SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำไม “กรุงเทพ” เมืองหลวงของเราถึงเป็นเมืองที่ผลสำรวจต่างชาติบอกว่า เหมาะแก่การ Workation มากที่สุดในโลก แต่พอดูผลสำรวจด้านของ Work Life Balance กลับพบว่า กรุงเทพเป็นเมืองที่ได้คะแนนต่ำต้อยน้อยนิด

มันเกิดอะไรขึ้น?
ทำไมกรุงเทพถึงอยู่หัวตารางในผลสำรวจหนึ่ง แต่อยู่ท้ายตารางในอีกผลสำรวจได้ TODAY Bizview สรุปประเด็นนี้ อธิบายให้อ่านในโพสต์เดียว

กรุงเทพ เมืองแห่ง Workation เบอร์ 1 โลก

ในยุคที่เราพูดถึงการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from anywhere) ไม่ใช่แค่ในออฟฟิศหรือที่บ้าน แต่มันเป็นยุคของการทำงานได้ทุกที่ ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต

หนึ่งในกระแสที่มาแรงคือ “Workation” ที่มาจากคำว่า Work + Vacation แปลเป็นไทยก็คือ “ทำงานไปด้วย พักผ่อนและท่องเที่ยวไปด้วย”

รู้หรือไม่ว่า “กรุงเทพ” ติดอันดับเมืองที่น่ามา Workation เป็นเบอร์ 1 ของโลก ส่วนภูเก็ตติดอันดับ 10 ของโลก

ผลสำรวจของ Holidu บริษัทให้ข้อมูลและค้นหาสถานที่พักผ่อนจากอังกฤษ ทำการจัดอันดับเมืองทั่วโลกกว่า 150 แห่งสำหรับ Workation โดยจัดอันดับจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
-ค่าเช่ารายเดือนของอพาร์ตเมนต์แบบ 1 ห้องนอน
-ค่าเครื่องดื่มหลังเลิกงาน
-ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่แดดออกต่อวัน
-ความเร็ว Wi-Fi
-กิจกรรมต่างๆ น่าสนใจในเมือง โดยจะใช้ข้อมูลจาก 8 แหล่งมาวิเคราะห์ด้วย โดยรวมถึงเว็บไซต์ BestCities.org และ Tripadvisor.co.uk

ส่วนเหตุผลที่ทำให้กรุงเทพครองอันดับ 1 คือค่าครองชีพที่ไม่แพง, ความสามารถทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูง, สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย, มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลกมากมาย และมีสำนักงานของบริษัทข้ามชาติหลายบริษัท

ชัดเจนว่า กรุงเทพเป็นเมืองที่เหมาะแก่การ Workation ในสายตาของคนนอกประเทศ แต่พอกลับมาดูใประเทศ อีกผลสำรวจหนึ่งพบความจริงบางอย่าง

กรุงเทพ เมืองแห่ง Work Life Balance ยอดแย่

ผลสำรวจของ Kisi บริษัทเทคโนโลยีให้คำปรึกษาด้านการทำงาน ได้จัดทำผลสำรวจในหัวข้อ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021” 

ในผลสำรวจชิ้นนี้นำเอาปัจจัยหลายอย่างมาวิเคราะได้แก่ ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน, จำนวนวันลาขั้นต่ำ, สิทธิในการลาคลอด/เลี้ยงดูลูก, การเข้าถึงระบบสาธารณสุขในเมือง, ผลกระทบและการเยียวยาในยุคโควิด, ความปลอดภัยในเมือง คุณภาพของอากาศในเมืองรวมถึงมลพิษอย่าง PM 2.5 และ PM 10 ในเมือง ฯลฯ

ผลปรากฏว่าเมืองที่มีการทำงานที่สมดุลที่สุดในโลกแห่งปี 2021 คือเมืองในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย 

โดย 3 อันดับแรกได้แก่
-เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ (ได้ 100 คะแนนเต็ม)
-ออสโล ประเทศนอร์เวย์ (ได้ 98.6 คะแนน)
-ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ได้ 91.5 คะแนน) 

ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 ได้แก่ สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ค

ผลสำรวจ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021” ของ Kisi

ผลสำรวจ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021” ของ Kisi

สำหรับประเทศไทยรั้งท้ายตาราง กรุงเทพติดอันดับที่ 49 จากทั้งหมด 50 เมืองทั่วโลก มีคะแนนรวมชนะเพียงเมืองเดียวคือกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

มากกว่านั้น ถ้าเจาะไปดูที่ประเด็นเรื่องการทำงานหนัก พบว่า กรุงเทพติดอันดับ 3 จากท้ายตาราง หรือพูดง่ายๆ คือกรุงเทพเป็นเมืองที่มีคนทำงานหนักมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของผลสำรวจนี้

กรุงเทพของเราไม่เท่ากัน 

โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่ากรุงเทพเป็นเมืองที่มีโอกาสและอุปสรรค ในแง่หนึ่งคือมีโอกาสในการต่อยอดทางเศรษฐกิจจากการเป็นเมืองที่น่ามา Workation มากที่สุดในโลก แต่ก็มีอุปสรรคด้วย นั่นคือคุณภาพชีวิตของคนทำงานในเมืองที่ไม่ดีนัก

ถึงที่สุด นี่อาจเป็นโอกาสครั้งสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย และถ้าเราจริงจังกับประเด็นนี้ ต้องเข้าใจว่าการจะสร้าง Workation ให้เกิดในไทยได้ ไม่สามารถมาจากโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมาจากการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างไปพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม คำตอบในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่ในผลสำรวจ/ผลการศึกษาที่ระบุไว้ชัดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงการทำงานที่สมดุล, ความยืดหยุ่นในการทำงานที่ดี และรวมไปถึงประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิตในเมือง ความปลอดภัยในเมือง คุณภาพของอากาศในเมือง ฯลฯ

ประเด็นเหล่านี้ถ้าทำดีๆ Workation อาจเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของไทยก็เป็นได้…

[คำถามทิ้งท้าย] 

แล้วตอนนี้ ภาครัฐไทยกำลังทำอะไรกับกระแส Workation ?

ภาครัฐไทยกำลังผลักดัน Workation

ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตัวโครงการ Workation Thailand “ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ: Work from Everywhere” โดยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

แน่นอนว่า ภาครัฐไทยออกโครงการมารองรับกระแสนี้ โดยแนวคิดคือต้องการเปลี่ยนทุกที่ของไทยให้เป็นที่ทำงาน

ททท. ไปจับมือโรงแรมทั่วไทยให้จัดแพ็คเก็จ Workation ราคาตั้งแต่หลักหลายพันไปจนถึงหลักหลายหมื่น ต้องการดึงดูดให้บริษัทพาพนักงานไปนั่งทำงานและพักผ่อนท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ทั่วไทย เช่น
-จัดทริปนอนโรงแรมหรู ทำงานและพักผ่อนไปด้วย
-จัดทริปกินปูที่จันทบุรี พร้อมทำ CSR สายอนุรักษ์ปลูกป่า
-จัดทริปพาพนักงานไปประชุมบนเรือยอร์ชที่พัทยา
ฯลฯ

ส่วนบริษัทที่ได้ไปร่วมทริปของ ททท. ในโครงการ Workation Thailand ล้วนเป็นบริษัทรายใหญ่ทั้งสิ้น เช่น บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด

อย่างไรก็ดี ททท. บอกไว้ด้วยว่า โครงการ Workation Thailand จะมีการมอบรางวัลและจะได้โล่ประกาศเกียรติคุณจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงรางวัลสมนาคุณต่างๆ ในกรณีที่บริษัทนั้นๆ มีคะแนนในการซื้อแพ็กเกจสูงสุด โดยระดับการใช้จ่ายที่จะได้รับรางวัลต้องมีการใช้จ่ายตั้งแต่ 500,000 – 2,000,000 บาท

อ้างอิง

https://www.workationthailand.com/ 

https://www.getkisi.com/work-life-balance-2021

https://www.cnbc.com/2021/08/29/here-are-the-worlds-top-spots-for-working-vacations.html 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า