Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไทยนอกจากการเยียวยาฟื้นฟูแผลเป็นทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แล้ว คือการกลับไปโฟกัสกับเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่แม้ว่าไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศได้ในสัดส่วนที่มากที่สุดของตัวเลข GDP แต่เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง การเดินทางข้ามประเทศกลายเป็นสิ่งต้องห้ามไปชั่วขณะ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตรงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

‘ดอน นาครทรรพ’ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ชวนคิดถึงการแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาวของเศรษฐกิจหลังโควิด-19 รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน และการจ้างงานที่ต้องเร่งให้เกิดการ Reskill & Upskill รองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้โมเมนตัมเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไป

ท่องเที่ยวซบเซายาว อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมาแรง

ในระยะสั้นดอนมองว่า วัคซีนน่าจะช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตจากความเสี่ยงของไวรัสไปได้สักระยะหนึ่ง ส่วนในระยะยาวจะเป็นเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมด โดยเขาให้ความเห็นว่า โควิด-19 มีส่วนทำให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่มีภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจตัวหลัก และมีสัดส่วนตัวเลขต่อ GDP มากที่สุด แต่ถามว่า หลังจากนี้ไทยควรเปลี่ยนโฟกัสไปที่เครื่องจักรตัวอื่นๆ โดยสิ้นเชิงเลยหรือไม่ คำตอบคืออย่างไรก็ยังไม่สามารถทิ้งการท่องเที่ยวไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไทยเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันเรื่องท่องเที่ยวค่อนข้างสูง 

แต่ด้วยสถานการณ์ที่ผ่านมา โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมนี้ และในอนาคตอันใกล้ที่แม้จะมีการฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวนหนึ่ง ตัวเลขนักท่องเที่ยวก็น่าจะยังไม่กลับมาด้วยจำนวนเท่าเดิมอยู่ดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่มีสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์คงไม่กลับเข้าไทยเร็วๆ นี้เช่นกัน ฉะนั้น ในช่วงที่อุตสาหกรรมดังกล่าวยังขับเคลื่อนต่อไปไม่ได้ จึงมีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ทดแทนควบคู่ไปด้วย อย่างการส่งออกในปีนี้ที่มีตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ รวมถึงการผลักดันอุตสาหกรรมจำพวก hi-technology และ medical tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ไทยค่อนข้างแข็งแรง

ปรับโครงสร้างหนี้ไม่พอ ต้องเพิ่มการจ้างงานเข้าไปด้วย

ตัวเลขหนี้ครัวเรือน ณ ปัจจุบันลดลงมาจากช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังนับว่าสูงมากคืออยู่ที่ร้อยละ 90 ต่อ GDP ปัญหาสำคัญไม่ใช่การก่อหนี้ หรือจำนวนหนี้ แต่เป็นความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการจ้างงาน จะหลุดพ้นจากกับดักหนี้ได้ต้องมีเงินเข้ามาเติมเต็มด้วย และในสถานการณ์โลกหลังโควิด-19 แบบนี้ยังมีปัญหาทับซ้อนอีกอย่าง นั่นคือแรงงานไม่อาจไปต่อได้ด้วยทักษะแบบเดิมๆ ต้องมีการ Reskill & Upskill อย่างจริงจัง ดูเทรนด์ในอนาคตว่า ทักษะแบบไหนที่กำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมและภาคเอกชน ต้องทำสองสิ่งนี้ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มกำลังแรงงานเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลควบคู่กันไป

“หนี้กับการจ้างงานเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก ของเราเองก็ถือว่าหนักมาก ในขณะที่หนี้ภาคธุรกิจตัวหนี้อาจจะไม่ได้เยอะ แต่ปัญหาคือความสามารถในการชำระหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ไม่อย่างนั้นจะมีผลกระทบไปทั่ว แบงก์ชาติมีมาตรการออกมาหลายอย่าง ทั้งเรื่องให้พักชำระหนี้ชั่วคราว และเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหนี้

แล้วก็พยายามกระตุ้นสถาบันการเงินในการปรับโครงสร้างหนี้ ออกมาตรการที่มีแรงจูงใจ

“แต่จะบอกให้ปรับโครงสร้างอย่างเดียวคงช่วยไม่ได้ มันผูกกับการจ้างงานด้วย ถ้าปรับแล้วไม่มีเงินก็ไปไม่รอด เรื่องของการ Reskill & Upskill ที่ทำให้คนได้การจ้างงานกลับเข้ามาถือเป็นมาตรการที่ภาครัฐควรจะเร่ง คนตกงานตอนนี้อาจจะไม่ได้เยอะมากแต่ในอนาคตโลกจะเปลี่ยนไปเยอะ ยังไงก็ต้องพยายามเพิ่มทักษะให้แรงงาน สำคัญคือจะช่วยตอบคำถามก่อนหน้าด้วยว่า ถ้าต้องการจะขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมดิจิทัล เทคโนโลยี ก็ต้องเริ่มจากการ Reskill & Upskil”

แรงงานกลับเข้าระบบเพื่อดูแลอย่างทั่วถึง

การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานจากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาทำได้ค่อนข้างยากลำบาก และต้องยอมรับตามตรงว่าอาจจะไม่ทั่วถึงอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุสำคัญเป็นเพราะแรงงานบางส่วนไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูลที่รัฐตรวจสอบได้ ฉะนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งทำคือจัดสรรให้คนเหล่านี้กลับเข้ามาอยู่ใน formal economy นี่คือเหตุผลสำคัญที่รัฐตกหล่น และเยียวยาแรงงานที่เดือดร้อนได้ไม่ทั่วถึง 

“สิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลพยายามทำกันอยู่ คือจะจัดสรรให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลรัฐได้อย่างไร อันหนึ่ง คือทำให้เราช่วยเหลือพวกเขาลำบากเพราะระบุตัวตนยาก ที่สำคัญ คือถ้าไปอยู่ในข้อมูลแล้วนอกจากเหตุการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ ในอนาคตต่อไปเรื่องของรัฐสวัสดิการไทยจะมีความสำคัญมากขึ้น การที่เขาได้อยู่ในระบบมีส่วนช่วยให้ชีวิตเขามีความมั่นคงมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่เคยอยู่ในระบบภาษีแล้วกลับมาอยู่ในระบบที่ถูกต้องก็คล้ายๆ เป็นรายได้ให้รัฐบาลเพิ่มเติมด้วย ไทยลำบากอยู่อย่างคือมีรายจ่ายเยอะ แต่รายได้น้อยไปหน่อย หากมีการปรับโครงสร้างภาษี นำผู้ที่อยู่นอกระบบเข้ามาก็จะมีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น และรัฐก็สามารถนำเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือประชาชนยามทุกข์ร้อนได้”

ดอนเน้นย้ำทิ้งท้ายถึงเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่แม้จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ในเร็ววันเหมือนกับมาตรการเยียวยาหรือการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพราะจะส่งผลกับอนาคตข้างหน้าในระยะยาว เรื่องการเยียวยาและการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะลดทอนความสำคัญลงไปได้บ้าง เพราะประเทศได้ผ่านจุดวิกฤตไปแล้ว งบประมาณที่เกี่ยวเนื่องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่างหากที่ควรจะมีมากกว่านี้

ฟังการพูดคุยฉบับเต็มใน POLICYLAB : อนาคตไทยในโลกหลังโควิด กับกระแสข่าวเปลี่ยนแม่ทัพเศรษฐกิจ | workpointTODAY : https://youtu.be/4u_eVj-k3Zc

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า