SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.เฉลิมชัย เผยข้อมูลเดลตาพลัสแพร่เชื้อเร็วขึ้น 15% ยังไม่มีรายงานความรุนแรงในการก่อโรคและการดื้อต่อวัคซีน พร้อมเปิด 9 ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสก่อโควิด-19 และการกลายพันธุ์

วันที่ 26 ต.ค. 2564 หลังจากกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวว่า ไทยพบไวรัสเดลตาพลัส รายแรกที่จังหวัดอยุธยา น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ไทยพบไวรัสเดลตาพลัส (Delta Plus) รายแรกที่จังหวัดอยุธยา แพร่ระบาดเร็วขึ้น 15% หลังจากที่มีข่าวการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ เดลตาพลัสในอังกฤษ โดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อร้อยละ 6 จนทางการอังกฤษจัดให้เป็น VUI (Variant Under Investigation) เนื่องจากมีความสามารถในการระบาดเพิ่มขึ้น 15% 

แต่ยังไม่ได้ยกระดับขึ้นเป็นไวรัสที่น่าเป็นกังวล : VOC (Variant of Concern) เพราะยังขาดข้อมูลเรื่องความรุนแรงในการก่อโรค และการดื้อต่อวัคซีน ไวรัสเดลตาพลัส เป็นปัจจัยที่ทางอังกฤษให้ความสนใจ เพราะเกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับที่มีการระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อหลายหมื่นคนต่อวัน

แต่คงไม่ได้เกิดจากปัจจัยไวรัส Delta Plus เพียงลำพัง แต่น่าจะเกิดจากการผ่อนคลายมาตรการของทางการอังกฤษ ร่วมกับการที่ประชาชนอังกฤษหย่อนวินัยในการป้องกันโรคระบาด 

วันนี้ทางกรมควบคุมโรค ได้แถลงว่า พบไวรัส Delta Plus ที่อยุธยา จากการถอดรหัสจีโนม ซึ่งทำเป็นประจำอยู่แล้ว และเคยพบว่ามีสายพันธุ์ย่อยของไวรัสเดลตาในประเทศไทย 4 สายพันธุ์ ซึ่งไม่ได้มีลักษณะการแพร่ระบาด หรือความสามารถในการก่อโรครุนแรง แตกต่างกับไวรัสสายพันธุ์เดลตา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564

ในช่วงเดือนกันยายน 2564 จากการถอดรหัสตามปกติ ได้พบผู้ติดเชื้อที่จังหวัดอยุธยา เป็นไวรัสเดลตาพลัส ( AY.4.2) จึงสมควรที่จะทำความรู้จักไวรัสก่อโรคโควิด และไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ย่อย เดลตาพลัส ดังนี้

1.โควิดเกิดจากไวรัสตระกูลโคโรนาลำดับที่ 7

2. ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอ

(RNA) ที่เป็นสารพันธุกรรมเดี่ยว ไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ที่มีดีเอ็นเอ

(DNA) ที่เป็นสารพันธุกรรมคู่

3.สิ่งมีชีวิตสารพันธุกรรมเดี่ยว จะมีการกลายพันธุ์ได้ง่าย 

4.จากการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา ขณะนี้มีจำนวนโดยประมาณมากกว่า 1,000 สายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย

5.ในการแบ่งกลุ่มไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ จะใช้เรื่องความสามารถในการแพร่ระบาด ความรุนแรงในการก่อโรค และการดื้อต่อวัคซีน โดยกลุ่มที่ถือว่ามีความสำคัญก็คือ กลุ่มที่น่ากังวล (VOC) ได้แก่ แอลฟา เบตา แกมมา และเดลตา

6.ในกลุ่มไวรัสเดลตานั้น พบสายพันธุ์ย่อยแล้วกว่า 20 สายพันธุ์ โดยในเดือนสิงหาคม 2564 ไทยพบสี่สายพันธุ์ย่อย ซึ่งไม่มีไวรัสสายพันธุ์เดลตาพลัส

7.ไวรัสสายพันธุ์เดลตาพลัส เป็นสายพันธุ์ย่อย จากสายพันธุ์ที่เคยพบเมื่อเดือนสิงหาคมแล้ว และขณะนี้พบระบาดในประเทศอังกฤษ ขณะนี้ประเทศไทย ได้พบไวรัสเดลตาพลัสหนึ่งราย นับเป็นรายแรกที่จังหวัดอยุธยา

9.เดลตาพลัส เป็นไวรัสสายพันธุ์ย่อยที่พบว่ามีการระบาดกว้างขวางรวดเร็วกว่าไวรัสเดลตา 15% ส่วนความรุนแรงในการก่อโรคและการดื้อต่อวัคซีนยังไม่มีการรายงาน

กล่าวโดยสรุปไทยได้พบไวรัสสายพันธุ์เดลตาพลัสแล้ว นับเป็นรายแรก ที่จังหวัดอยุธยา และยังไม่มีรายงานรายอื่นๆเพิ่มเติม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะแถลงรายละเอียดวันที่ 26 ต.ค. 2564

เดลตาพลัส แพร่รวดเร็วขึ้น 15% เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์เดลตา จึงสมควรจะต้องระมัดระวังแต่ยังไม่ต้องตระหนกตกใจ เพียงแต่ให้ตระหนักว่า

ไวรัสมีความสามารถในการปรับตัวเก่งมาก มนุษย์จึงต้องต่อสู้อย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องวินัยในการป้องกันตนเอง การเร่งฉีดวัคซีน ตลอดจนมาตรการต่างๆที่รัฐบาลทุกประเทศจะต้องระดมออกมาเพื่อควบคุมโรคระบาดครั้งนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า