตภัณฑ์ไม่มีดอกเบี้ยเลย ซึ่งตรงนี้ได้ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้แก่พาร์ทเนอร์ของเราได้”

“GrabForGood” หรือ “แกร็บ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” คือคำที่ กรรมการบริหาร แกร็บ ประเทศไทยคนนี้ เน้นย้ำเดินหน้าธุรกิจ เขาอธิบายว่า “นี่ไม่ใช่กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)” แต่คือหัวใจหลักที่แกร็บยึดถือเป็นทางปฏิบัติต่อการทำงานมาตั้งแต่ต้น

“ถ้าเอาธีมใหญ่ก่อน คือการที่เราบอกว่าทำอย่างไรที่ แกร็บ ในฐานะบริการด้านแพลตฟอร์ม จะถูกนำมาใช้ประโยชน์กับคนในภูมิภาคนี้ เช่น ถ้าเป็นคนไทยจะทำอย่างไรให้คนไทยได้ประโยชน์สูงที่สุด ทั้งในแง่ของตัวแพลตฟอร์ม และในแง่ของเทคโนโลยีที่แกร็บมีอยู่ หลายองค์กรอาจจะแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างพันธกิจ เพื่อที่จะเดินหน้าทำตามเป้าหมายทางธุรกิจ กับเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคม แต่สำหรับแกร็บมันมีความแปลก ที่ว่า สองบริบทนี้รวมกันอยู่ หรือเรียกได้ว่าอยู่ใน DNA ของแกร็บเลย” 

หากมองให้ลึกลงไป สามารถอธิบายคำว่า “GrabForGood” ให้เข้าใจง่ายและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน 3 ประเด็น

      1. “Good การสร้างรายได้” (Creating income opportunities) ถือเป็นพันธกิจหลัก และพันธกิจแรกเริ่มของการก่อตั้งแกร็บในทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เราต้องการยกระดับชีวิตของคนที่ยังขาดโอกาส ให้สามารถสร้างรายได้ หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ผ่านบริการต่างๆ ที่แกร็บมีและพยายามคิดค้นให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ
      2. “Good การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล” (Promoting digital inclusion)
        แกร็บต้องการเดินหน้าให้ทุกครัวเรือนเข้าถึงช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งบทบาทสำคัญของแกร็บ ประเทศไทย คือการสร้างช่องทางสอนให้คนรู้จักการใช้เทคโนโลยี เพราะจะเป็นส่วนสำคัญต่อการยกระดับวิถีชีวิตให้ดีขึ้นในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต
      3. “Good รักษาสิ่งแวดล้อม” (Reducing environmental impact) แกร็บมุ่งหวังว่า บริการที่เกิดขึ้นจากบริษัท ต้องช่วยลดมลภาวะที่จะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ เช่น โครงการลดการใช้พลาสติกจากร้านอาหาร ผลักดันการใช้รถไฟฟ้า (EV) ที่จะช่วยลดพลังงานสกปรก เป็นต้น

“สองหัวข้อแรก การสร้างรายได้ และการส่งเสริมการเข้าถึงระบบดิจิทัล ถือเป็นเป้าหมายหลักของภาครัฐแทบจะทุกประเทศในภูมิภาคนี้ ที่อยากจะเสริมรายได้ให้คนในประเทศ ให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กขนาดย่อม สามารถยกระดับตัวเองขึ้นมา มียอดขายเพิ่มขึ้น มีระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแกร็บในฐานะแพลตฟอร์ม เราจะทำอย่างไรที่จะเร่งอัตราการใช้เทคโนโลยีของคนในประเทศสูงขึ้น เพื่อทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของ SMEs หรือ ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศนี้มันสูงขึ้นตาม

การสร้างรายได้ของคนในประเทศ ต้องบอกว่ามันคือ Vision ตั้งแต่ผู้ก่อตั้ง จนมาถึงผู้บริหาร เราได้เห็นว่า หลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปัญหาเรื่องช่องทางรายได้ เราอยากจะทำอย่างไรก็ได้ ให้คนที่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีมีโอกาสมากขึ้น เพราะฉะนั้น การส่งเสริมการสร้างรายได้จึงถือเป็นเป้าหมายสำคัญของแกร็บ และคนของแกร็บก็เชื่อในสิ่งนี้เป็นอย่างมาก

ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อม ผมมองว่ามันมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เราทุกคนควรจะช่วยกัน  ซึ่งเราเห็นความสำคัญ และอยากจะผลักดันทำให้มันดีขึ้น อย่างล่าสุดเพิ่งมีปล่อยฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้บริการของแกร็บสามารถร่วมบริจาคเงินสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ได้ทุกครั้งที่เดินทางกับเรา”

GrabForGood กับสมดุลในอีโคซิสเต็ม”

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา หลายบริษัทในไทยต่างต้องเผชิญกับปัญหา “วรฉัตร ลักขณาโรจน์” บอกว่าแกร็บไม่ได้นิ่งนอนใจ และเข้าใจว่าเราคือบริษัทที่หลายชีวิตต้องพึ่งพาในช่วงเวลานี้ แน่นอนว่าเราไม่รอช้าที่จะเดินหน้าและให้ความช่วยเหลือ

“ตั้งแต่โควิดเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่แกร็บ และทีมงานทราบดีคือ บทบาทของเราเปลี่ยนไป เรามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสิ่งต่างๆมากขึ้น มากกว่าช่วงก่อนโควิด เพราะมีคนที่ต้องพึ่งพาเราเยอะ เช่น ภาคส่วนต่างๆออกมาบอกว่า คนขับจะทำอย่างไรเพื่อการันตีว่ารายได้จะไม่ลดลง ขณะที่ร้านอาหารก็บอกว่า มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก แกร็บจะช่วยเขาอย่างไร ผู้บริโภคเองก็บอกว่า เราต้องอยู่บ้านเยอะนะ คุณอย่าให้บริการแพงไปกว่านี้”

แน่นอนว่าหลักสำคัญที่แกร็บเลือกใช้เพื่อฝ่าวิกฤตต่างๆ คือการบริหาร อีโคซิสเต็มของธุรกิจ” ให้มีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยงานของแกร็บ ที่มีหลายส่วนเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง และต่างเกื้อหนุนกัน แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงต้องมองจากภาพกว้างที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง

      1. ผู้บริโภค (ผู้โดยสาร หรือ คนสั่งอาหาร) ที่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่าค่าบริการแพงเกินไป เพราะ ถ้าลูกค้าไม่สั่ง ร้านอาหารหรือคนขับก็ไม่มีรายได้ ดังนั้น อันดับแรกเราต้องมั่นใจก่อนว่าจะมีคนสั่ง
      2. พาร์ทเนอร์คนขับที่มีค่าใช้จ่ายหลายด้าน ทั้งค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา หรือค่าบำรุงรักษารถ จึงต้องมั่นใจว่าการให้บริการ ผ่านแกร็บจะเหมาะสมกับค่าเหนื่อย
      3. พาร์ทเนอร์ร้านค้า หรือ พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร ที่บางส่วนต้องการให้ลดค่า GP หรือคอมมิชชั่น แต่หากการลดค่าคอมมิชชั่นกระทบต่อคนอื่นๆ ในระบบ เราก็ต้องมาดูว่าจุดไหนคือจุดที่สมดุล 
      4. แพลตฟอร์มผู้ให้บริการ (แกร็บ) ที่สถานะทางบัญชียังติดลบ แม้ตอนนี้บริษัทจะยังอยู่ได้ด้วยเงินลงทุนต่างๆ และอยู่ในสถานะที่แบกรับไหว แต่หากบริษัทยังเอาตัวไม่รอด คงจะไปช่วยคนอื่นไม่ได้ 

ดังนั้น การสร้างสมดุลของอีโคซิสเต็มระหว่างผู้บริโภค พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร พาร์ทเนอร์คนขับ และตัวแพลตฟอร์มเอง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ที่ทุกฝ่ายต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย และปรับตัวเข้าหากัน ไม่เช่นนั้น อีโคซิสเต็มก็จะเดินหน้าต่อไปได้ลำบาก

“ถ้าเปรียบอีโคซิสเต็มธุรกิจของเราเป็นเหมือนบ้านหลังหนึ่งที่มี 4 เสา แต่ละเสามีบทบาทหน้าที่สำคัญเพื่อให้อีโคซิสเต็มมันอยู่ได้ ถ้าหากมีบางเสาสูงกว่าหรือต่ำกว่า เสาที่เหลือก็จะต้องแบกรับน้ำหนักแทน จนทำให้บ้านอาจจะเอียงและพังลงมา หน้าที่ของแกร็บคือ เราจะทำอย่างไรให้ทั้ง 4 เสามีความสมดุลกันมากที่สุด และคนในบ้านสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ตรงนี้ถือเป็นความท้าทายที่เราต้องระมัดระวัง แต่ในระยะสั้นแกร็บตระหนักดีว่าทุกคนล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด เราเองก็พยายามเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการออกโปรโมชั่นเพื่อลดภาระผู้บริโภค มีการให้ส่วนลดค่าคอมมิชชันกับร้านอาหาร หรือการสนับสนุนร้านค้าผ่านโครงการสู้ไปด้วยกัน รวมถึงล่าสุดที่แกร็บร่วมใน โครงการคนละครึ่งกับภาครัฐซึ่งเราจะลดค่าคอมมิชชันให้ร้านค้าที่ร่วมโครงการเหลือเพียง 20%”

เติบโตเคียงกันไป สร้างรายได้ให้ทุกคน คือเป้าหมายต่อไปของแกร็บ” 

การสร้าง Double Bottom Line จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ ด้วยการทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้ และคนในอีโคซิสเต็มได้รับประโยชน์สูงสุดร่วมกัน นี่คือเป้าหมายระยะยาวที่แกร็บจะโฟกัสมากกว่า เพราะอยากให้ทั้งแพลตฟอร์มและพาร์ทเนอร์เติบโตเคียงกันไปอย่างมั่นคง

คำนิยาม “GrabForGood” ในมุมมองของ “วรฉัตร ลักขณาโรจน์” คงต้องบอกว่า คือการเดินหน้าทำธุรกิจในรูปแบบที่สร้างความสุข สร้างความพึ่งพอใจ ไม่ว่าจะพาร์ทเนอร์ หรือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันแกร็บ มุ่งหวังที่จะสร้างรอยยิ้ม พร้อมยกระดับชีวิตให้กับทุกคน

“แอปพลิเคชันแกร็บมันตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย มันมีความโปร่งใสในเรื่องของราคา เรื่องการให้บริการ ความปลอดภัย ยิ่งช่วงแรกๆ ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ช่วงที่แกร็บฟู้ดเปิดให้บริการ ตอนนั้นยิ่งชอบใหญ่เลย เพราะอยากจะสั่งร้านอร่อยก็สามารถสั่งได้ ยิ่งร้านดังๆ ตามตรอกตามซอยยิ่งหาที่จอดรถไม่ได้ เรารู้สึกว่าเราถูกใจเรื่องพวกนี้มาก 

และพอเรายิ่งมองไปในโมเดลของธุรกิจ มันก็มีความน่าสนใจที่ว่าโมเดลของแกร็บมันทำให้คนขับแท็กซี่ ที่ต้องไปจอดรถรอตามถนน มีโอกาสที่จะรับงานเพิ่มได้มากขึ้น ร้านอาหารที่อยู่ตามตรอกตามซอย ก็มีโอกาสในการขยายช่องทางมากขึ้น พอเราเข้ามาทำงานก็ยิ่งพบว่า สิ่งเหล่านี้มันยิ่งจริงเข้าไปอีก เพราะเป้าหมายของเราคือการทำให้ Grab เป็นสิ่งที่ Good สำหรับทุกคนจริงๆ ซึ่งผมเองก็มีความตั้งใจที่จะทำหน้าที่ตรงนี้อย่างดีที่สุดให้เป้าหมายนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงและยั่งยืน” วรฉัตร กล่าวทิ้งท้าย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า